Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
12 ต.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
รองเท้านารีอ่างทอง กล้วยไม้ดินที่สำรวจพบ ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี
รองเท้านารีอ่างทอง Paphiopedilum godefroyae (God.-Leb.) Stein var. ang-thong
โดยกล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี ความสูงจากระดับน้ำทะเล 0 - 100 เมตร เป็น กล้วยไม้ขึ้นบนดินหรือบนหินปูน เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่น ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณหมู่เกาะในทะเลอ่าวไทย โดยคาดว่าเป็นการผสมกันตามธรรมชาติของรองเท้านารีขาวสตูลกับรองเท้านารีเหลืองตรัง
ใบ เป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาวได้ถึง 14 เซนติเมตร แผ่นใบด้านล่างมีจุดสีม่วงกระจาย ขอบช่วงล่างมีขนครุย ช่อดอก มี 1–2 ดอก ก้านช่อยาว 4–8 เซนติเมตร (ยาวกว่ารองเท้านารีเหลืองตรัง) ใบประดับสีม่วง รูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม
ดอก สีขาวหรืออมเหลือง มีจุดสีม่วงกระจาย ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงบน รูปไข่กว้าง ยาว 2.5–4.6 เซนติเมตร ปลายกลีบมนหรือกลม กลีบคู่ข้าง รูปไข่ ยาว 2–4.5 เซนติเมตร ปลายกลีบมน กลีบดอก รูปรีหรือรูป ขอบขนาน ยาว 3.5–6 เซนติเมตร ขอบกลีบเป็นคลื่น ถุงกลีบปากยาว 2.5–4.2 เซนติเมตร แผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปรี ยาว ประมาณ 7 มิลลิเมตร ปลายจักตื้นๆ 1–3 จัก มีขนสั้นนุ่ม รังไข่รวมก้านดอกยาวประมาณ 4 เซนติเมตร (ดอกเล็กกว่ารองเท้า นารีเหลืองตรัง)
เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้ ขึ้นตามป่าเขาหินปูน ป่าดิบชื้น ความสูงไม่เกิน 100 เมตร มีความผันแปรสูง ออกดอกตลอดทั้งปี
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
#ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ #สุราษฎร์ธานี #รองเท้านารีอ่างทอง #กรมอุทยานแห่งชาติ
ธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติ
ท่องเที่ยว
1 บันทึก
9
8
1
9
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย