17 ต.ค. เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี กับการหักค่าใช่จ่ายที่ต่างกัน

หลายคนที่กำลังศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคงจะพอรู้แล้วว่าเงินได้ถูกจัดแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ประเด็นหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจผิดและสับสนอยู่บ้าง คือ การหักค่าใช้จ่ายแต่เงินได้แต่ละประเภท
วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับ เงินได้แต่ละประเภทและการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการวางแผนภาษี หากเราเข้าใจผิดอาจทำให้วางแผนภาษีผิด และส่งผลกระทบไปถึงการยื่นรายได้ผิดประเภทอีกด้วยนะ
ทางภาษีมีการแบ่งเงินได้ออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภท โดยอ้างอิงประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1)-(8) ดังนี้
1. เงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น
2. เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม เบี้ยประชุม ค่าบรรยาย ค่าวิทยากร เป็นต้น
3. เงินได้ประเภทที่ 3 คือ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอย่างอื่น
3
4. เงินได้ประเภทที่ 4 คือ เงินได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร เป็นต้น
5. เงินได้ประเภทที่ 5 คือ รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
6. เงินได้ประเภทที่ 6 คือ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ(แพทย์) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
7. เงินได้ประเภทที่ 7 คือ เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
8. เงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้อื่นๆ นอกจาก 1-7 เช่น เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
โดยเงินได้แต่ละประเภทในทางภาษีมองว่ามีต้นทุนในการได้มาของเงินได้นั้นไม่เท่ากัน จึงส่งผลการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภทไม่เหมือนกันนั่นเอง
ซึ่งการหักค่าใช้จ่าย มีทั้งแบบตามจริงและหักในอัตราเหมา สำหรับการหักค่าใช้จ่ายตามจ่ายจริงนั้น จำเป็นจะต้องมีหลักฐานการจ่ายค่าใช้จ่ายตัวนั้นๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เก็บหลักฐานเหล่านี้ไว้ หรือไม่อยากวุ่นวายในการเก็บเอกสารต่างๆ ก็ใช้วิธีหักค่าใช้จ่ายเหมาจะง่ายที่สุด
โฆษณา