13 ต.ค. เวลา 05:32 • ความคิดเห็น

"Deadwood"

พนักงานแบบ Deadwood คืออะไร?
* Deadwood = ไม้ที่ตายแล้ว คนหรือสิ่งของที่ไม่มีประโยชน์อีกต่อไป ที่ต่อให้จะพยายามรดน้ำ ใส่ปุ๋ยเท่าไร ไม้ที่เหลือแต่ตอ และตายแล้วก็ไม่มีวันเจริญเติบโตขึ้นไปได้อีก รวมไปถึงรากที่หยั่งลึกลงในดินก็ทำให้ยากต่อการขุดขึ้นมาด้วย
* คำดังกล่าวถูกนำมาเปรียบกับพฤติกรรมของพนักงานบางคนที่ไม่สามารถเติบโต เพราะลึกๆ แล้ว คนกลุ่มนี้ไม่พร้อมจะพัฒนา ไม่เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ หรือบางเคสก็อาจจะเป็นพนักงานประเภทศาลพระภูมิ เจ้าที่ เจ้าทางอย่างการสิงสถิตที่องค์กรนั้นๆ มานาน
สัญญาณบอกพฤติกรรมของไม้ที่ตาย
1. ‘แบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว’ คือคำพูดติดปาก
* ไม่ต้องการหรือพร้อมพัฒนาทำงานแบบซ้ำๆ เดิมๆ อยู่ตลอด
* เวลามีวิธีการอะไรใหม่ๆ ก็จะไม่สนใจ มีคำพูดที่หลุดมาว่า ‘แบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว’
2. คิดไม่ออก บอกไม่ถูก
* เวลาให้คิดงานอะไร โปรเจกต์ไหน คำตอบที่มักจะได้กลับมาก็หนีไม่พ้น ‘การคิดไม่ออก’ หรือถ้าหัวหน้าไม่ทวง งานนั้นก็จะหายเข้ากลีบเมฆไปแบบปริศนา
* ในความเป็นจริงก็ไม่ใช่พวกเขาคิดไม่ออกหรือลืม แต่เพราะพวกเขาไม่มีใจอยากจะคิด ไม่อยากจะพัฒนางาน ไม่อยากจะขับเคลื่อนใดๆ
3. Performance แย่ Potential ต่ำตลอด แต่คิดว่าตัวเองทำดี
* ที่ผ่านมา มอบหมายงานอะไรไป ก็ทำออกมาได้แย่ ไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้สักครั้ง (เลื่อน หรือเปลี่ยนเป้า หรือทำเป้าที่ต่ำกว่าที่เป็นเพื่อให้สำเร็จง่ายๆ)
* บางครั้งก็เป็น ‘ศูนย์’ เหมือนกับว่า แทบไม่ได้ทำอะไรเลยด้วยซ้ำ โดยอาจเรียกได้ว่า ‘พนักงานกลุ่มนี้ทำงานไม่คุ้มค่าจ้าง’
* ไม่มีผลสำเร็จของงาน พฤติกรรม การแสดงศักยภาพในการพัฒนาเนื้องาน และการไม่คิดจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเองด้วย
สาเหตุของไม้ที่ตายมาจากเรื่องไหน?
* เจอแต่เนื้องานที่ไม่ท้าทายความสามารถ ไม่ตรงกับความถนัด
* ปัญหาส่วนตัวที่รุมเร้า
* การไม่ Match กับวัฒนธรรมองค์กร เช่น สมมติ พนักงานคนนี้เป็นชอบคิดไอเดีย เสนอสิ่งใหม่ๆ แต่เจ้าขององค์กรเป็นประเภท Micromanagement ต้องทำตามที่บอกเท่านั้น เป็นต้น
* การเมืองภายใน และการจัดการขององค์กร เช่น การมีเด็กเส้น เด็กฝากที่อาจทำให้หัวหน้าบางคนยอมปิดตาข้างหนึ่ง ยกยอพนักงานกลุ่มนี้จนทำให้พนักงานที่เหลือรู้สึกไม่แฟร์ ตั้งคำถามเอาได้
* การถูกปั่นว่าไม่เก่งหรือ Gaslighting
* หัวหน้าไม่ชอบหน้า ไม่ชอบใจในนิสัย และพฤติกรรม เป็นต้น
มีไม้ที่ตายอยู่อยู่ในทีม จะจัดการยังไง?
