10 ต.ค. เวลา 10:04 • การศึกษา

การประเมินการศึกษานอกระบบของโรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนอนุนักษ์มรดกอิสลาม

สำหรับโรงเรียนอนุรักษ์มรดกอิสลามเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับที่มีการจัดการเรียนการสอนในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมในระบบหรือรูปแบบภาษาอาหรับเพื่อที่จะเป็นการควบคู่ให้กับนักเรียนได้มีทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศแล้วก็สามารถที่จะต่อยอดเพื่อไปทำการเรียนรู้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศและโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศทางกลุ่มตะวันออกกลางที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางการในปัจจุบัน
โรงเรียนอนุรักษ์มรดอิสลามอยู่ในการ ดูแลของมูลนิธิอนุรักษ์โมเดลอิสลามแล้วก็ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนหรือสชซึ่งเป็นรูปแบบโรงเรียนนอกระบบวงเล็บพิเศษซึ่งการกำหนดมีมาตรฐานต่างๆในการประกันคุณภาพดังนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
1.1 ความรู้ความสามารถของผู้เรียน
ความรู้ความสามารถของผู้เรียนหลักสูตรอิสลามศึกษา ภาคฟัรฎูอีน และภาษาอาหรับขั้นพื้นฐาน เน้นการอ่านออกเขียนได้และสามารถสนทนาเป็นภาษาอาหรับได้ และ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ทางด้านศาสนา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามแบบฉบับจริยธรรมของศาสนาอิสลามที่สำคัญ ดังนี้
บรรยากาศกิจกรรมการเเนะเเนวการศึกษาจากรุ่นพี่
หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฏูอีน ระดับอิสลามศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามแบบฉบับของอิสลามที่สำคัญดังนี้
1.1.1. ความรู้ความสามารถในการอ่านเขียนท่องจำอัลกุรอานและการอ่านเขียนภาษาอาหรับได้อย่างชำนาญการ เป็นความสามารถของผู้เรียนในการสื่อสารภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอาหรับ และ มีความเข้าใจใน พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้เรื่องราวของศาสนาอิสลามเพื่อการพัฒนาตนเองด้านการยึดมั่นการศรัทธาการปฏิบัติศาสนกิจและการอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างเหมาะสมและสันติสุข
1.1.2 ความรู้ความสามารถในการสื่อสารอ่านเขียนและเข้าใจภาษาอาหรับเบื้องต้นได้มีการฝึกฝนประโยคการสนทนาภาษาอาหรับในการสื่อสารเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้และการจำลองสถานการณ์การจัดกิจกรรมในวันสื่อสารภาษาอาหรับและจะมีการเพิ่มทักษะในการสนทนาภาษาอาหรับในทุกๆวันและทุกๆคาบของการเรียนจะเป็นภาษาอาหรับพร้อมกับการสร้างความกล้าเพื่อที่จะสื่อสารเพื่อที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างการเรียนรู้ต่อไป
1.1.3. ความสามารถในการปฏิบัติตนตามหลักการอิสลามเป็นความสามารถของผู้เรียน ในการนำความรู้ จากอัล-กุรอ่าน และฮาดีษ วัจนของศาสนทูต พร้อมทั้งสร้างประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้านการยึดมั่นศรัทธาต่อความเชื่อ การปฏิบัติศาสนกิจ และการมีกริยามารยาทที่งดงามตามวิถีท่านศาสดา เพื่อการเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสมและสันติสุข
1.1.4 ความสามารถในการอ่านเขียนและสื่อสาร เป็นความสามารถของผู้เรียนในการอ่านเขียนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ที่มาจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและอัลฮะดิษซึ่งมีภาษาอาหรับเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรียนรู้พร้อมทั้งสามารถนำเสนอประเด็นต่างๆทางด้านภาษาอาหรับในรูปแบบของการเทศนาธรรม(คุตบะห์) แม้แต่การโต้วาทีในประเด็นเรื่องของสังคมปัจจุบันมีการใช้หลักการทางด้านศาสนามา และภาษา เป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันอันเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้อิสลาม
เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับคนในสังคมการเทศนาธรรมเป็นการเพิ่มความสามารถความกล้าและการใช้ภาษาต่อหน้าสาธารณชนที่ถูกต้องและเหมาะสม
