11 ต.ค. เวลา 13:00 • ธุรกิจ

“ฝ่าวิกฤตหนี้ 106 ล้าน” บทเรียน-ชีวิต-มิตรภาพของ ‘วิลลี่ แมคอินทอช’ และ ‘เสนาหอย’

🌟 คงหาคนที่ไม่รู้จักคู่หูที่สร้างความสุขให้กับคนไทยมานานกว่าสามทศวรรษอย่าง ‘พี่วิลลี่ แมคอินทอช’ (เริงฤทธิ์ แมคอินทอช) และ ‘เสนาหอย’ (เกียรติศักดิ์ อุดมนาค) ได้ยาก โดยในยุครุ่งเรืองของทั้งคู่นั้นเรียกได้ว่าครองวงการบันเทิงไปทุกแขนง
3
โดยเวลานั้น ต้องนับรวมเพื่อนซี้อย่างพี่ ‘เปิ้ล’ นาคร ศิลาชัย อีกคน ที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างตำนาน “สาระแน” รายการแกล้งดาราที่ได้รับความนิยมก่อนจะขยายกลายเป็นอาณาจักร ‘ลักษ์ 666’
1
แต่เมื่อเริ่มเสื่อมความนิยม ธุรกิจที่เคยเป็นความสำเร็จกลับสร้างหนี้สินจำนวนกว่า 106 ล้านบาท วันนี้ #aomMONEY จะพาเพื่อน ๆ ย้อนกลับไปสำรวจเรื่องราวความสำเร็จของสาระแน และการตัดสินใจของพี่วิลลี่และเสนาหอยในการต่อสู้กับวิกฤตครั้งใหญ่ครั้งนี้
1
📺 [[ #สาระแน ]]
ก่อนอื่นไปทำความรู้จักกับทีมสาระแนกันก่อน โดยพี่วิลลี่นั้น แจ้งเกิดในวงการด้วยการแสดงละครเรื่อง ‘เรือนแรม’ ในปี 2536 จากนั้นกลายเป็นพระเอกขวัญใจได้ทันที ส่วนพี่เปิ้ลนั้นแจ้งเกิดกับรายการ #ยุทธการขยับเหงือก ก่อนจะไปเรียนต่อต่างประเทศ โดยจังหวะนั้น พี่หอย ก็เข้ามาเป็นเสนาหอยในช่วงที่พี่เปิ้ลไม่อยู่ แล้วทั้ง 3 คนก็โลดแล่นในวงการบันเทิงไทย
1
จนกระทั่งได้มาร่วมเป็นพิธีกรในรายการ ‘สาระแน’ ทางช่อง 3 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และเมื่อโอกาสมา ทั้ง 3 คนก็ร่วมกันก่อตั้ง ‘บริษัท ลักษ์ 666’ ก่อนจะแตกไลน์ธุรกิจออกมาเป็นทั้งรายการทีวีหลายรายการ, หนังสือบันเทิง, ภาพยนตร์, ค่ายเพลง และอื่นๆอีกมากมาย โดยช่วงรุ่งเรืองที่สุด ลักษ์ 666 มีพนักงานกว่า 300 คนเลยทีเดียว
ต่อมาทั้ง 3 คนก็มีความคิดที่จะนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งพี่วิลลี่เล่าว่า จำเป็นต้องขยายธุรกิจให้ใหญ่โตขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ จึงทำการลงทุนผลิตรายการและขยายทีมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อเป้าหมายใหญ่ที่กำลังจะมาถึง
🔄 [[ #แยกทาง_ทางแยก ]]
ถึงจุดหนึ่ง ทั้ง 3 คนก็พูดคุยกันว่า หากบริษัทเข้าตลาดหุ้น หลายพฤติกรรมที่เคยทำมา อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่น พี่หอยที่มีชื่อเรื่องการเที่ยวก็ต้องลด พี่เปิ้ลที่เป็นถึงแชมป์โลกในการแข่งเจ็ตสกีก็ต้องเพลาๆ ลงเพราะเมื่อเป็นบริษัทมหาชน ทุกการกระทำของผู้ก่อตั้ง อาจส่งผลถึงราคาหุ้น และเมื่อคุยจริงจังก็ได้ข้อสรุปว่า จะยกเลิกแผนการเข้านำบริษัทเข้าตลาดหุ้น แล้วเริ่มปรับแนวทางการทำงานใหม่
