11 ต.ค. เวลา 04:20 • ความคิดเห็น
หากมองกลับไปในเนื้อเรื่อง จะมีช่วงที่ทำการค้ากับต่างประเทศด้วย นั่นหมายความว่าน่าจะเริ่มมีการเก็บข้อมูลยุคของสมเด็จพระนารายณ์ฯ อาจจะวิเคราะห์ได้ว่าเป็นมุมมองเรื่องกลเกมส์ของคนในยุคนั้นที่นำมาสร้างตัวละครจากเลห์เหลี่ยมกลอุบายจากกลุ่มตลกหลวงที่ได้รับอณุญาติโดยตรงให้จาบจ้วงได้เป็นบางช่วงบางตอน อันเนื่องจากมีบางตอนที่ศรีธนญชัยนำของสูงมาเล่นค่อนข้างบ่อยด้วย จึงอาจสรุปได้ว่าเป็นเรื่องแต่งเพื่อความบันเทิงโดยอยู่ร่วมยุคสมัยของกาพย์กลอนที่กำลังเฟื่องฟู
1
โดยงานเขียนที่มีเนื้อหาเช่นเดียวกับศรีธนญชัย ยังเป็นนิทานพื้นบ้านในหลากหลายประเทศในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย แค่เพียงเปลี่ยนชื่อตัวเอกของเรื่องเท่านั้น ซึ่งผมเคยตั้งข้อสงสัยว่าประเทศไหนกันแน่ ที่เป็นเจ้าของบทประพันธ์ตัวจริง
1
โฆษณา