16 ต.ค. 2024 เวลา 06:25 • สุขภาพ
โรงพยาบาลพระรามเก้า

โรคกระเพาะอาหารภัยเงียบสู่มะเร็งร้าย

ปวดท้อง จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการเหล่านี้เป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร หรือทางการแพทย์เรียกกันว่า โรคแผลเปปติค (Peptic Ulcer)
ซึ่งจะเกิดเป็นแผลบริเวณกระเพาะอาหารโดยตรงหรือเกิดเป็นแผลที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งอยู่ติดกับกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเป็นๆหายๆ หลังจากการรักษาแผลให้หายแล้วก็มักจะกลับมาเป็นแผลอีกเรื่อยๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญพบว่าโรคกระเพาะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori)
เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร คืออะไร
เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ อีกชื่อ เอส.ไพโลไร เชื้อแบคทีเรีย ร้ายในกระเพาะอาหาร โดยปกติแล้วกระเพาะอาหารจะมีสภาพเป็นกรดอย่างแรง จะช่วยทำหน้าที่ทำลายแบคทีเรียทำให้แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่เนื่องจากเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร จะมีลักษณะพิเศษที่สำคัญ คือ สร้างด่างมาหักล้างกับกรดได้ ทำให้เชื้อนี้อยู่เจริญเติบโตในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร และเป็นสาเหตุที่สำคัญของ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ส่วนต้นยังเป็นปัจจัยเสี่ยง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่โดยมีประวัติเป็นเรื้อรังมานาน โดยสุขภาพทั่วไปไม่ทรุดโทรม ผู้ป่วยบางรายมี อาการจุกเสียดแน่น เจ็บ แสบหรือร้อน โดยอาการจะสัมพันธ์กับการกินอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด บางรายอาจมีอาการปวดท้องตอนบ่าย เย็น กลางคืน
การรักษาเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร
แนวทางในการรักษาโดยทั่วไป แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายพร้อมกับหาเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร ในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารทุกราย เพิ่มเติมด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยที่เป็นๆ หายๆ การรักษาที่นิยมใช้กันมากที่มีประสิทธิภาพสูงประกอบด้วย การใช้ยาลดการหลั่งกรด 1 ชนิด ร่วมกับยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ สามารถกำจัดเชื้อมากกว่า 90 %
การดูแลรักษาตัวเองจากโรคกระเพาะอาหาร
  • 1.
    รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ให้ตรงต่อเวลาทุกมื้อ
  • 2.
    รับประทานอาหารจำนวนน้อยๆ แต่บ่อย ไม่ควรกินอิ่มในแต่ละมื้อ
  • 3.
    หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง น้ำอัดลม
  • 4.
    งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน
  • 5.
    หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกทุกชนิด (NSAID)
โรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น มักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำอีกได้ หากมีอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่นอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ ปวดท้องรุนแรง หรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลงโดยไม่มีสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพราะอาหารได้
#โรงพยาบาลพระรามเก้า
#Praram9Hospital
#HealthCareYouCanTrust
โฆษณา