30 พ.ย. เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน ชีวิตจืดชืดคือชีวิตที่ดี

จูเลียน แมนเทิล เป็นทนายความที่มีชื่อเสียง เขาทำงานเพื่อเงินและชื่อเสียง ประสบความสำเร็จอย่างสูง ร่ำรวยจนสามารถเป็นเจ้าของรถเฟอร์รารี
4
คนอย่างจูเลียนก็คือคนที่สังคมตั้งค่าไว้ว่า เป็นจุดหมายที่ใครๆ อยากไปถึง
2
วันหนึ่งจูเลียนเกิดอาการหัวใจวายในศาล เขาพลันรู้ว่าต้องเปลี่ยนแปลงชีวิต ทันใดนั้นเขารู้สึกเบื่อหน่ายชีวิตของเขา การดิ้นรนหาเงิน ไต่บันไดสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
1
เขาขายทรัพย์สมบัติของเขา รวมทั้งรถเฟอร์รารี เดินทางไปอินเดียและเทือกเขาหิมาลัย ค้นหาความหมายของชีวิต
1
เขาหายตัวไปนาน เมื่อกลับมา เขาเปลี่ยนเป็นคนใหม่
5
นี่เป็นเรื่องแต่งในหนังสือเรื่อง The Monk Who Sold His Ferrari
2
นี่ไม่ใช่โครงเรื่องแปลกใหม่ มีตัวอย่างคนมีฐานะจำนวนมากในบ้านเราละทิ้งทรัพย์สมบัติ เดินเข้าหาความสงบภายใน
2
แต่ดูเหมือนเป็นทางที่เห็นชัดว่าทำให้เราเบาลง เหนื่อยน้อยลง
1
เราอยู่ในเมืองพุทธ เราก็คงเคยได้ยินคำสอนแบบนี้มาบ่อยๆ
1
อยู่กับปัจจุบัน
1
ไม่ยึดมั่นถือมั่น
1
แต่ในทางปฏิบัติ หาคนทำอย่างนี้ยาก
3
เราอยู่ในโลกที่แข่งขันกันตั้งแต่เกิด ตั้งแต่วินาทีแรกๆ ของการปฏิสนธิ เราเป็นอสุจิตัวเดียวที่เข้าเส้นชัย
4
เราเติบโต เรียนหนังสือ เรียนหนังสือ เรียนหนังสือ
เราทำงาน ทำงาน ทำงาน
เราแข่งกันทุกเรื่อง
2
เราต้องการทุกอย่าง วัตถุต่างๆ บ้าน รถยนต์
1
เราต้องการคู่ครองที่ดี
1
จะมีแฟนเรามีข้อกำหนดหลายอย่าง เราต้องพร้อม เราต้องมีเงินเก็บ เราต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘อนาคต’
2
เมื่อได้ของชิ้นหนึ่ง ขั้นหนึ่ง เราก็หมายสิ่งที่สูงขึ้นไป
1
ได้รถยนต์ราคาหนึ่งล้าน เราก็ตั้งเป้าที่สองล้าน ห้าล้าน สิบล้าน
2
เราไต่บันไดขึ้นไปไม่สิ้นสุด
1
ขั้นบันไดมีมากมายไม่สิ้นสุด
1
การเดินขึ้นที่สูงดูเหมือนเป็นภาคบังคับที่กำหนดโดยค่านิยมของสังคม เพราะถ้าเราไม่ทำ เราก็อาจหาคู่ไม่ได้
3
เราสะสม สะสม สะสม
1
เราเติมบ้านด้วยสิ่งที่ ‘เราต้องมี’
2
เราถูกสอนว่าชีวิตที่สมบูรณ์คือเราต้องเดินทางไปต่างประเทศ
เราต้องมีบ้านหลังที่สองที่ชายทะเลหรือภูเขา
เราต้องการบ้าน เป็นสมาชิกสมาคมใดสมาคมหนึ่ง
เราต้องเล่นกอล์ฟ เราต้องสังสรรค์เราต้องดื่มไวน์ เราต้องรู้เรื่องไวน์เพื่อที่จะคุยกับคนอื่นได้ เราต้องพัฒนาลิ้นของเราให้สูงขึ้น สูงขึ้น
1
