14 ต.ค. 2024 เวลา 10:30 • การศึกษา

Cronbach's Alpha ใน SPSS

Outline:
🔸️Cronbach's Alpha คืออะไร
🔸️Tryout
🔸️การแก้ไข Cronbach’s Alpha ใน SPSS ในกรณีที่ค่าไม่ผ่านเกณฑ์
🔸️คำสั่งการวิเคราะห์ Cronbach’s Alpha ใน SPSS
🔸️ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ Cronbach’s Alpha ใน SPSS
🔸️สรุป
.
อ่านจากบล็อคโดยตรงได้ที่
.
.
Cronbach's Alpha คืออะไร
cronbach’s alpha เป็นสถิติที่ไว้ใช้ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย หรือ Reliability ซึ่งในที่นี้ก็คือ แบบสอบถาม โดยมีเกณฑ์พิจารณา คือ ควรมีค่ามากกว่า 0.7 ขึ้นไป ถึงจะยอมรับว่า มีความเชื่อมั่น
.
Tryout
เวลาเราสร้างครื่องมือในการวิจัย เช่น แบบสอบถาม ก่อนจะนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริง ต้องทำการทดสอบก่อน ว่าเครื่องมือมีความเชื่อมั่นหรือไม่ เรียกว่า tryout โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับกลุ่มจริง เช่น ต้องการเก็บข้อมูลในกรุงเทพ อาจจะเลือกเก็บข้อมูลกับนนทบุรี สมุทรปราการ หรือในเขตกรุงเทพบางเขต จำนวน 30-50 ชุด แล้วนำมาทดสอบ หากมีค่าเกิน 0.7 แสดงว่า แบบสอบถามนี้ มีความเชื่อมั่น สามารถนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริงได้ แต่ถ้าหากน้อยกว่า 0.7 ต้องทำการแก้ไข
.
การแก้ไข Cronbach’s Alpha ใน SPSS ในกรณีที่ค่าไม่ผ่านเกณฑ์
ขอเริ่มต้นแบบนี้ ยกตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาด ประกอบไปด้วย Product Price Place Promotion (4Ps) ซึ่งในแต่ละ P ก็จะมีข้อคำถามย่อยๆ หรือ ตัวชี้วัด ซึ่งคำถามเหล่านี้ ได้มาจากการแตกคำนิยามออกเป็นข้อๆ
.
สมมติว่าในแต่ละด้านมีข้อคำถามอย่างละ 5 ข้อ ดังนั้น 4 ด้าน จะมีข้อคำถามทั้งหมด 20 ข้อ เวลาทำการวิเคราะห์ให้นำเข้าเป็นด้านๆ ไป เช่น ด้าน Product นำเข้า 5 ข้อ เฉพาะเรื่อง product ด้าน price นำเข้า 5 ข้อ เฉพาะเรื่อง price และนำเข้าทั้งหมด 20 ข้อ เป็นค่ารวมอีก 1 ค่า ดังนั้น ก็จะมีค่า cronbach’s alpha ทั้งหมด 5 ค่า
.
และอีกประเด็นที่สำคัญ คือ “ไม่มีค่า cronbach’s alpha รายข้อ” แต่บางครั้งเราเรียกค่า Corrected Item-Total Correlation เป็นค่า cronbach รายข้อ ดังนั้น จึงไม่มีค่า cronbach’s alpha แต่จะมีตามแต่ละด้าน
.
คำสั่งการวิเคราะห์ Cronbach’s Alpha ใน SPSS
Analyze > Scale > Reliability. > scale. Cronbach's Alph if item deleted.
.
ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ Cronbach’s Alpha ใน SPSS
ตัวอย่างด้านล่างนี้ เป็นการหาค่า cronbach’s alpha ของด้าน product ซึ่งในตัวอย่างมีข้อคำถามในด้านนี้จำนวน 7 ข้อ โดยมีค่า cronbach’s alpha เท่ากับ 0.716
.
หากเราพิจารณาเพียงเท่านี้ ก็ถือว่า “ผ่าน” เพราะมีค่ามากกว่า 0.70 แล้ว แต่ทีนี้ อยากแนะนำเพิ่มเติมหากหากค่า cronbach’s alpha นี้ ไม่ผ่าน เราจะทำอย่างไร ลองดูภาพด้านล่างต่อไป
.
จากภาพนี้ เป็นการเลือกเพิ่มเติมในโปรแกรม SPSS ให้แสดงค่า Cronbach’s Alpha if item deleted โดยค่านี้ เป็นการพิจารณาว่า “ค่าที่ปรากฏ ค่าใด มีค่ามาก แสดงว่าข้อคำถามนั้น เป็นข้อที่มีปัญหา” โดยหากทำการตัดข้อคำถามนั้น ออกไป จะทำให้ค่า cronbach’s alpha โดยรวม เพิ่มขึ้นเท่านั้น
.
เช่น จากภาพ จะเห็นว่าข้อคำถาม product2 มีค่า Cronbach’s Alpha if item deleted เท่ากับ 0.744 ซึ่งมากที่สุดในบรรดา 7 ข้อ จึงหมายความว่า หากนำข้อคำถาม product2 ออกไป จะทำให้ค่า cronbach’s alpha เปลี่ยนจาก 0.716 เป็น 0.744 ลองดูผลตัวอย่าง
.
เมื่อนำข้อคำถาม product2 ออกแล้ว จะเห็นว่าค่า cronbach’s alpha โดยรวมเปลี่ยนเป็น 0.744 และเหลือจำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ
.
สรุป
หากทำการวิจัยเชิงปริมาณคงหนีไม่พ้นการเครื่องมือด้วยแบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามที่สร้างต้องมีความเชื่อมั่น (reliability) ถึงจะนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริงได้ ด้วยการ tryout ก่อนจำนวน 30-50 ชุด กับกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกัน
.
ในขั้นตอนการวิเคราะห์ cronbach’s alpha ใน spss โดยทำการเลือก cronbach’s alpha if item deleted เพื่อช่วยพิจารณาหากค่า cronbach’s alpha รวมไม่ผ่าน
.
นอกจากนี้ เรายังสามารถทดสอบ cronbach’s alpha กับกลุ่มข้อมูลจริงได้ เพื่อเป็นการเน้นย้ำว่าข้อมูลที่เราได้มานั้น มีค่าเชื่อมั่นจริงๆ
.
.
ต้องการเรียนสถิติ อยากปรึกษาสถิติทั้งเรื่อง Factor Analysis, CFA, SEM หรือเรื่องอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลย
.
.
💝ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง
💝follow or subscribe in any channel
.
📳tel.086-555-5949
🆔️line: @SmartResearchThai
Tiktok: @SmartResearchThai
Youtube: SmartResearchThai
Facebook: SmartResearchThai
#ปรึกษาสถิติ #สอนใช้โปรแกรมสถิติ #แก้ปัญหาสถิติ #คอร์สสถิติ #เรียนสถิติ
โฆษณา