4
แต่ไม่นานก็แนวทางการทำงานของทั้ง 3 คนก็เริ่มแตกต่างกัน ทำให้พี่เปิ้ล นาคร ถอนหุ้นออกจากบริษัทลักษ์ 666 ในปี 2555 โดยให้เหตุผลว่า ต้องการใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น จึงตัดสินใจถอนหุ้นเพื่อให้ทั้งคู่บริหารงานได้อย่างเต็มที่ โดยยังร่วมงานต่อไปอีกประมาณ 1 ปี ก่อนที่พี่เปิ้ลจะแยกทางออกจากลักษ์ 666
3
🔄 จากนั้นไม่นาน วงการบันเทิงก็เกิดการ Disruption หลายอย่าง ทั้งการมาของทีวีดิจิทัล สื่อสิ่งพิมพ์เริ่มถูกแทนที่ด้วยโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้รายได้ของลักษ์ 666 เริ่มลดลง จนพี่วิลลี่กับพี่หอยต้องรับปรับโครงสร้าง โดยรวมของบริษัท ตัดธุรกิจที่ไม่ทำกำไร จนเข้าสู่ยุคล่มสลายของสาระแน
3
🤝 [[ #ข่าวดี_ข่าวร้าย ]]
💥 “หอยมีข่าวดี เราปิดบริษัทได้ แต่ข่าวร้ายคือ เรามีหนี้ 106 ล้าน (หัวเราะ)” เสนาหอยเล่านาทีที่พี่วิลลี่แจ้งรายละเอียดการปิดบริษัทให้ฟัง พร้อมมีหนี้มากกว่า 106 ล้านบาท ด้วยน้ำเสียงสนุกสนาน สร้างหัวเราะกับผู้ที่ได้รับฟัง แสดงให้เห็นถึงการมองโลกให้สนุกสนานแม้จะต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหนก็ตาม
3
โดยพี่วิลลี่เล่าสาเหตุของหนี้ที่เกิดขึ้น มาจากการขยายธุรกิจที่มากเกินไป ขาดการวางแผนที่รัดกุม รวมถึงการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ทำให้รายได้ที่มีลดลง แต่ค่าใช้จ่ายกลับสูงขึ้น จึงตัดสินใจปิดบริษัท แล้วเริ่มจัดการขายทรัพย์สินต่างๆ หักลบกลบหนี้จนถึงบรรทัดสุดท้ายก็พบว่า ทั้งคู่เป็นหนี้ 106 ล้านบาท เมื่อเห็นตัวเลข ทั้งคู่ก็นั่งหน้าเครียด ช่วยกันหาทางออกว่าจะจัดการอย่างไรกันดี
2
“เส้นทางที่ยากจะพาเราไปถูกที่” พี่วิลลี่ให้สัมภาษณ์เมื่อต้องตอบว่าใช้วิธีไหนในการจัดการหนี้ที่เกิดขึ้น โดยเล่าว่า ตอนนั้นมีทางเลือก 2 ทางคือ ประกาศไปว่าเลยเจ๊ง #ล้มละลาย เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย แต่ก็ไม่ต้องจ่ายหนี้ที่ค้าง แต่เมื่อมองไปรอบๆ ก็พบว่า เจ้าหนี้เกือบทั้งหมดก็เป็นคนในวงการที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอดทั้งนั้น ถ้าไม่จ่ายก็จะสร้างความเดือดร้อนต่อเนื่อง ส่งผลกระทบในวงกว้างได้ ทั้งคู่จึงตัดสินใจเลือกวิธีก้มหน้าก้มตาหาเงินชดใช้หนี้
10
“ทางง่ายอาจจะพาคุณไปเจอทางตันก็ได้ ผมกับหอยเลยตัดสินใจรับผิดชอบหนี้กันคนละครึ่ง ซึ่งเป็นเงินเยอะ แต่เราไม่หนี” พี่วิลลี่กล่าว
3
⏳[[ #หนึ่งหมื่นห้าพันวัน ]]