อีโก้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต เราต้องมีรสนิยมที่ดี
1
เราเริ่มสะสมภาพเขียน เราสะสมหลายสิ่งที่เราไม่ได้ชอบจริงๆ แต่สะสมเพราะมันเป็นของมีราคา เป็น ‘ของต้องมี’
2
เราใช้กระเป๋าแบรนด์เนม เสื้อผ้าแบรนด์เนม เพราะมันสะท้อนสถานะทางสังคมของเรา
เราต้องการชื่อเสียง ในโลกโซเชียล เราโพสต์เรื่องส่วนตัว เราต้องการเป็น somebody
7
เราเลือกสมาร์ทโฟนที่มีหน้าที่ใช้สอยมากที่สุด รุ่นใหม่ที่สุด ไม่ใช่ตามสิ่งที่เราใช้
1
เราอยากรีไทร์ตอนอายุสามสิบ แล้วใช้ชีวิตที่เหลือท่องเที่ยวจนตาย
4
มันไม่ใช่ความจริง มันเป็นกระแสมากกว่า
2
ก็ไปถึงจุดที่เราหลอกคนอื่น เราอยู่ดึกเพื่อเราสร้างภาพว่าเราขยันกว่า
5
บางคนปีนเขาสูงมิใช่เพราะชอบปีน แต่ชอบเอาชนะ
2
เรารีบไปหมด
เราวิ่งตลอดเวลา เราไม่หยุด
แล้ววันหนึ่งเราก็พบว่าตนเองเหนื่อยเหลือเกิน
มันไม่ใช่ตัวตนของเรา
เราวิ่งตามเงาของคนอื่นมาหลายปี
2
จนในที่สุดเราก็รู้สึกเหนื่อย ไม่รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
1
เราเบื่อหน่ายที่จะวิ่ง เราอยากเดินช้าๆ บ้าง
1
เรารู้ว่าชีวิตนั้นสั้น ทำไมต้องอยู่กับความเครียดตลอดเวลา เวลานอนไม่หลับ ชื่อเสียงและเงินทองก็ช่วยอะไรไม่ได้
1
โลกวันนี้มีทีวีหลายร้อยช่อง มีหนังสตรีมมิงนับไม่ถ้วน ดูไม่ทัน เรามีความบันเทิงทุกรูปแบบ
1
เราสั่งซื้อของได้ด้วยนิ้วมือ รวดเร็วทันใจ
1
เทียบกับโลกมนุษย์โบราณ โลกที่เราอยู่ในวันนี้น่าจะเป็นสวรรค์ แต่คนจำนวนมากก็ยังไม่มีความสุข
9
เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยคู่มือสร้างความรวย
1
เราต้องพึ่งคู่มือสร้างความสุข
5
แล้วจะทำอย่างไร?
บางทีโดยเริ่มที่ยอมรับว่าความสุขไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีมากกว่า บางทีความสุขอาจเกิดขึ้นเพราะมีน้อยหรือกล้าปล่อยวาง บางทีมันเริ่มที่การเปลี่ยนทัศนคติจากการยึดกุมเป็นรู้จักปล่อย รู้จักวาง รู้จักพอ
7
แทนที่จะเดินไปข้างนอก เดินกลับมาสู่ภายในตัวเรา กลับมาสู่ความสงบ ความพอ ความสันโดษ
8
มันก็คือ ‘back to basic’
4
นี่ตรงกับปรัชญาเต๋าที่สอนให้เดินชีวิตไปเรื่อยๆ ไม่เร่ง แต่ก็ไม่ช้า
3
เรียบง่าย น้อยที่สุด ไม่ทำงานหนักเกิน แต่ก็ไม่พักเลยจนไม่มีงาน
2
ที่ยากที่สุดคือการพอใจในสิ่งที่มี สิ่งที่ทำได้ ระดับที่ไปถึง
3
ก็คือการใช้ชีวิตตามวิถี Minimalism
1
Minimalism แห่งชีวิตคือน้อยที่สุดที่อยู่ได้สบาย ไม่ทรมาน ไม่ขัดสน แต่ไม่มากจนรุ่มร่ามรุงรัง