สำหรับการรับและส่งสารอันมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาการถ่ายทอดความคิดความรู้ความเข้าใจตลอดจนความรู้สึกที่มีส่วนร่วมกับสังคมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งและสามารถสร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคมได้การเลือกรับหรือตัดสินใจในข้อมูลข่าวสารด้วยหลักการและเหตุผลและความถูกต้องตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสมและสันติสุข
ทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งและสามารถสร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ การเลือกรับหรือตัดสินใจในข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสมและสันติสุขในสังคม
1.1.5 การฝึกทักษะการผลิตสื่อผ่านโปรแกรมที่สามารถผลิตสื่อเช่น canva word excel PowerPoint การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในด้านการเรียนรู้การสื่อสารการทำงานการแก้ปัญหาอย่างสมบูรณ์และถูกต้อง มีความเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม และเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและที่สำคัญการผลิตสื่อของผู้เรียนเป็นแนวทางในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆของสถานศึกษาที่ตนเองได้เรียนอยู่
เพื่อระดมทุนในการหารายได้และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนสอนศาสนาจากชุมชนโดยรอบ
1.1.6. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประเมินค่า และตีความ ซึ่งความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะได้มาจากการการวิเคราะห์หลักฐานในรายวิชาฮาดีษเพื่อระบุการยอมรับหรือสายรายงานของฮาดีษผ่านการตรวจสอบหลักฐานการรายงานว่าเป็นสายตรงมาจากท่านศาสดาหรือไม่ ต้องนำหลักฐานเหล่านั้นมาวิเคราะห์ ประเมินค่า และตีความตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์
1.1.7 ความสามารถในการคิดสังเคราะห์และการคิดอย่างสร้างสรรค์มาจากการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์และผลิตสื่อที่สามารถสร้างการเรียนรู้ผ่านสื่อสาร social media เช่น บทขอพรประจําวันบทเรียนแบบอย่างจากท่านศาสดาและประวัติศาสตร์ของบรรดาเหล่าอัครสาวกของท่านศาสดาเป็นต้น
1.1.8 ความสามารถในการ วิเคราะห์ด้วยวิจารณญาณ การคิดอย่างเป็นระบบ ความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ผ่านระบบ เช่น การคัดสรรหรือการเลือกตั้งประธานสภานักเรียน การให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการคิดในการทำงาน และการเขียนโครงการต่างๆได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานหลักการเหตุผลแห่งคุณธรรมจริยธรรม และข้อมูลสารสนเทศ ให้เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในสังคม
เช่น การจัดอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน การจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาภายในการแสวงหาวิชาความรู้ในห้องสมุดหรือการประยุกต์ใช้การป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อตนเองและสังคมการแก้ปัญหาในการจัดการโครงการพร้อมทั้งยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.1.9. ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆอย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม การมีจิตสาธารณะบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม
พัฒนาทักษะอาชีพผ้ามัดย้อม
1.2 ทักษะและการประยุกต์ใช้
1.2.1 ทักษะการผลิตสื่อผ่านโปรแกรมที่สามารถผลิตสื่อ ประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียน ในการสร้างสื่อการเรียนรู้ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
1.2.2. ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ประเมินค่า และตีความหลักฐาน
1.2.3. ทักษะในการคิดสังเคราะห์ และทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์
1.2.4. ทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการคิดอย่างมีระบบ
