9 ต.ค. 2024 เวลา 00:30 • ประวัติศาสตร์

ประวัติเมืองเขมราฐ ตอนที่๓

Cr.ฉบับในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระศีลวิสุทธาจารย์
ทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีขอกำลังทัพไปช่วย แต่ทางกรุงธนบุรีก็มิได้ดำเนินการประการใดๆ (ทั้งนี้คงหลังอยู่ในระหว่างทำศึกกับพม่าในสงครามอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองพิษณุโลก)
พศ.๒๓๒๑ (จ.ศ.๑๑๔๐ ปีจอ สมฤธิศก) พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหากษัตริย์ศึก
(พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เป็นแม่ทัพยกไปทางบก สมทบกับกำลังที่เกณฑ์จากเมืองสุรินทร์ ขุขันธ์ สังฆะ และพร้อมกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้พระสุรสีห์ (กรมพระราชวังบวรสถานมงคมหาสุรสีหนารถ) เป็นแม่ทัพยกกำลังไปทางกรุงกัมพูชา
เกณฑ์พลเมืองเขมรต่อเรือรบยกกำลังไปตามลำน้ำน้ำโขงเพื่อยกทัพไปปราบกองทัพของพระยาสุโพที่เวียงดอนกอง แขวงเมืองจำปาศักดิ์ เมื่อพระยาสุโพทราบข่าวว่ากองทัพกรงธนบุรียกทัพขึ้นไป เห็นว่าคงต่อต้านไม่ได้ จึงยกทัพกลับกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์)
เมื่อกองทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ยกไปถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) เสด็จลี้ภัย แต่กองทัพกรุงธนบุรีก็สามารถตามจับได้และตีเมืองนครจำปาศักดิ์ได้ด้วยจากนั้นได้มุ่งหน้าขึ้นไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้าสิริบุญสารเห็นว่า คงไม่สามารถต่อสู้ได้จึงหนีไปทางเมืองคำเกิด
กองทัพกรุงธนบุรีสามารถตีเมืองศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แต่งตั้งให้พระยาสุโพเป็นผู้รั้งเมืองศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเวียงจันทน์กับพระบาง จากเมืองหลวงพระบาง พร้อมกันนั้นได้คุมตัวเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) กลับไปยังกรุงธนบุรี
พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) กลับไปครองเมืองนครจำปาศักดิ์ตามเดิมในฐานะประเทศราชของสยาม (กรุงธนบุรี) ใน พ.ศ.๒๓๒๒
พ.ศ.๒๓๒๓ ท้าวคำผง (บุตรพระตา) ไปได้นางตุ่นธิดาเจ้าอุปราชธรรมเทโว อนุชาเจ้าหลวง (ไชยกุมาร)
มาเป็นภรรยา เจ้าองค์หลวงไชยกุมารเห็นว่า ท้าวคำผงมาเกี่ยวดองเป็นหลานเขย และมีไพร่พลมากจึงไว้วางพระทัยให้เป็น พระปทุมสุรราช นายกองค์ใหญ่ควบคุมไพร่พลขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ โดยตั้งอยู่ที่เวียงดอนกองนั้นเอง
ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้น
ครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ก็ทรงมีนโยบายที่จะจัดตั้งเมืองให้มากขึ้น เพื่อเป็น
การรวบรวมไพร่พลให้เป็นปีกแผ่นพอที่จะต้านทานกำลังจาก ต่างชาติได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองในปี พ.ศ.๒๓๒(จ.ศ.๑๑๔๘ ปีมะเมีย นพศก) พระปทุมสุรราช จึงอพยพครอบครัวไพร่พล มาอยู่ที่ตำบลห้วยแจระแม คือ ทางทิศตะวันตกของเมืองอุบลราชธานีเดี๋ยวนี้ (ระลึกสันนิษฐานว่าเป็นบ้านท่าบ่อในปัจจุบัน)
พระปทุมสุรราช (ท้าวคำผง) ได้พาครอบครัวไพร่พลอยู่ที่ตำบลห้วยแจระแมด้วยความสันติสุขเป็นเวลาหลายปี จนถึง พ.ศ. ๒๓๓๔ (จุลศักราช ๑๑๕๓ ปีกุน ตรีศก) อ้ายเชียงแก้วอาศัยอยู่ที่ตำบลเขาโองแขวงเมืองโขงซึ่งขึ้นกับนครจำปาศักดิ์ ได้ตั้งเป็นผู้วิเศษมีคนนับถือเป็นอันมากประกอบกับช่วงเวลา
เจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) กำลังประชวรหนัก อ้ายเชียงแก้วทราบข่าวถือโอกาลคิดการกบฏ ยกกำลังเข้าล้อมเมืองนครจำปาศักดิ์ไว้ เจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) ตกพระทัยไม่คิดที่จะต่อสู้ ยิ่งทำให้ประชวรหนักจนถึงแก่ พิราลัยเมื่ออายุได้ ๘๑ ปีทำให้อ้ายเชียงแก้วเข้ายึดเมืองนครจำปาศักดิ์ได้
เมิ่อทราบความถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าฯให้พระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อเป็น พระพรหมยกกระบัตร ยกกองทัพเมืองนครราชสีมามาปราบอ้ายเชียงแก้ว ขณะที่กองทัพเมืองนครราชสีมายกมาไม่ถึงนั้น พระปทุมสุรราช (ท้าวคำผง) ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลแจระแม และท้าวหน้า
ผู้น้องที่ตั้งอยู่บ้านสิงห์ท่า (อำเภอเมืองยโสธรในปัจจุบัน) พร้อมด้วยท้าวทิดพรหมและท้าวกำได้นำกำลังไปตีอ้ายเชียงแก้วที่นครจำปาศักดิ์ก่อน และสามารถรุกไล่อ้ายเชียงแก้วจนทันกันที่บริเวณแก่งตะนะ (บริเวณที่สร้างเขื่อนปากมูลในปัจจุบัน)
อ้ายเชียงแก้วถูกจับได้และถูกประหารชีวิต เมื่อกองทัพเมืองนครราชสีมายกไปถึงนครจำปาศักดิ์ เมื่อเหตุการณ์สงบลงเรียบร้อยแล้ว
โฆษณา