14
Minimalism ไม่ใช่การใช้ชีวิตแบบนักบวชในป่า แต่คือการใช้ชีวิตแบบพอดี เรียบง่าย น้อยที่สุดเท่าที่อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน หรือไร้ความสุข
7
ใช้ชีวิตแบบไม่ปรุงแต่ง ง่ายๆ ตรงๆ เพราะ Minimalism ไม่ใส่รายละเอียดรุงรัง ถ้าเป็นบ้านก็ไร้ลวดลาย เน้นแต่โครงสร้างเท่าที่จำเป็นพออยู่ได้ เพราะเราอาศัยในโครงสร้าง ไม่ใช่อยู่ในลวดลาย
1
โลกทุกวันนี้กินอาหารที่ต้องปรุงรสจัดจ้าน จนมักสูญเสียรสชาติธรรมชาติของมันไป เรามองว่ารสจืดคือน่าเบื่อ
3
เวลาเรากินอาหาร ถ้าแม่ครัวใส่เครื่องปรุงน้อยไปหน่อย เราจะรู้สึกว่าอาหารมีรสจืด เพราะเราโตมากับการกินอาหารที่มี ‘รสดี’
5
บางคนเข้าร้านอาหาร ยังไม่ทันชิมอาหาร ก็เติมน้ำปลาสองช้อน น้ำตาลสองช้อนพูน น้ำพริกอีกช้อน
1
ผมได้ยินคนต่างชาติพูดเสมอว่า อาหารไทย “หวานมาก”
1
นี่แสดงว่ารสหวานระดับที่เรานิยมไม่ใช่รสสากลของมนุษยชาติ เป็นเฉพาะคนไทยเท่านั้น
1
แสดงว่ารสเป็นสิ่งที่เราปลูกฝังขึ้นมา
แต่รสจืดก็เป็นรสอย่างหนึ่ง แต่เราไม่ค่อยยอมรับว่า ‘จืด’ เป็นรส เรามองว่า ‘จืด’ เป็นสภาวะว่างเปล่า ดังนั้นจึงต้องเติมรสเข้าไปให้เต็มหรือล้น
9
คนติดบุหรี่คนหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อเลิกบุหรี่ได้ เขารู้สึกว่าอาหารทุกจานอร่อยขึ้น เพราะลิ้นของเขาสะอาดขึ้น รับรสต่างๆ ได้ดีขึ้น สามารถรับรสจริงๆ ของอาหาร
3
เราอาจทดลองดื่มกาแฟที่ไม่ใส่นมและน้ำตาล แรกๆ จะรู้สึกว่ารสชาติเลวร้ายมาก แต่ผ่านไป เมื่อลิ้นปรับรสชาติที่แท้จริงของกาแฟแล้ว ก็พบว่า กินแบบดั้งเดิม ไม่ปรุงแต่งก็ดีเหมือนกัน
6
บางทีถ้าเราทำใจของเราให้สะอาด เปลี่ยนทัศนคติให้ใช้ชีวิตเรียบง่าย ก็จะรับรสชาติของชีวิตอย่างที่เป็นจริง
7
จะเรียกว่า ‘ชีวิตรสจืด’ ก็ได้
3
ถ้าบางคนชอบรสเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด ทำไมเราจะชอบรสจืดไม่ได้? ทำไมต้องเติมเครื่องปรุงจนมันพ้นจากสภาวะ ‘จืด’?
2
ชีวิตก็เช่นกัน ถ้าปรุงแต่งด้วยวัตถุนิยม กระแส แฟชั่น เราก็จะมีชีวิตที่รุงรัง และไม่ใช่ตัวตนดั้งเดิมของเรา เราจะใช้ชีวิตยากขึ้น
4
วิถีเศรษฐกิจพอเพียงก็คือหลักการนี้ ‘back to basic’ กลับคืนสู่ตัวตนดั้งเดิมของเรา
4
มันมิใช่วิถีของนักบวช มันเป็นแค่วิถีทางธรรมดา เรียบง่าย เพราะท้ายที่สุดแล้ว มนุษย์เราก็ต้องหวนกลับสู่ตัวตนดั้งเดิมของเราเอง
3
ใช่ ชีวิตจืดชืดคือชีวิตที่มีรสชาติที่สุด เพราะมันเป็นพื้นฐาน น้อยที่สุด
7
โฆษณา