1.2.5. ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการอยู่ร่วมกัน
1.2.6. ทักษะการทำงานเป็นทีม ผ่านการทำงานของกรรมการนักเรียน
การพัฒนาทักษะการคิดเเก้ปัญหา / การใช้วิจารณญาน
1.3 คุณลักษณะที่สอดคล้องตามที่โรงเรียนได้กำหนด
หลักสูตรอิสลามศึกษาภาคฟัรฎูอีน ภาคภาษาอาหรับขั้นพื้นฐานและ อิสลามศึกษาตอนปลายมุ่งเน้นพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้
1.3.1 รักพระผู้เป็นเจ้ารักศาสนทูตของพระองค์ และพระบิดามารดารักผู้คนในสังคมในการสร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันด้วยด
1.3.2 รักการอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและการปฏิบัติศาสนกิจประจำวันที่เรียกว่า "อิบาดะห์" ก็คือการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองที่จะต้องมีต่อพระเจ้า
1.3.3 การมีมารยาทที่งดงามตามแบบฉบับของท่านศาสดาและรักที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมตามแบบอัครสาวกของท่านศาสดา
1.3.4 มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองครอบครัวชุมชนและสังคมโดยรวม
1.3.5 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและบทบาทที่ตนเองได้รับมอบหมายต่อสังคมและประเทศชาติ
1.3.6 มีระเบียบวินัยต่อตนเองและชุมชนสังคมตลอดจนประเทศชาติที่อาศัยอยู่
1.3.7 มีความ สะอาดต่อตนเองชุมชนและสังคมพร้อมทั้งมีหัวใจในการที่จะพัฒนาความสะอาดให้เกิดขึ้นกับชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบศาสนกิจคือวิธีคิดเพื่อส่วนรวม
มีจิตสาธารณะต่อชุมชนและสังคม ที่อาศัยอยู่มีความผูกพันกับศาสนสถานโรงเรียนไม่ ใช่เฉพาะของมุสลิม แต่หมายถึง ของพี่น้องร่วมสังคม โดยรวม
1.3.8 รักความสะอาดของตนเอง ชุมชน และสังคม พร้อมทั้งพัฒนาหัวใจให้สะอาดผ่านการปฏิบัติศาสนกิจ คิดเพื่อส่วนรวม (อิบาดะฮฺ)
1.3.9 มีจิตสาธารณะต่อชุมชน และสังคม
1.3.10 มีความผูกพันกับศาสนสถานและโรงเรียน
จากคุณลักษณะข้างต้น ทำให้สถาบันการศึกษาได้เห็นถึงแนวทางและกระบวนการในการพัฒนาปัจเจกบุคคลเพื่อที่จะเป็นการตอบโจทย์การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาพร้อมกับการสร้างเยาวชนมุสลิมที่ดีมีคุณภาพมีศาสนามีการปฏิบัติศาสนกิจที่ถูกต้องและสามารถสร้างแนวทางในการอยู่ร่วมกับสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมและมีความสันติสุข
มาตรฐานที่ 3 คุณภาพในการจัดการเรียนการสอน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ ที่สมบรูณ์ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ และด้านสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม
มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนอนุรักษ์มรดกอิสลาม
กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและการประกอบอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสมนอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้สอนรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน
สำหรับกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยในต่างประเทศและในประเทศ
1. มหาวิทยาลัยอิสลามอัล-มาดีนะห์ Islamic University of Madina ประเทศซาอุดิอาระเบีย
2. มหาวิทยาลัย King Abdulaziz University ประเทศซาอุดิอาระเบีย
3. มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร Al-Azhar University กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
4. มหาวิทยาลัยจอร์แดน The University of Jordan ประเทศจอร์แดน
5. มหาวิทยาลัยยัรมู๊ก Yarmouk University ประเทศจอร์แดน
6. มหาวิทยาลัย Mohammed V University กรุงราบัต Rabat ประเทศโมร็อกโก
7. มหาวิทยาลัย Cadi Ayyad เมืองมาราเกช ประเทศโมร็อกโก
8. มหาวิทยาลัย Abdelmalek Essaâdi เมืองเตตวน Tétouan ประเทศโมร็อกโก
9. มหาวิทยาลัยฟาฏอนี Fatoni University ประเทศไทย
จากกิจกรรมดังกล่าวทำให้เห็นถึงเเนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรูปเเบบโรงเรียนนอกระบบ
การพัฒนาทักษะทางด้านกิจกรรมไอที
ผู้เขียนสะท้อน อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
โฆษณา