11 ต.ค. 2024 เวลา 13:38 • ท่องเที่ยว

สำริดที่ถูกยืม (เจ้าพระยา สู่ Amsterdam)

▪️แม้จะไม่มีโบราณวัตถุมากมายในพิพิธภัณฑ์ ที่ครอบคลุมทุกอารยธรรมโลก เหมือนพิพิธภัณฑ์ชื่อดังของฝรั่งมังค่า แต่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเรา ก็มีจำนวนโบราณวัตถุ และศิลปะวัตถุทั้งระบบ ถือว่าไม่น้อยหน้าใครในโลก และสำคัญคือ โบราณวัตถุเกือบทั้งหมด ล้วนเกี่ยวพันกับอารยธรรมของเราเอง ไม่ทางตรงก็ในทางอ้อมทั้งสิ้น
🔸
▪️ด้วยความพิเศษมีเอกลักษณ์เฉพาะแบบนี้ แถมเชื่อมเข้าหาอารยธรรมอื่นได้อย่างสนิทสนม ไม่ว่าจะด้วยคติความเชื่อทางศาสนา หรือผูกโยงเข้าหาด้วยศิลปะ, สังคม, ประวัติศาตร์, วัฒนธรรม จึงไม่แปลกที่โบราณวัตถุของไทย จะถูกยืมไปจัดแสดงตามพิพิธภัณฑ์ชั้นนำในต่างแดนอยู่เสมอ
🔸
▪️ช่วงนี้ Rijksmuseum ที่เปิดมานาน ๒๓๐ ปี จัดนิทรรศการ Asian Bronze เฉลิมฉลอง ๔,๐๐๐ ปีแห่งยุคสำริดแห่งเอเชีย โดยเชืัอเชิญและหยิบยืมโบราณวัตถุ และศิลปะวัตถุล้ำค่าชนิดโลหะวัตถุ ชิ้น masterpiece จำนวน ๗๕ ชิ้นจาก ๙ ประเทศ มาอวดกันเต็มที่ Amsterdam
🔸Jacob van der Heide วิศวกรฮอลันดา เจ้ากรมคลองคนแรกของสยาม (อธิบดีกรมชลประทาน)🔸
🔸สัตยาบันสารสนธิสัญญา สยาม-เนเธอร์แลนด์ : พุทธศักราช ๒๔๒๖ @ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ🔸
🔸เอกสาร (ฉบับจริง) เขียนโดยผู้แทนการค้าฮอลันดา สมัยสมเด็จพระนารายณ์ (330 ปี+) : นำมาจัดแสดงจาก Netherlands ใน World Stamp🔸
▪️และด้วยสายสัมพันธ์ไทยฮอลันดา ที่มีมานานหลายร้อยปีทุกรูปแบบ จากยุคสถานีการค้า Dutch East India Company (VOC) ในยุคกรุงศรีฯ ถึงวิศวกรรมวางระบบขุดลอกคูคลอง และชลประทานในสมัยรัชกาลที่ ๕ เราจึงส่งโบราณวัตถุชิ้นสวย ไปร่วมจัดแสดง อวดอารยธรรมชาติด้วยคราวนี้
🔸แผนที่กรุงศรีอยุธยา วาดในสมัยพระนารายณ์ โดยจิตกรชาวฮอลันดา ภาพครบครันทั้ง Landscape & Perspective & Realistic ปัจจุบันภาพจริงจัดแสดงอยู่ในห้องหมายเลข 2.9 @ Rijksmuseum🔸
🔸The Sampling Official of the Amsterdam Droppers' Guide : จนท.ตรวจคุณภาพสมาคมพ่อค้าผ้าอัมสเตอร์ดัม : คศ.1662 @ Rijksmuseum🔸
🔸
▪️นำรูปโบราณวัตถุ ๔ ชิ้นจาก ๖ ชิ้น ที่นำไปจัดแสดงไปจนถึงต้นปีหน้าที่ Amsterdam เขียนกำกับไว้พอรู้ พร้อม link ของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอัมสเตอร์ดัม Rijksmuseum ไว้เผื่อท่านใด สนใจเข้าไปชม
🔸
🔸
(๑)🔸พระพุทธรูปนาคปรก พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ องค์นี้เดิมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มาจากวัดเวียง เมืองไชยยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดฯ ให้ย้ายไปประดิษฐานไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรฯ ต่อมาย้ายมาพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ : ถูกนำออกไปจัดแสดงนอกประเทศเป็นครั้งแรก🔸
(๒)🔸โคอุสุภราช พาหนะของพระอิศวร (โคนนทิ) ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ (อายุราว ๔๐๐-๕๐๐ ปี) ได้จากวัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี🔸
(๓)🔸เสียงขลุ่ยทิพย์ : ศิลปิน อจ. เขียน ยิ้มศิริ รางวัลเหรียญทองการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๙๒ ความสำคัญและยิ่งใหญ่ของ อาจารย์เขียนนั้น สามารถหาได้ตามสื่อสาธารณะโดยทั่วไป รวมถึงรายละเอียดและอิทธิพลที่มาของปฎิมากรรมชิ้นอื่นๆระดับสมบัติของแผ่นดินอีกมากมาย รวมถึงชีวิตรักของท่าน กับ ม.ร.ว.นารี รัชนี🔸
(๔)🔸พระเทวี ( Bronze) ศิลปะสุโขทัย พระเทวี ๒ กรยืนตรงองค์นี้ ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นพระเทวีองค์ใด แต่จากลักษณะท่ายกพระหัตถ์ขวา เพื่อถวายดอกไม้ในพระหัตถ์ โดยพระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้าง เปรียบเทียบได้กับพระอุมาเทวี ที่พบเห็นทั่วไปในศิลปะอินเดีย ได้มาจากเทวสถานพราหมณ์🔸
🔸ใน ๖,๙๘๒ เชลยศึกสัมพันธมิตร ที่มาเสียชีวิตในสงครามมหาเอเชียบูรพาที่กาญจนบุรี : เป็นทหารดัชท์ ถึง ๑,๘๐๐ นาย และในทุกวันที่ ๕ พฤษภาคม ของทุกปี มีการร่วมรำลึกถึง ในวัน Armistice Day 🔸
📷 All photos taken by Tui Kajondej
⭕ Tattoo Warrior
🌸 เขียนทุกเรื่องด้วยความสนุก เพื่อความสุขของผู้เขียน ไว้สะสมเรื่องเขียนตรงนี้ 🌸

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา