16 ต.ค. เวลา 11:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์ บอกเราว่า Hyper sonic ข้ามทวีป เป็นไปไม่ได้ ???

ช่วงหนึ่งตอนต้นสงครามยูเครน ปูตินเที่ยวได้โม้ว่า
พวกเขามี hyper sonic missile ข้ามทวีป ที่จะยิงจากฐาน
ในรัสเซีย”ตรง”ไปได้ถึงสหรัฐ ในเวลาไม่กี่นาที
นักทฤษฎีสมคบคิด ก็บ้าตาม กองเชียร์ก็พากันชาบู
แต่…นักวิทยาศาสตร์พากันขำกลิ้ง
เพราะมันขัดกับความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์น่ะสิ….
และสิ่งนี้ ทำให้สหรัฐรวมถึงจีน นั้นไม่ค่อยกังวลกับเรื่องนี้
ตลอดจนไม่ทุ่มเททรัพยากรให้เสียเปล่า กับการพัฒนา
Hyper sonic missile ที่มีพิสัยไกลมากๆ
เหมือนที่รัสเซีย และเกาหลีเหนือพยายามทำ
(จีนหลังๆนี่ไปทาง rail gun มากกว่าอีก)
…มันมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์อยู่…
ทำไม hyper sonic “ข้ามทวีป” จึงเป็นไปไม่ได้ ?
1) เพราะโลกไม่ได้แบน !
ประเด็นนี้ คืออะไรที่นักวิทย์ฯ ขำกลิ้งที่สุด เมื่อปูตินบอกว่า
มิไซล์ของเขาจะยิงเป็นเส้นตรง จากรัสเซียสู่สหรัฐ
ขำสิ มันเหมือนปูตินเอาแผนที่กระดาษมากาง
แล้วพูดเหมือนโลกแบน
ซึ่งมันขัดกับความเป็นจริง ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว
การเคลื่อนที่ทุกชนิด มันจะต้องเกิดบนพื้นผิวโลก
มันจะต้องเคลื่อนไปบนผิวโค้งๆ ของโลก
ไม่ใช่ทะลุลงไปใต้ผิว ตัดส่วนโค้ง จากมอสโคว์ไปวอชิงตัน
หลักการนี้ เรียกว่า geodesic ซึ่งมันเป็นความจริงแท้
ที่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ และทำให้เครื่องบินทุกลำบนโลก
ยังคงต้องบินเป็นเส้นโค้ง จนถึงทุกวันนี้
…ดังนั้น ไอ้ที่ปูตินกับคิมว่าบินตรง มันจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ
โลกแบน ไม่ก็ทะลวงผิวโลกมุดดินไปเท่านั้นแหละ…
…ทำได้ไหมล่ะ ไม่ได้ ก็คือจบ สำหรับปัจจัยแรก…
ในทางเทคนิค เครื่องบินทุกลำบโลก ต้องบินตามผิวระนาบโค้าของโลก ไม่ใช่แนวตรง และระยะทาง ก็ไม่ใช่ส่วนขยายจากแผนที่สองมิติ
2) ปัญหาเชิงวัสดุ
บางคนอาจแก้ตัวแทนปูตินว่า
…ก็ตรงแบบเรียดๆต่ำๆ ไปกับผิวโลกไง….
ซึ่งอันนี้ มันก็ถูกต้องนะ ตามหลักการ
แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำแบบนั้น
เพราะการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับ Hypersonic
ที่ชั้นบรรยากาศพื้นผิวนั้น ทำได้เพียงระยะทางสั้นๆเท่านั้น
เนื่องจาก ความหนาแน่นของอากาศมีสูงมาก
วัตถุที่เคลื่อนที่เร็วมากๆ จะเกิดการเสียดสีกับอากาศ
จนเกิดอุณหภูมิมหาศาล มากกว่า 2,000 องศาที่
รัสเซียบอกว่าพวกเขามีวัสดุที่จะทนได้ในรุ่นท็อป
คือ Avangard ซึ่งต้องปล่อยจากเครื่องบินในอากาศสู่พื้น
ที่อุณหภูมิขนาดนั้น ระยะทางที่มาก
จะทำให้อุณหภูมิยิ่งมาก และใช้วลายิ่งนาน
สิ่งนี้จะทำให้จรวดเผาไหม้ตัวเองจนหมด ก่อนจะถึงเป้าหมาย
มันต่างกับการใช้วัสดุเซรามิกในการปล่อยจรวดที่ความเร็วหลุดพ้นสู่อวกาศ ซึ่งผ่่านชั้นบรรยากาศพื้นผิว ไม่กี่สิบกิโล
แต่เมือพูดถึง ขีปนาวุธข้ามทวีป
เรากำลังพูดถึงระยะทางข้ามมหาสมุทร หลายพันกิโลเมตร
ปัจจุบัน ยังไม่มีวัสดุอะไรที่มนุษย์รู้จัก นอกจากเพชร
และแร่หายากบางชนิด ที่ทนอุณหภูมิขนาดนั้นได้
แต่มันหายาก มีน้อย และราคาสูงมาก
…เมื่อคุณเอาเพชรมาทำจรวดไม่ได้ มันก็จบล่ะ….
และถึงจรวดทนได้ แต่วัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายใน
ที่ใช้ในการนำร่อง มันก็ทนไม่ได้อยู่ดีนั่นเอง เพราะมันใช้เวลา
หลายสิบนาที ไม่ใช่ไม่กี่นาที แบบในยานอวกาศ
…แค่ข้อนี้ อีกข้อ ก็ชัดขึ้นแล้วล่ะ ว่ามันเป็นไปไม่ได้…
…ที่จริง เทคโนโลยีวัสดุนี่แหละ คือส่วนยากที่สุดของการ
สร้าง Hypersonic missile ไม่ใช่เครื่องยนต์ แบบที่หลายคน
เข้าใจ เครื่องยนต์นั้น มนุษย์สร้างพลังให้ได้มากแทบไม่จำกัด
แต่สิ่งที่จำกัดประสิทธิภาพ คือ วัสดุนี่แหละ….
ด้วยอุณหภูมิ ทำให้มันมีปัญหาเชิงวัสดุ จนการเคลื่อนที่แนวตรงระยะไกลมากๆ ไม่อาจทำได้ มันจะละลายหมด เมื่อเป็นแบบนั้น จึงต้องอาศัยบูสต์เตอร์ จนจรวดขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศก่อน มันจึงไม่ได้ต่างอะไรเลย กับ ballistic missile
3) ยังมีเรื่องปัญหาการนำร่องอีกเรื่อง
เพราะเมื่ออากาศเสียดสีกับวัสดุ ที่ความเร็วสูงมากๆ
จนเผาไหม้ด้วยอุณหภูมิสูงๆ มันจะเกิดการแตกตัวเป็นอิออน
ของทั้งอากาศ และวัสดุจรวด
ไอ้อิออนนี่แหละ จะปิดกั้นคลื่นที่สื่อสารของจรวดกับฐาน
และตัวอิออนก็ กลายเป็นมีสถานะเหมือน E-bomb
จนทำลายระบบอิเล็กทรอนิกส์ในตัวจรวดเองจนหมด
สิ่งนี้ ยังไม่มีใครแก้ไขปัญหาได้ในปัจจุบัน
ในทางการทหาร Hyper sonic missile บนโลกนี้ทุกลูก
จึงถูกตีค่าให้เป็นสถานะ “ไม่นำวิถี”
คือ ตั้งค่าเป้าหมายรอบเดียวจากฐาน แล้วจบเลย
ปล่อยไปแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้
ระยะทางไม่มาก ระดับไม่กี่ร้อยกิโลเมตร มันก็ยังแม่นยำ
ได้ในระดับหนึ่ง แบบที่เราเห็นในสงครามยูเครน
แต่ถ้าพูดถึงระดับหลายพันกิโลเมตร
มันต้องผ่านตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้มากมาย มันก็จะขาดความ
แม่นยำ และผิดเป้าหมายไปได้ไกลจากการคำนวณชั้นเดียว
…แค่ความเร็วลมเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย มันก็ผิดเป้าไปไกล
ได้หลายร้อยกิโลเมตรแล้ว หากต้องยิงจากรัสเซียไปสหรัฐ…
…ปัจจัยสภาพอากาศโลกนั้น ไม่มีใครควบคุมได้ และมีผลมาก
กับความแม่นยำ ขนาดพวกมือ sniper ยังต้องคิดถึงความเร็วลมในระยะระดับหลายร้อยเมตร กับลูกกระสุนลูกเล็กๆ…
…แล้วคิดสิ ว่าจรวดลูกเบ้อเริ่ม ยาวเป็นสิบเมตร กับระยะทาง
หลายพันกิโล มันจะส่งผลกระทบขนาดไหน…
…hypersonic ที่เล็งรอบเดียว ไม่สามารถควบคุมได้อีก
จากการสูญเสียระบบนำร่อง มันไม่ต่างกับกระสุนปืนหรอก
…เมื่อไม่สามารถควบคุมจรวด และปัจจัยสภาพแวดล้อมของโลกได้ เป้าหมายมันก็ผิดพลาดได้ง่ายมากๆ จนไม่น่าใช้งาน..
…แต่ …มันก็เหมือนสุ่มเป้าหมายเหมือนกันนะ ถ้าจะน่ากลัว
ก็คงเป็นตรงนั้นมากกว่า…
( Fatah ที่อิหร่านยิงอิสราเอลเมื่อต้นเดือน เป็น ballistic missile ไม่ใช่ hypersonic แบบบินเป็นเส้นตรงเหมือน
กับ Kinchal ของรัสเซีย จึงถูกจัดเป็นขีปนาวุธนำวิถี )
ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้
ทางสหรัฐนั้นทราบดี ว่าสิ่งที่ปูตินหรือศัตรูใดๆของพวกเขาพูด
มันมีความเป็นไปได้ต่ำมาก หรืออาจถึงขั้นเป็นไปไม่ได้เลย
มันอาจมีสองสาเหตุหลัก ที่ปูตินพูดแบบนั้น
คือ หนึ่งเป็นโฆษณาชวนเชื่อปลุกใจทหาร
…ไม่ก็ถูกนักวิทยาศาสตร์รัสเซียต้มเปื่อย จากความกลัวโดนลงโทษ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ที่พัฒนา Hypersonic missile ของรัสเซีย ก็ถูกดำเนินคดี ฐานปล่อยความลับกันไป
เกือบทั้งทีมแล้ว ซึ่งก็เป็นจุดน่าสังเกต …
…แต่บางแหล่งข่าว บอกว่านักวิทยาศาสตร์ให้เทคโนโลยี
แก่จีนโดยไม่ได้รับอนุญาต เลยโดนลงโทษ
ซึ่งมีความเป็นไปได้เหมือนกัน เพราะในเรื่องเทคโนโลยี
เครื่องยนต์เจ็ทนั้น
จีนยังตามหลังรัสเซียไกลพอสมควร โดยสังเกตุได้จาก
เครื่องยนต์ ในเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ๆ อย่างJ-20
ซึ่งยังด้อยกว่ารุ่นรองของรัสเซีย คือ SU-34 …
จากทุกอย่างสหรัฐนั้นไม่ได้ให้ค่าการมาแทน ICBM
ของเหล่า Hyper sonic missile อะไรมากนัก
เพราะเมื่อสุดท้ายแล้ว hypersonic missile
ก็ยังต้องเคลื่อนที่เป็นแนวโค้ง และต้องทำความเร็ว
ที่ความสูงมากๆ ก่อนจะโค้งลงมาหาเป้าหมาย
มันก็มีค่าอะไรไม่ต่างกับ ขีปนาวุธทิ้งตัว
หรือ ballistic missile เลย
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ขีปนาวุธทิ้งตัว
ที่มาจากความสูงมากๆนั้น มีความเร็วในระดับ
Hypersonic อยู่แล้ว
และทำความเร็วทิ้งตัวได้มากกว่า อาวุธที่รัสเซียเคลมเสียอีก
ในแง่นี้ การจะบอกว่า มันไม่มี ก็อาจไม่ใช่
แต่เราอาจบอกว่ามันมี แต่ไม่ใช่อะไรที่ใหม่ก็ได้เหมือนกัน
แน่นอน อเมริกามีขีปนาวุธทิ้งตัวอยู่เพียบ ในไซโล
ไม่ต่างกับรัสเซีย
เมื่อเป็นแบบนั้น Hypersonic ข้ามทวีป จะมีจริงๆหรือไม่
มันก็ไม่มีผลในแง่การเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจ ในส่วนนี้
ย้ำ ว่าในส่วนของขีปนาวุธข้ามทวีปเท่านั้นนะ
Hypersonic ยังคงอันตราย กับการปล่อยในระยะที่ไม่มากนัก
คือระดับไม่มากกว่า 700 กิโลเมตร ที่จะเข้าสู่เป้าหมาย
ก่อนที่จะเจอกับความโค้ง geodesic ของผิวโลก
ในระยะขนาดนี้ มันจะวิ่งเป็นเส้นตรงจริงๆ
และป้องกันได้ยากมาก แม้จะไม่แม่นยำอะไรนักก็ตาม
ดังนั้นสิ่งที่สหรัฐกังวลมากกว่า เกี่ยวกับขีปนาวุธพวกนี้
คือการที่มันจะถูกปล่อยจากเครื่องบินมากที่สุด
ไม่ใช่ปล่อยจากฐานบนแผ่นดิน หรือเรือทั้งผิวน้ำและดำน้ำ
แต่ก็เพราะมันต้องแบกขึ้นเครื่องบินนี่แหละ
ทำให้มันแบกน้ำหนักมากๆ หรือก็คือใส่หัวรบใหญ่ๆมากๆ
ไม่ได้ ซึ่งก็จะจำกัดประสิทธิภาพ ของจรวดเหล่านี้ไปในตัว
ถ้าไม่ใช่หัวรบนิวเคลียร์ มันก็คงไม่มีอะไรร้ายแรงนัก
…ซึ่งมันก็คงยาก ที่รัสเซียจะหน้ามืดใช้หัวรบนิวเคลียร์
ติดมากับจรวดเหล่านี้จริงๆ…
ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่สหรัฐกังวลที่สุดเกี่ยวกับจรวดรัสเซีย
มันก็คือจรวดทิ้งตัวแบบเดิมๆนั่นแหละครับ
“ไอ้หัวขวาน” Axehead AA-13 ที่นาโต้เรียก
หรือชื่อจริงๆของมันในเวอร์ชั่นรัสเซีย คือ Vymple R-37
ยังคงเป็นขีปนาวุธที่สหรัฐให้ค่ามากที่สุด ของรัสเซีย
บางทีเราอาจเข้าใจว่าเทคโนโลยีใหม่กว่า คือดีกว่า
…แต่มันไม่ใช่สำหรับในกรณีนี้….
จรวดที่น่ากลัวที่สุด ไม่ใช่เร็วที่สุด ยิงได้ไกลที่สุด
แต่คือจรวดที่มายิงได้ใกล้ที่สุด และแม่นยำที่สุด
ตรวจจับยากที่สุดต่างหาก ที่น่ากลัวกว่า
แน่นอน สหรัฐมีเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือผิวน้ำ เรือดำน้ำมากมายอยู่ทั่วโลก แบบที่ไม่มีใครมี
…หมายความว่า พวกเขาคือชาติเดียวในโลก ที่จะขนจรวด
ไปจ่อยิงใครก็ได้ ซึ่งการยิงแบบนี้ คืออันตรายที่สุด…
ดังนั้น ในแง่อำนาจการยิง สหรัฐจะมี hypersonic
หรือไม่ พวกเขาก็ยังมีอำนาจการยิงสูงที่สุดในโลก
ผ่านกองเรือเหล่านี้….
…และในทางหนึ่ง Hypersonic รัสเซียกับจีนก็ออกแบบเอาไว้
เพื่อจมเรือบรรทุกเครื่องบินพวกนี้นั่นแหละครับ…
…มันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้เป็นขีปนาวุธข้ามทวีป…
…อย่างที่หลายคนเข้าใจกันเลย….
Vymple R-37 นี่ต่างหาก ที่สหรัฐกลัวที่สุด
อ้างอิง
โฆษณา