12 ต.ค. เวลา 04:23 • ข่าว

รพ. เอกชน ถอนตัวประกันสังคม มีผลกระทบแค่ไหน

จากกรณีที่ รพ. เอกชน 70 แห่ง ลงชื่อถอนตัวจากคู่สัญญา สปสช. ปี พ.ศ. 2568
โดยต้นเรื่องมาจากการที่สำนักงานประกันสังคม(สปส.) จะมีการปรับลดอัตราค่าบริการผู้ป่วยใน เหลือประมาณ 7,000 บาท จากปัจจุบันกำหนดจ่ายไว้ในอัตรา 12,000 บาทต่อหน่วย
จากเหตุการดังกล่าว ทำให้โรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง คือ รพ.ซีจีเอช สายไหม และรพ.กรุงเทพสุราษฎร์ ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม(สปส.) โดยผู้ประกันตนยังเข้ารับบริการได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2567 นี้
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาเรื่องอัตราค่ารักษาพยาบาลที่สปส. กำหนดจ่ายให้กับโรงพยาบาลคู่สัญญาในการให้บริการรักษาผู้ประกันตน ได้กำหนดให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการมาศึกษาเรื่องอัตราการจ่ายเงินในเรื่องดีอาร์จี (Diagnosis Related Group : DRG หรือ กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม)
เรื่องของการวินิจฉัยโรคร่วม หรือ Diagnosis Related Group เป็รประเด็นสำคัญและมีการถกเถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่เดิมทาง สปสช. ต้อบจ่ายให้กับโรงพยาบาลเอกชนที่ 12,800 บาท แต่มีการลดการจ่ายลงมาเรื่องๆ นับตั้งแต่ปลายปี 2565 จาก 12,800 เป็น 10,000
และเหลือแค่ 7,200 บาทในปัจจุบัน
พูดง่ายๆก็คือ นอกจากจะไม่ปรับให้สมเหตุสมผลกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังไปปรับลดลดอีกด้วย ทำให้เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนไม่พอใจและรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม
หาก สปสช. ไม่มีการแก้ไข และโรงพยาบาลเอกชนคู่สัญญาทั้ง 70 แห่งถอนตัวจริง จะส่งผล
กระทบต่อผู้ประกันต่ออย่างมาก
ปัจจุบันไทยมีตัวเลขผู้ประกันตนราว 24 ล้านคน หากโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ถอนตัวจริง อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนจำนวนมาก เนื่องจากจำนวนผู้ประกันตน ใช้บริการสถานพยาบาลเอกชนสูงถึงร้อยละ 60 หากการถอนตัวเกิดขึ้น จะสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ประกันตน ทั้งเรื่องการย้ายสิทธิ การเดินเอกสาร ภูมิลำเนา สร้างความไม่สะดวกในการเข้ารับบริการของผู้ประกันต่อ
แต่ที่น่ากลัวกว่าก็คือ ในระยะยาว ที่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีแนวโน้มแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศแม้แต่ประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการเองก็ยอมรับกลายๆว่า การจ่ายร่วมหรือ Co-payment เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก หากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข โครงสร้างการปรับตัวของระบบบริการสาธารณสุขไทยจะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน
2
กองทุนสวัสดิการด้านสุขภาพหลักของไทย ทั้ง 3 กองทุน สิทธิบัตรทอง สิทธิข้าราชการ และสิทธิประกันสังคม ควรรวมให้เป็นระบบเดียวกันเพื่อให้การบริหารจัดการเงินและบริการมีความเป็นมาตรฐานเดียว ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อน ปัญหาความเหลื่อมล้ำและทำให้โรงพยาบาลสามารถเข้าร่วมได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างการใช้โมเดลจากต่างประเทศ อย่างเกาหลีใต้ที่เมื่อก่อนมีหลายกองทุน แต่ปัจจุบันมีการรวมกองทุนเป็นระบบเดียว และออกกฎหมายให้ทุกโรงพยาบาลที่อยู่ในประเทศต้องเข้าร่วมโครงการ
สมชาย กระจ่างแสง อนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ สภาผู้บริโภค
อ้าวอิง
โฆษณา