1. มองลูกน้อง ย้อนมองตัวเอง
* ดูลูกน้องแบบ Deadwood แล้ว อย่าเพิ่งตัดสินว่า เรื่องนี้เป็นขาวหรือดำ แต่ให้ย้อนกลับมาดูตัวเองด้วยว่า จริงๆ แล้ว เราได้สร้างสภาพแวดล้อมที่จะกำลังทำร้ายเขาทางอ้อมอยู่รึเปล่า?
* วิธีการทำงานที่มีอยู่ไปบล็อกความสามารถเขาอยู่ไหม ที่บอกว่าเปิดกว้าง รับฟังจริงหรือรับฟังแบบทิพย์ๆ กันแน่
* เวลาบรีฟงาน บรีฟดี ละเอียดพอไหม ให้เขาได้พูด ให้กล้าลองผิด ไม่ใช่ผิดแล้วเป็นเรื่องใหญ่ ไม่งั้นจะไม่มีใครกล้าทำอะไร
* แล้วถ้าเราทำไม่ดี 3 ข้อนั้น ตัวเราก็คือ deadwood ด้วย?
2. เปลี่ยนความคิด ปลุกไฟอีกครั้ง
* พนักงานประเภทนี้ไม่อยากพัฒนาก็ล้วนมีต้นตอมาจาก Fixed Mindset ที่บล็อกหัวสมองว่า ทำไม่ได้ แบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว หัวหน้าควรหาแรงจูงใจผ่านการ Cheer up หรือ Recognition ไม่ใช่ติ ตำหนิ หรือบอกทุกสิ่งทุกอย่าง หรือแสดงพฤติกรรมที่ครอบงำ
* ทุกครั้งที่พวกเขาทุ่มเทกับงานอย่างเต็มที่ ไม่โฟกัสแค่ Result แล้วให้ Reward เฉพาะพนักงานแบบ Star ดาวเด่นเพียงอย่างเดียว เพราะงานมันทำเป็น “Team” ดีก็ดีทั้งทีม ล้มเหลวก็ต้องทั้งทีม
* หัวหน้าต้องรับผิด ก่อนรับชอบ
3. คนทุกคนพัฒนาได้
* จับเข่าคุยกันตรงๆ อย่าเพิ่งไปตีตราว่า พวกเขาแย่ ไม่มีทางพัฒนาได้ โดยก็อาจจะลองหาทางออกร่วมกัน
* คิดโปรแกรมการพัฒนาผลงานวางเป้าหมายทั้งระยะสั้น และยาว ลิสต์สิ่งที่เป็นปัญหา ที่พวกเขายังขาดออกมา และหมั่นคอยฟีดแบ็ก ติดตามเป็นระยะ
4. เปลี่ยนดิน เปลี่ยนกระถาง
* ความถนัดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน Timing ในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ก็เช่นกัน อย่าเอาตัวเองเป็นไม้บรรทัด เพราะในความเป็นจริง พวกเขาอาจจะอยู่ผิดที่ ผิดทาง ผิดกับความถนัดที่มีก็ได้ เหมือนอย่างที่ต้นไม้บางพันธุ์เติบโตได้ดีในดินทราย แต่พอไปอยู่ในกระถางอื่นที่เต็มไปด้วยดินเหนียว หรือดินร่วน ก็อาจจะเฉาตายได้
* สิ่งที่หัวหน้าควรทำอีกอย่างก็คือ ‘สนับสนุนให้ลูกน้องเติบโตตามทางที่ควรจะเป็น’ โอนพวกเขาไปทำงานที่ถนัดในตำแหน่งอื่น ทีมอื่น เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้ใช้จุดแข็งที่มีอย่างเต็มที่
ถึงเขาจะเป็น Deadwood ในองค์กรเรา แต่ก็ไม่ได้แปลว่า พวกเขาจะแย่ไปตลอดสักหน่อย อันที่จริงเขาอาจจะเป็น Star ในองค์กรอื่นก็ได้ ท้ายที่สุดแล้ว ในเมื่อลองหมดทุกวิธี แต่ก็ยังไม่ได้ผล ตำแหน่ง เนื้องานที่มียัง Miss fit กับความสามารถอยู่ การรู้ว่า เมื่อไรควรพอ เมื่อไรควรปล่อย จากกันด้วยดีแล้วแยกย้ายกันไปมีอนาคตที่สดใส ก็อาจจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
#วันละเรื่องสองเรื่อง
โฆษณา