9 ต.ค. 2024 เวลา 03:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

“ศาสนา“ และ ”ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)“ เมื่อความเชื่อหลอมรวมกับเทคโนโลยี

หากเราลองจินตนาการว่าเรากำลังเข้าโบสถ์หรือเข้าวัด หากแต่ผู้ที่ออกมาเทศนา สั่งสอนพระธรรมหรือโอวาทต่างๆ นั้น กลับไม่ใช่พระสงฆ์หรือบาทหลวง หากแต่เป็น “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ” ล่ะ?
เราอาจจะสามารถออกธุดงค์หรือแสวงบุญไปยังดินแดนห่างไกลได้ด้วยโปรแกรมเสมือนจริง โดยที่เราไม่ต้องออกจากบ้านเลยด้วยซ้ำ
สิ่งที่ดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้และมีอยู่แค่ในภาพยนตร์ไซไฟอาจจะเป็นจริงได้แล้ว และเอไอก็ไม่เพียงแค่จะเปลี่ยนโฉมหน้าความบันเทิงหรือการเรียนเท่านั้น หากแต่เริ่มจะคืบคลานเข้ามาในส่วนของศาสนาและความเชื่อ
1
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สถาบันทางศาสนาทั่วโลกตระหนักและคิดหาทางรับมือกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ของเอไอ ที่จะเข้ามาในส่วนของศาสนา
บางคนก็คิดว่านี่เป็นสิ่งที่ดี ทำให้สะดวกสบายขึ้น ประชาชนสามารถประกอบพิธีกรรม ฟังเทศนาหรือคำสั่งสอนต่างๆ แม้กระทั่งทำบุญได้โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จากที่บ้าน
แต่หลายๆ คนก็ยังลังเลว่านี่จะเป็นเรื่องที่ดีจริงหรือไม่ เพราะก็ไม่แน่ใจว่าเทคโนโลยีจะสามารถเข้าถึงอารมณ์ ความเชื่อ ความศรัทธาได้อย่างลึกซึ้งจริงหรือไม่
1
ที่รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ได้มีการทดลองให้เอไอเทศนาสั่งสอนในงานชุมนุมชาวคริสต์ สร้างความสนใจแก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก
ผลที่ได้นั้น ก็คือการเทศนานั้นเป็นไปได้ด้วยดี ถูกต้อง แม่นยำ หากแต่ก็มีเสียงวิจารณ์ว่าการเทศนาโดยเอไอนั้นเป็นไปอย่างทื่อๆ เย็นชา ขาดอารมณ์ร่วมที่มีเพียงแค่มนุษย์จริงๆ เท่านั้นจึงจะกระทำและเข้าใจ
1
ดังนั้นจึงเกิดคำถามตามมา
“เอไอจะสามารถมาแทนที่พระหรือนักบวชในการเผยแพร่ศาสนาได้จริงหรือ?”
คริสตจักรคาทอลิกก็ได้ตั้งคำถามเรื่องนี้
พระสันตะปาปาได้ทรงเรียกร้องให้บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ คำนึงถึงเรื่องการเผยแพร่ศีลธรรมด้วยระบบเอไอไปยังชุมชนต่างๆ โดยทรงห่วงว่าถึงแม้ว่าเอไอจะมีศักยภาพ หากแต่ก็จะต้องรับผิดชอบในการเทศนาสั่งสอนผู้คนให้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง
เรียกได้ว่าในปัจจุบัน เอไอก็กำลังเข้ามามีบทบาทในแวดวงศาสนา ทำให้การเข้าถึงศาสนานั้นง่ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบเอไอมาเทศนาแทนพระหรือนักบวช รวมทั้งยังให้เอไอเป็นผู้ปลอบประโลม รับฟังปัญหาของผู้คน อีกทั้งยังอาจจะมีการทำพิธีกรรมทางศาสนาผ่านเอไอ
แต่ถึงอย่างนั้น หลายคนก็กังวลว่าหากนำระบบเอไอเข้ามาแทนที่นักบวช ก็จะมีปัญหาว่าเอไอนั้นยังขาดซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกร่วม ซึ่งนี่มีเพียงแค่ในมนุษย์เท่านั้น
อีกหนึ่งข้อที่เอไออาจจะมีบทบาทสำคัญ นั่นก็คือการแสวงบุญหรือเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ได้ผ่านระบบเอไอโดยที่ไม่ต้องเดินทางจริงๆ
นั่นหมายความว่าเหล่าผู้ศรัทธาในศาสนาต่างๆ จะสามารถเดินทางไปยังเมกกะ เยรูซาเรม หรือวาติกันได้จากในห้องนอนที่บ้าน ไม่ต้องลำบากเดินทางไปจริงๆ
แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้ก็ตามมาพร้อมความกังวล
ความศรัทธานั้นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องจริงหรือพิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงอารมณ์และความเชื่อมต่อทางจิตวิญญาณ ดังนั้น เทคโนโลยี ไม่ว่าจะก้าวหน้าแค่ไหนก็ตาม จะสามารถทำได้เหมือนมนุษย์จริงๆ ได้หรือ?
1
อีกข้อกังวลก็คือ หากว่าเอไอสามารถทำทุกอย่างได้แทนที่นักบวช ทั้งคัดลอกคัมภีร์ เทศนา หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ได้ ดังนั้นเหล่านักบวช พระสงฆ์ หรือบาทหลวง ก็จะไม่มีความสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นจะเป็นยังไงต่อ?
หลายคนเกรงว่านี่อาจจะทำให้นักบวชในศาสนาต่างๆ ต้องถูกยกเลิกไปเนื่องจากเอไอเข้ามาแทนที่ ทำให้บทบาทที่เคยเป็นของมนุษย์ถูกเปลี่ยนมือไปสู่เอไอ
อีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนกังวลก็คือเรื่องของอคติหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ระบบของเอไอนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลเป็นหลัก หากว่าข้อมูลที่ป้อนสู่เอไอนั้นเป็นข้อมูลที่อคติหรือไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้การสอนโดยเอไอนั้นผิดเพี้ยน
สำหรับอนาคตของเอไอกับศาสนา จะเป็นอย่างไรต่อไป?
เป็นไปได้ว่าอนาคตนั้น น่าจะต้องมีการนำเอไอเข้ามาหลอมรวมกับศาสนา การทำพิธีกรรมต่างๆ แน่นอน ซึ่งก็จะเป็นการพลิกโฉมหน้าของศาสนา การประกอบพิธีกรรมต่างๆ และการจัดการกับความเชื่อของผู้นับถือแต่ละศาสนา
ลองจินตนาการถึงแอพพลิเคชั่นที่ช่วยในการสอนพระธรรม ช่วยทำสมาธิ และสวดมนต์
ไม่แน่ ในอนาคตการธุดงค์ของพระสงฆ์อาจจะเป็นการธุดงค์ผ่านเอไอก็เป็นได้
แต่ในขณะเดียวกัน เชื่อว่าก็ต้องเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ความสงสัยว่ามันจะใช้ได้จริงหรือ เนื่องจากการจะนำเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่มนุษย์เลย ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ใหม่มากโดยเฉพาะกับเรื่องของศาสนา
2
ความศรัทธานั้น เป็นสิ่งที่เกิดได้ในมนุษย์ มีรากฐานมาจากความเชื่อมั่น เห็นอกเห็นใจ และความสงสัยใคร่รู้
เอไอนั้นอาจจะเข้ามาทดแทนได้ในหลายๆ ส่วน แต่ไม่มีทางจะสามารถมาทดแทนความรู้สึกเหล่านี้ไปได้
ก็ต้องรอดูต่อไปว่าในอนาคตนั้น เอไอจะเข้ามามีบทบาทอะไรกับศาสนาบ้าง ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงศาสนาพุทธเท่านั้น หากแต่เป็นทุกศาสนาบนโลก
โฆษณา