13 ต.ค. เวลา 19:31 • ประวัติศาสตร์
วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร

...สมเด็จพระพุฒาจารย์

(โต พฺรหฺมรํสี)
(นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย
ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
และดำรงฐานันดรศักดิ์
#สมเด็จพระพุฒาจารย์โต มาได้ ๗ ปีเศษ
#วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
ในสมัยรัชกาลที่ 4-5
...ดำรงฐานันดรศักดิ์
#สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ ๗ ปีเศษ
...#นายโต เกิดในสมัย
#รัชกาลที่๑
(หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ๗ ปีแล้ว) ++++เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน๕ขึ้น๑๒ค่ำ
#ปีวอก จุลศักราชที่ ๑๑๕๐ (พ.ศ.2331) มีมารดาเป็นชาวบ้านธรรมดา ที่มีชื่อว่า งุด เกศ ส่วนบิดา ไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด เล่ากันว่า เมื่อวัยเยาว์ ท่านมีรูปร่างที่บอบบาง เพื่อเป็นการข่มนาม ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อไปในทางตรงกันข้าม และให้มีนามว่า โต ท่านอาศัยอยู่ที่ ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ
---มรณภาพ ในวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ #ปีวอก จุลศักราชที่ ๑๒๓๔ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน (พ.ศ.๒๔๑๕)
...สิริรวมอายุ ๘๕ ปี ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามได้ ๒๐ ปี โดยรับตำแหน่งตั้งแต่อายุ ๖๕ ปี และดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ ๗ ปีเศษ
...เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ท่านได้บวชเป็นสามเณร ณ #วัดใหญ่ เมืองพิจิตร และได้ย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมืองชัยนาท จนอายุครบ ๑๘ ปี ท่านก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว ณ #วัดบางลำพู จังหวัดกรุงเทพฯ และยังได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ จนกระทั่งได้เข้ามาเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระบรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช
#วัดมหาธาตุ
...ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ท่านมีอายุได้ ๒๑ ปี จึงบวชเป็นพระภิกษุ และสมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรส ทรงรับภาระบรรพชาให้เป็น นาคหลวง และให้ไปบวชตามภูมิลำเนาที่มีโยมแม่ และบรรดาญาติพี่น้องอาศัยอยู่ ณ #วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามสถานที่ต่างๆ ตามนิสัยที่ชอบการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ มุ่งศึกษาหาพระอาจารย์ต่างๆ ที่คงแก่ด้าน
#วิปัสสนากรรมฐานสมถะ โดยการเดิน #ธุดงค์ เข้าไปตามป่าตามเขา
...จวบจนสำเร็จ #วิปัสสนาญาณกรรมฐานขั้นสูง ท่านได้มี
#สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน
เป็นพระอาจารย์ ที่คอยพร่ำบอก พร่ำสอนวิชาความรู้ต่างๆ ให้แก่สมเด็จโต จนสมเด็จโตเก่งแตกฉานในทุกๆด้าน ในตอนนั้น สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน มีการสร้าง #พระสมเด็จวัดพลับ ขึ้นมาและได้ปลุกเสกเอง จึงทำให้สมเด็จโตได้ความรู้ในการ(สร้างพระของขลัง) หลังจากนั้น
ไม่นาน ท่านสมเด็จโตก็ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดระฆัง
...ในรัชสมัยของ
#พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว #รัชกาลที่๔ พระองค์ได้โปรดปราน
พระมหาโตเป็นอย่างยิ่ง กระทั่ง
ปีพ.ศ.๒๓๙๕ พระองค์ได้พระราชทานสมณศักดิ์พระมหาโตเป็นครั้งแรก ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น
(เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม)
ตอนอายุ ๖๔ ปี และเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมกิติ โดยปกติแล้วพระมหาโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่เพราะตอนนั้นในหลวงเป็นถึงเจ้าฟ้า จึงทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจำใจที่จะยอมรับยศสมเด็จ ทำให้ท่านต้องรับพระราชทานสมณศักดิ์ไปอีก ๒ ปี แต่ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินสมเด็จโตท่านสามารถหนีพ้นจึงไม่รับยศ โดยการเดินธุดงค์ออกไปหลายเดือนเพื่อหนียศ ต่อมา ท่านได้เลื่อนยศเป็น #พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ที่พระเทพกระวี และอีก 10 ปี ต่อมา
...ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้น
#สมเด็จพระราชาคณะ ที่
#สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีราชทินนามตามจารึกใน #หิรัญบัฏ ว่า
สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา
วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต /
ณ #วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
#พระอารามหลวงฯ
***ตำนานหนึ่งที่เล่าขานกันมา เกี่ยวกับ
#แม่นาค สมเด็จโต ท่านได้รู้ถึงเหตุการณ์ที่ผีนางนาค กำเริบ #หมอผี ไหนก็ไม่สามารถจัดการได้ ท่านจึงเดินทางไปค้างที่
#วัดมหาบุศย์ คลองพระโขนง พอค่ำท่านก็ไปนั่งอยู่ที่ปากหลุม แล้วเรียกนางนาคขึ้นมา
สนทนากัน แต่ตกลงกันว่าอย่างไรไม่ทราบได้ ผลสุดท้าย สมเด็จโตได้เจาะเอากระดูกตรงส่วนหน้าผากของนางนาคที่เขาฝังไว้มา จากนั้นท่านก็นั่งขัดเกลาจนมันวาว แล้วนำกลับไปยังวัดระฆังและทำการลงยันต์เป็นอักษรไว้ เจาะเป็นปั้นเหน่งคาดเอว เพื่อนำติดตัวไปทุกแห่งหนตั้งแต่นั้นมา
#ผีนางนาค ก็ไม่มาหลอกผู้คนอีกเลย
...จากประวัติความเป็นมา สมเด็จโต เป็นพระสงฆ์นักปฏิบัติ ที่ได้รับความเคารพเลื่อมใส ผู้คนให้ความศรัทธา จึงทำให้พระเครื่องของท่านได้รับความนิยมมากและมีราคาเช่าที่สูงมากด้วยเช่นกัน ในหมู่คนเล่นพระ ต่างก็ให้ความสนใจ และหาเช่าเพื่อบูชา
#พระสมเด็จวัดระฆัง
(อาจารย์คีตามหาเวทย์)
#อาจารย์คีตามหาเวทย์
โฆษณา