Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
11 ต.ค. เวลา 05:35 • ธุรกิจ
ชาร์ลส์ พอนซี ต้นกำเนิดของ “แชร์ลูกโซ่”
ทุกคน คงเคยได้ยินคำว่า แชร์ลูกโซ่
นี่คือการฉ้อโกง โดยหลอกให้คนมาลงทุน และบอกว่าจะได้ผลตอบแทนสูง
แต่ความจริงแล้ว มันคือการเอาเงินจากนักลงทุนรายใหม่
มาจ่ายให้นักลงทุนรายเก่า เป็นทอด ๆ แบบลูกโซ่
ซึ่งการฉ้อโกงนี้ในช่วงแรกสามารถหมุนเงินไปได้เรื่อย ๆ จนกว่า จะได้เงินจากคนใหม่ น้อยกว่าเงินที่ต้องจ่ายให้คนเก่า
เมื่อนั้นก็จะถึงจุดจบ..
ทราบกันหรือไม่ว่า ชื่อภาษาอังกฤษของแชร์ลูกโซ่คือ Ponzi Scheme นั่นเพราะคนที่ทำให้การฉ้อโกงลักษณะนี้เป็นเรื่องโด่งดังขึ้นมา คือชายที่ชื่อว่า “ชาร์ลส์ พอนซี”
เขาเคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทน 100% ภายใน 3 เดือน แต่สุดท้ายสร้างความเสียหายให้นักลงทุน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสมัยก่อน
1
เรื่องราวของชายคนนี้ เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ชาร์ลส์ พอนซี เป็นชาวอิตาลี เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1882 โดยชีวิตวัยรุ่นของเขา ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากครอบครัวประสบปัญหาทางการเงิน และคบกลุ่มเพื่อนที่เอาแต่เที่ยว จึงทำให้ พอนซีไม่มีเงินเก็บเลย
เมื่อโตขึ้น เขาได้ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทั้งที่มีเงินติดตัวแค่ 2.5 ดอลลาร์สหรัฐ โดยหวังว่า จะมีโอกาสสร้างฐานะให้ร่ำรวยเหมือนชาวยุโรปคนอื่น ที่มาได้ดีที่สหรัฐอเมริกา
เริ่มแรก เขาทำงานเป็นเด็กล้างจานในร้านอาหาร และได้ก้าวขึ้นมาเป็นพนักงานบริการ แต่สุดท้ายถูกไล่ออก เพราะถูกจับได้ว่า โกงเงินทอนลูกค้า
ในเวลาต่อมา พอนซี ได้มีโอกาสทำงานเป็นผู้ช่วยที่ธนาคารชื่อว่า Banco Zarossi ซึ่งนี่ถือเป็นจุดสำคัญในชีวิตก็ว่าได้
เพราะเขาได้พบว่า ธนาคารของเขาให้ดอกเบี้ยลูกค้าสูงถึง 6% มากกว่าตลาดเวลานั้นสองเท่า
1
แต่จริง ๆ แล้ว มันคือการนำเงินฝากของลูกค้ารายใหม่ มาจ่ายให้กับผู้ฝากรายเก่า ซึ่งสุดท้ายธนาคารต้องปิดกิจการไป และเจ้าของหอบเอาเงินลูกค้า หนีไปต่างประเทศ
2
วิธีการฉ้อโกงนี้อยู่ในหัวของเขามาตลอด เพียงแต่เขายังไม่มีหลักการลงทุนที่ทำให้คนเชื่อถือ และมาฝากเงินกับเขาเหมือนธนาคาร จนวันหนึ่งที่เขาได้รับจดหมายจากยุโรป
สิ่งที่เขาพบในซองจดหมายคือ International Reply Coupon (IRC) ซึ่งเป็นคูปองที่ใช้จ่ายแทนแสตมป์ ในการส่งจดหมายตอบกลับ
ณ จุดนี้ พอนซี พบช่องโหว่ว่า IRC ในยุโรปหลายประเทศ เช่น อิตาลี มีราคาถูกกว่าในสหรัฐอเมริกามาก เพราะสถานการณ์เงินเฟ้อ หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งการนำมาขายในสหรัฐอเมริกา จะสามารถทำกำไรส่วนต่างได้ทันที
1
ในทางทฤษฎี นี่คือการทำ Arbitrage ที่ซื้อของราคาถูกจากตลาดหนึ่ง ไปขายอีกตลาดหนึ่งที่มีราคาสูงกว่า ซึ่งไม่ผิดกฎหมาย และน่าจะพอจูงใจนักลงทุนได้
1
ต่อจากนี้ การต้มตุ๋นครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก กำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว..
1
ในเดือนมกราคม ปี 1920 พอนซี ตั้งบริษัทชื่อ The Securities Exchange Company ทำธุรกิจ Arbitrage คูปอง IRC โดยให้คำมั่นสัญญาว่า จะสร้างผลตอบแทนให้ผู้ลงทุน 50% ภายใน 45 วัน และ 100% ภายใน 3 เดือน
เพียงแค่เดือนแรก มีผู้มาลงทุนกับบริษัท 1,800 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเขาจ่ายเงินปันผลให้จริงตั้งแต่เดือนแรก
นั่นทำให้ บริษัทเริ่มได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย คนที่ได้กำไรก็นำเงินกลับมาลงทุนใหม่ ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว
1
ในช่วงหลัง มีผู้ลงทุนรายใหม่ นำเงินเข้าบริษัทกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน สุดท้ายมีการประเมินว่า ธุรกิจของพอนซี มีเงินหมุนเวียนอยู่เกือบ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากนักลงทุน 15,000 ราย
แต่การฉ้อโกง ย่อมไม่สามารถอยู่ยั่งยืนได้ตลอดไป
สักวันมันต้องถึงจุดจบ และสร้างความเสียหายให้กับคนที่หลงเชื่อ
แน่นอนว่า การจ่ายผลตอบแทนในอัตราสูงตลอดเวลา มันดูผิดธรรมชาติไปมาก
ทำให้หนังสือพิมพ์เมืองบอสตัน ได้ว่าจ้างนักข่าวการเงินจากนิตยสาร Dow Jones & Company มาตรวจสอบกิจการ
ที่น่าสนใจคือ กลยุทธ์ Arbitrage คูปอง IRC ของพอนซีนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถทำได้จริงในเชิงปฏิบัติ..
มีการประเมินว่า หากพอนซีทำธุรกิจอยู่จริง มันจะต้องมีคูปอง IRC อยู่ในระบบกว่า 160 ล้านใบ ในขณะที่ตัวเลขจริง มีคูปองอยู่เพียง 27,000 ใบเท่านั้น..
1
อีกทั้ง ไปรษณีย์ก็ไม่พบว่า มีการมาแลกคูปอง IRC เป็นจำนวนมากแต่อย่างใด และที่สำคัญ แม้ธุรกิจให้ผลตอบแทนสูง แต่นายพอนซีกลับไม่ได้ลงทุนในบริษัทตัวเองเลย
หลังจากบทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสาร เจ้าหน้าที่รัฐก็ได้เข้ามาตรวจสอบบัญชีของบริษัทพอนซี
และค้นพบว่า.. ธุรกิจนี้คือการนำเงินจากผู้ลงทุนรายใหม่ มาจ่ายให้กับรายเดิมเท่านั้น และนายพอนซี ยังเป็นหนี้สูงถึง 220 ล้านบาท ซึ่งทำให้การต้มตุ๋นนี้ ยุติลงไว้ที่เวลา 9 เดือน
1
ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ผู้ที่หลงเชื่อมาลงทุนกับบริษัท ซึ่งสุดท้ายได้เงินคืนไปเพียง 30% ของเงินต้น และมีการประเมินว่า การฉ้อโกงครั้งนี้ สร้างความเสียหายไว้ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือหากคิดเป็นค่าเงินในปัจจุบัน จะเทียบเท่ากับ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 10,000 ล้านบาท
1
นายพอนซี ถูกดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง และถูกตัดสินจำคุก ก่อนที่ต่อมาจะถูกเนรเทศกลับอิตาลี เพราะไม่ได้รับสิทธิเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป
2
ในช่วงท้ายของชีวิต เขาย้ายไปทำงานเป็นล่ามในบราซิล ก่อนเสียชีวิตลงในปี 1949 รวมอายุได้ 66 ปี
แม้พอนซีจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ชื่อของเขาก็ถูกนำมาเรียกการฉ้อโกงในลักษณะดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า Ponzi Scheme
แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านไป..
ในยุคปัจจุบัน ก็ยังมีคนนำวิธีนี้ไปหลอกลวงอยู่เป็นระยะ สร้างความเสียหายมหาศาลยิ่งกว่าต้นฉบับเสียอีก เช่น กรณีแชร์ลูกโซ่ ของนายเบอร์นาร์ด มาดอฟฟ์ ที่สร้างความเสียหายไป 2 ล้านล้านบาท เป็นต้น
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า
ไม่ว่าจะเป็นยุคไหน สมัยไหน การหลอกลวง โดยใช้จุดอ่อนจากความโลภของมนุษย์นั้น ยังมีอยู่เสมอมา
และผู้ที่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ ย่อมมีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกง
ไม่ว่าเราจะลงทุนอะไรก็ตาม.. เราควรใช้หลักเหตุผล และการศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วเราจะรู้ว่า อะไรที่มันดูเป็นไปได้ และอะไรที่ไม่มีอยู่จริง
ถ้าเราถูกความโลภครอบงำ
ไม่ว่าชีวิตเราจะหาเงินมาได้มากแค่ไหน
ไม่ว่าตัวเลขจะมากมายเท่าไร
เมื่อสุดท้ายนำมาคูณกับศูนย์
มันก็คือศูนย์..
13 บันทึก
35
15
13
35
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย