10 ต.ค. 2024 เวลา 11:38 • ครอบครัว & เด็ก

ตรวจดาวน์ซินโดรมมีกี่แบบ? แนะนำ 6 วิธีตรวจดาวน์ซินโดรมมาแรง 2567

โรคดาวน์ซินโดรมนั้น เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่มีวิธีป้องกัน รวมถึงวิธีรักษาให้หายขาด การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นวิธีรับมือกับโรคดาวน์ซินโดรมได้ดีที่สุด สำหรับคุณแม่ที่กำลังหาข้อมูล และอาจจะยังไม่รู้ว่าการตรวจดาวน์ซินโดรมคืออะไร หรือไม่รู้ว่าจะเลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธีไหนดี PrecisionLife จะพาไปเจาะลึก 6 วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมาแรง 2567 รับรองว่าอ่านจบแล้วจะช่วยให้คุณแม่เข้าใจการตรวจดาวน์ซินโดรมและตัดสินใจได้ง่ายขึ้นแน่นอน!
โรคดาวน์ซินโดรม เกิดขึ้นได้ในคุณแม่ทุกวัย
โรคดาวน์ซินโดรมนับเป็นโรคที่ตรวจพบบ่อยที่สุดในกลุ่มภาวะความผิดปกติของโครโมโซม สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกวัย แต่อัตราความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในคุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจาก ระดับฮอร์โมนลดลง และจำนวนเซลล์ไข่มีคุณภาพน้อยลง ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงไม่เพียงเกี่ยวข้องกับอายุมากขึ้น แต่มีสาเหตุอื่นได้ด้วยเช่นกัน เช่น พันธุกรรม หรือเกิดความผิดปกติในช่วงการแบ่งตัวของโครโมโซมในเซลล์ไข่แม่ระหว่างปฏิสนธิ
ตรวจดาวน์ซินโดรมจำเป็นต้องตรวจทุกคนไหม?
การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีความจำเป็นกับคุณแม่ทุกคน เพราะในความเป็นจริงแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกวัยล้วนมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นเด็กดาวน์ เนื่องจากการเกิดดาวน์ซินโดรมเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับจำนวนเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพลดลง
ตรวจดาวน์ซินโดรมมีกี่วิธี?
การตรวจดาวน์ซินโดรมในปัจจุบันที่นิยม จะแบ่งเป็น 6 วิธีหลัก ๆ ดังนี้
1.การตรวจคัดกรองด้วยวิธี Quadruple test หรือ Quad test
การตรวจคัดกรองด้วยวิธี Quadruple test หรือที่เรียกว่า “Quad test” หรือ Quadruple marker test เป็นการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ในช่วงไตรมาสที่สอง โดยวิธีนี้จะทดสอบสารชีวเคมี 4 ชนิด จากเลือด สมอง ไขสันหลังของทารกและน้ำคร่ำ ได้แก่ Alpha fetoprotein (AFP), Unconjugated estriol (uE3), Beta-human chrorionic gonadotropin (free β-hCG) และ Dimeric Inhibin- A
• ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 15 -20 สัปดาห์ (แนะนำ 16 - 18 สัปดาห์)
• ความแม่นยำ 81%
2. การตรวจคัดกรองด้วยวิธี อัลตราซาวนด์ + เจาะเลือดแม่
FTS (First trimester screening) เป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่ทำร่วมกันระหว่างเจาะเลือดมารดาตรวจสารชีวเคมี หาความผิดปกติของโปรตีนที่สร้างขึ้นช่วงตั้งครรภ์ (ค่ามัธยฐาน PAPP-A ตั้งครรภ์ทารกดาวนซินโดรมอยู่ที่ 0.4 MoM ) และฮอร์โมนหญิงตั้งครรภ์ (ค่ามัธยฐาน hCG ตั้งครรภ์ทารกดาวนซินโดรมอยู่ที่ 2 MoM) ร่วมกับการวัดความหนาบริเวณต้นคอของทารกในครรภ์โดยการอัลตราซาวนด์ (ค่า NT < 2.5 มิลลิเมตร)
• ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์
• ความแม่นยำ 82-87%
3. ตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal testing)
ตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal testing) หรือ NIPS (Non-invasive prenatal screening) เป็นวิธีที่ตรวจได้ลึกระดับโครโมโซม ทำโดยการเจาะเลือดแม่เพียง 16-20 CC เพื่อนำไปตรวจ Cell-free fetal DNA ของทารกในครรภ์ที่ปนในเลือดแม่
ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่น ๆ ได้ ไม่เพียงแต่โครโมโซมคู่ที่ทำให้เกิดดาวน์ซินโดรมเท่านั้น และยังทำให้ทราบเพศลูกได้พร้อมกัน เช่น Trisomy คู่ที่ 13, 18 รวมทั้ง Sex Chromosome จึงเป็นวิธีที่นิยมตรวจกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
• ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-20 สัปดาห์
• ความแม่นยำ 99%
4. เจาะน้ำคร่ำตรวจดาวน์ซินโดรม (Amniocentesis)
การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคดาวน์ซินโดรมที่มีความแม่นยำมากที่สุด โดยการใช้เข็ม spinal needle เบอร์ 22 ยาว 3.5 นิ้ว (บางสถานพยาบาลอาจใช้เข็มขนาดไม่เหมือนกัน)แทงผ่านหน้าท้องเข้าสู่ถุงน้ำคร่ำ เพื่อดูดเอาน้ำคร่ำที่อยู่ล้อมรอบตัวทารก 16-20 ml. ไปตรวจวิเคราะห์โครโมโซม
• ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์
• ความแม่นยำมากกว่า 99%
5.ตรวจชิ้นเนื้อรก (Chorionic villous sampling)
การตรวจแบบ CVS หรือ การเจาะชิ้นเนื้อรก เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคดาวน์ซินโดรม โดยการใช้เข็มเจาะผ่านหน้าท้องคล้ายกับวิธีเจาะน้ำคร่ำ (transabdominal CVS) หรือ ใช้อุปกรณ์สอดผ่านทางปากมดลูก (transcervical CVS) เพื่อตัดชิ้นเนื้อรก มาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีตรวจจากผนังมดลูกของมารดา
• ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์
• ความแม่นยำมากกว่า 99%
6.เจาะเลือดจากสายสะดือทารก (Cordocentesis)
เจาะเลือดจากสายสะดือทารก เป็นการตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม ทำโดยการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ หาตำแหน่งสายสะดือที่เหมาะสมในการเจาะ หลังจากที่ได้ตำแหน่งจะใช้เข็ม spinal needle no.22 ยาว 3.5 นิ้ว (บางสถานพยาบาลอาจใช้ขนาดเข็มต่างกัน) เจาะผ่านทางหน้าท้อง เพื่อดูดเก็บตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์จากสายสะดือประมาณ 0.5-1 mL เพื่อนำมาตรวจหาภาวะโครโมโซมผิดปกติ
• ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์
• ความแม่นยำมากกว่า 99%
ข้อดี-ข้อจำกัดของ 6 วิธีตรวจดาวน์ซินโดรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความด้านล่างได้เลยค่ะ
โฆษณา