ทั้งคู่เริ่มปรึกษากันว่าจะหาเงินใช้หนี้อย่างไร โดยเริ่มจากเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ ใช้วิธีทยอยจ่ายไปเรื่อยๆ จากนั้นก็เลือกทำสิ่งที่ตนเองถนัด โดยพี่วิลลี่ยังคงทำหน้าที่พิธีกรและผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ในขณะที่เสนาหอยรับงานแสดงและพิธีกรในหลายรายการ ก่อนจะขยายออกมาเป็น การทำรายการเกี่ยวกับสัตว์ และการเกษตรลงยูทูบ แล้วต่อยอดทำอาหารสุนัข อาหารปลา เป็นต้น
1
“ตอนปิดบริษัทผมอายุ 40 กว่าๆ คิดว่าถ้าตายตอน 80 ปีก็แสดงว่าใช้มาแล้วครึ่งชีวิต เมื่อเอา 40 ปีที่เหลือคูณ 365 วัน แสดงว่าผมเหลือชีวิตอีกประมาณ 15,000 วัน #สั้นฉิบหาย ต้องรีบทำอะไรแล้ว จากนั้นผมก็ทำงานเยอะขึ้น อาจจะเหนื่อย แต่รู้สึกว่า ต้องทำทุกวันให้มีคุณค่า” พี่วิลลี่เล่าช่วงเวลาที่ต้องทำงานปิดหนี้
7
🎢 [[ #มิตรภาพ ]]
2
หลังจากทั้งคู่ตั้งใจเลือกที่จะทำงานหาเงินมาชดใช้หนี้ ก็ใช้เวลากว่า 4 ปี ในการจัดการหนี้ก้อนดังกล่าวได้ โดยพี่หอยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการผ่านพ้นวิกฤตครั้งนั้นว่า “จากวันที่รู้ว่าเป็นหนี้ เวลากลับบ้านต้องไปลองค้นดูเหรียญที่เคยวางทิ้งไว้มาใช้ มีคนถามว่าตกต่ำเหรอ ก็ตอบว่าใช่ แต่มันกำลังขึ้น ”
1
💡พี่วิลลี่เสริมอีกว่า “เมื่อมีหนี้ ก็ไม่หนี ค่อยๆ ใช้ไป ต้องวางแผน อยากได้นั้น อยากได้นี่ก็ไม่ซื้อ ถ้าตั้งใจเคลียร์วันหนึ่งมันจะหมดตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ผมกับหอยไม่เคยเลือกงานเลย รับหมดทุกอย่าง”
3
สุดท้ายทั้งคู่ก็ผ่านวิกฤตได้ จากความตั้งใจจริง ไม่ย่อท้อ และจากมิตรภาพ ความร่วมมือ รวมถึงการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
5
“สำหรับผม เพื่อนเป็นคำสั้นๆ เหมือนตัวผม (หัวเราะ) เพื่อนจะไม่ปฏิเสธสิ่งที่เราคิด แต่จะหาวิธีการช่วยกันทำ เพื่อให้สำเร็จ เขาคือคนที่มาพยุงในวันที่เราล้ม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมยังมีลมหายใจอยู่จนถึงวันนี้”​เสนาหอยกล่าวถึงพี่วิลลี่
2
📚 [[ #บทเรียนสำคัญจากคู่หูสามทศวรรษ ]]
เรื่องราวของพี่วิลลี่ แมคอินทอชและเสนาหอยได้ให้บทเรียนที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการหนี้สินและการเผชิญกับปัญหาทางธุรกิจและชีวิตส่วนตัว โดยสรุปได้ดังนี้
2
✅ 1.การปรับตัวในธุรกิจ ทั้งพี่วิลลี่และพี่เสนาหอยอยู่ในจุดเปลี่ยนผ่านจากยุครุ่งเรืองของรายการทีวี สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นสื่อดิจิทัล การเผชิญกับปัญหารายได้ที่ลดลงและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทำให้เห็นภาพความเสี่ยงในการทำธุรกิจ และจำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และการวางแผนที่รัดกุมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
1
✅ 2. ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองทำ เมื่อธุรกิจประสบปัญหา ทั้งคู่เลือกที่จะไม่หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ แม้จะเป็นหนี้สูงถึง 106 ล้านบาท ชี้ให้เห็นถึงการมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
1
✅ 3. การวางแผนการเงินและการทำงานหนัก การจัดการกับหนี้สินของพี่วิลลี่และเสนาหอยเริ่มต้นจากการขายทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยทั้งคู่ยังคงรับงานในวงการบันเทิงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานแสดงหรือพิธีกร ทั้งนี้ พวกเขาตัดสินใจปรับลดความต้องการส่วนตัว เช่น ไม่ซื้อของฟุ่มเฟือยเพื่อให้สามารถจ่ายหนี้ได้เร็วขึ้น
3
✅ 4. การไม่ยอมแพ้และการเรียนรู้จากความล้มเหลว หนึ่งในบทเรียนสำคัญจากเรื่องนี้คือการไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและการเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง ทั้งคู่แสดงให้เห็นว่าการมีความมุ่งมั่นในเป้าหมาย สามารถช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติทางการเงินไปได้อย่างสำเร็จ
3
✅ 5. มิตรภาพที่แข็งแกร่ง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพี่วิลลี่และพี่หอยเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ โดยมิตรภาพและการสนับสนุนซึ่งกันและกันนั้น ช่วยให้ทั้งคู่สามารถต่อสู้กับหนี้สินและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
6
ทั้งหมดเป็นเรื่องราวการฝ่าวิกฤตจาก 2 คู่หูที่ให้ความสุขกับผู้ชมมานานกว่า 30 ปี เชื่อว่าบทเรียนที่ได้จากเรื่องนี้ จะทำให้เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญในการวางแผนการธุรกิจ การปรับตัว และที่สำคัญที่สุดคือ มิตรภาพที่ทั้งคู่มอบให้แก่กัน
1
ว่าแล้วก็คิดถึงเพื่อนเนอะ…
เรียบเรียงโดย อติพงษ์ ศรนารา
อย่าพลาดโอกาสที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณให้ดีขึ้น!
เตรียมพบกับ Make Rich Expo มหกรรมการลงทุนแห่งชาติ ที่จะพาคุณก้าวเข้าสู่โลกของการลงทุนที่ทันสมัยและเข้าใจง่ายกว่าที่เคย! ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หัดลงทุน หรือผู้ที่มีประสบการณ์ เรามีทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อสร้างความมั่งคั่งในอนาคต
เข้าร่วมงานฟรี!!
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้แล้ววันนี้ ที่ https://bit.ly/4dSTfcK
แล้วพบกันวันที่ 2 - 3 November 2024 เวลา 10.00 - 19.00 น. ณ Paragon Hall ชั้น 5 ศูนย์การค้า Siam Paragon
#MakeRichExpo #WorkLifeFestival2024 #ออมมันนี #วิลลี่ #เสนาหอย #วิกฤต #หนี้ #การวางแผนการเงิน #IPO #มิตรภาพ #เพื่อน
โฆษณา