12 ต.ค. เวลา 17:00 • ธุรกิจ

ทำไมต้องเรียกว่าแชร์ลูกโซ่?

การแชร์ลูกโซ่จริงๆ มันคือการที่ทำแชร์ลูกโซ่จะได้เงินมาได้ง่ายๆ ไม่ต้องทำอะไรมากมายก็ได้เงินแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงเิงนเงินทุกบาททุกสตางค์ของผู้อ่านทุกคนไม่ได้ได้มาง่ายต้องเสียทั้งเวลาและโอกาศต่างๆ ที่อาจจะได้กว่านี้ได้ แต่การทำแชร์ลูกโซ่คือคนที่เป็นเจ้าของมีการระดมทุนในการเอาลงทุนให้กับคนที่มาทำด้วย แต่ที่จริงแล้วมันไม่ใช่แบบนั้นเลยแม้แต่นิดเดียว มันคือการเอาเงินของคนแรกไปให้กับเงินคนที่สองเท่านั้น!
อย่าเพิ่งหลงเชื่อ หากถูกชักชวนให้ลงทุนโดยอ้างว่า จะเทรดหุ้นให้ หรือลงทุนคริปโทให้ เพราะสุดท้ายอาจกลายเป็น “แชร์ลูกโซ่”
มิจฉาชีพมักโฆษณาชักชวนลงทุนในหุ้นหรือคริปโท ผ่านช่องทางเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย รวมถึงกรณีมีคนใกล้ตัวหรือคนรู้จักมาชวนให้ลงทุน อ้างว่าให้ผลตอบแทนสูงได้ในเวลาอันรวดเร็ว และหากชวนคนอื่นได้ก็จะมีโบนัสเพิ่มอีก เจอแบบนี้ไม่น่าไว้วางใจ
เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ไปรู้เท่าทันแชร์ลูกโซ่ ที่แอบอ้าง หุ้นหรือคริปโท กันเลย
5 รูปแบบการชักชวน ที่กลโกงส่วนใหญ่รวมถึง “แชร์ลูกโซ่” มักใช้หลอกลวงหรือจูงใจ หากใครเจอแบบนี้ต้องระวัง! ไว้ก่อน
1. ให้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันสั้น ชวนเชื่อว่าจะได้ผลตอบแทนหรือกำไรจากการลงทุนจำนวนมากอย่างรวดเร็วและง่ายดาย และใช้ เทคนิค กระตุ้นด้วยรูปถ่ายคู่กับเงินก้อนโต หรือรถหรู สร้างความหวังว่าทุกคนเป็นเจ้าของได้ สะกิดต่อมความโลภ
2. การันตีผลตอบแทน บอกว่าจะได้ผลตอบแทนสูงเท่านั้นเท่านี้เป็นตัวเลขแน่นอน เช่น 10% - 15% ต่อสัปดาห์ หรือ 40% ต่อเดือน
3. เร่งรัดให้ตัดสินใจ โดยมักจะเสนอสิทธิพิเศษเฉพาะในช่วงเวลานั้น เช่น วันนี้วันเดียวเท่านั้น, เหลือเวลาแค่ 5 นาที หรือเหลือที่ไม่มากแล้ว เพื่อลดโอกาสในการไตร่ตรองของผู้อ่าน
4. อ้างว่าใคร ๆ ก็ลงทุน ถ้าไม่รีบอาจพลาดตกขบวน หรืออ้างบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการลงทุน ถ้าไม่เข้าร่วมจะตกขบวนความร่ำรวย
5. ธุรกิจจับต้องไม่ได้ บอกว่าทำธุรกิจแต่ไม่เห็นสินค้า หรือชักชวนลงทุนในแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาต อ้างธุรกิจว่าได้รับการรับรอง แต่ไม่สามารถตรวจสอบธุรกิจได้
แชร์ลูกโซ่
หลังจากรู้จัก 5 รูปแบบชักชวนลงทุนที่ต้องระวังไปแล้ว ถ้าหากการชักชวนนั้นได้พ่วงลักษณะเหล่านี้ ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเข้าข่ายเป็นกลโกง “แชร์ลูกโซ่”
เน้นสร้างเครือข่ายมากกว่าขายของ
ให้ชักชวนคนมาร่วมมากๆ
ได้โบนัสเพิ่ม ถ้าชวนคนมาเป็นสมาชิก เช่น ปกติได้ 10% ต่อสัปดาห์ ถ้าชวนคนได้เพิ่มจะได้อีก 5% ต่อสัปดาห์ เป็นต้น
แชร์ลูกโซ่ * เป็นกลโกงที่หลอกให้ประชาชนลงทุนหรือซื้อสินค้า โดยอ้างว่า จะได้รับกำไรจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว มักจะจ่ายเงินให้จริงในระยะแรกเพื่อให้หลงเชื่อ ทั้งที่จริงแล้วไม่ได้ประกอบธุรกิจอะไรเลย
เมื่อถึงจุดที่ไม่สามารถหาสมาชิกใหม่ได้เพิ่มจนไม่สามารถจ่ายเงินได้ หรือได้เงินจำนวนมากเพียงพอแล้ว ก็จะหลบหนีไปสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก
โดยแชร์ลูกโซ่ มักแอบอ้างสินค้าหรือบริการต่าง ๆ รวมทั้ง หุ้น คริปโท หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล ด้วย หากถูกชักชวนลงทุนต้องระมัดระวังให้มาก และควรลงทุนกับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
จุดสังเกต รู้ไว้ไม่โดนหลอก
1. ใช้การโฆษณาด้วยประโยคที่ว่า ‘ลงทุนง่าย ไม่ต้องใช้ทุนเยอะ ได้ดอกเบี้ยเกินร้อย เพิ่มเพื่อนในไลน์’ ต้องเฉลียวใจไว้ก่อน ยิ่งได้ผลตอบแทนเยอะๆ ภายในหนึ่ง หนึ่งเดือน ช่วงแรก ๆ ก็จะได้เงินปันผลตามที่กล่าวอ้าง ค่อนข้างเร็ว แต่หลังๆ ก็จะเริ่มได้ช้าลง จนถึงไม่ได้เลย การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ควรศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน
2. ตัวแทนหรือคนที่มาชวนมักจะ โชว์ความร่ำรวย หรือสิ่งที่ได้จากการลงทุน โชว์เงินเป็นฟ่อน ๆ หรือรถหรูป้ายแดง แชร์ลูกโซ่ในลักษณะนี้มาในรูปแบบการขายตรง เน้นการหาสมาชิกเข้ามาอยู่ในทีม และเก็บเงินค่าสมาชิกแพงๆ ชักชวนให้นำเงินที่มีมาลงทุน แต่คนที่เราเคยไว้ใจก็อาจเชิดเงินของเราหนีได้ เพื่อความปลอดภัยหากมีใครมาชวนเราลงทุนกับธุรกิจประเภทขายตรงแบบนี้ สามารถนำชื่อบริษัทไปเช็คได้ที่ datawarehouse.dbd.go.th ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หากค้นหาแล้วไม่เจอ รีบบอกปฏิเสธให้ไว เพราะเรากำลังเจอแก๊งแชร์ลูกโซ่เข้าให้แล้ว
มีแผนธุรกิจมาเสนอ หรือชวนเข้าร่วมสัมมนาแบบฟรี ๆ คำว่า ฟรี ไม่มีในโลก ชวนเรา ล่อหลอกเราให้เข้าร่วมการฟังแผนธุรกิจ หรือสัมมนาแล้วค่อยให้เราตัดสินใจใหม่ ซึ่งขั้นตอนนี้เราจะโดนหลอกด้วยคำว่า ‘ฟรี’ และก็มักจะชวนเราไปตามโรงแรมหรู ๆ เลี้ยงอาหารแพง ๆ เพื่อทำให้เราเชื่อใจว่าธุรกิจของพวกเขาน่าเชื่อถือ บางครั้งมักจะมีบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา นักธุรกิจ หรือสมาชิกที่ประสบความสำเร็จมาพูด ทำให้เราคล้อยตามได้ง่าย รู้ตัวอีกทีจากที่เราเคยปฏิเสธ ก็อาจหลวมตัวร่วมลงทุนไปแล้ว
​Tips สร้างเกราะป้องกันภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่หลอกลงทุน
1. ศึกษาหาความรู้ก่อนลงทุน มิจฉาชีพมักอาศัยความไม่เข้าใจหุ้นหรือคริปโทเคอร์เรนซี มาชักชวน จึงควรศึกษาความรู้การลงทุน เพราะการลงทุนมาพร้อมกับความเสี่ยง การันตีผลตอบแทนที่แน่นอนไม่ได้
2. มีสติ คิดก่อนตัดสินใจ เมื่อถูกชักชวนให้ลงทุน บีบให้ตัดสินใจ เน้นหาเครือข่ายโดยให้ผลตอบแทนสูง แต่จับต้องธุรกิจนั้นไม่ได้ ต้องระวังให้มาก หากเป็นการชักชวนลงทุน/ระดมทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ดิจิทัลควรตรวจสอบว่าได้รับอนุญาตหรือไม่จากแอปพลิเคชัน SEC Check First
3. รู้ผลกระทบที่มากกว่าเสียเงิน หากหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินไปแล้ว แต่ถ้าเราไปชักชวนคนอื่นมาลงทุนแชร์ลูกโซ่ ก็อาจมีความผิดตามกฎหมายเช่นกัน
4. ตื่นตัวและติดตามข่าวสารใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการแชร์ลูกโซ่หรือการหลอกลวงลงทุนต่าง ๆ อยู่เสมอ เพราะมีวิธีหลอกลวงใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลอ้างอิง
ติดต่องานได้ที่
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
“เพียงแค่นำเงินของผู้ที่ลงทุนทีได้มาจ่ายให้กับผู้ที่ลงทุนก่อนเท่านั้น”
Easy Finance

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา