17 ต.ค. เวลา 02:36 • หนังสือ
ผมไม่เคยอ่านจนจบ จากที่เคยอ่านมาเล็กน้อยพบว่าฉบับแปลไทยส่วนที่ยากน่าจะเป็นเพราะสำนวนแปลทื่อ ตรงตามอักษรไวยกรณ์เป๊ะ และการเว้นวรรคตอนไม่เป็นอย่างที่นิยมในปัจจุบัน เป็นเรื่องสำนวนภาษาที่ยาก ไม่ใช่เพราะองค์ธรรมยาก
ที่ว่าการแปลทื่อนั้นคงเพราะผู้แปลต้องการให้คงรูปตามต้นฉบับบาลีให้ได้มาที่สุด เทียบกับภาษาอังกฤษคงคล้าย ๆ การแปลภาษาอังกฤษ "As we were tested,..." ว่า "ดังที่พวกเราทั้งหลายล้วนถูกทดสอบมาแล้วอย่างนี้" ซึ่งพอชินและคุ้นกับแนวศัพท์จริง ๆ ก็คงไม่ยากเพราะจะใช้เหมือนกันทั้งเล่ม
พระไตรปิฎกประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
  • 1.
    ​พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยสงฆ์
  • 2.
    ​พระสุตันตปิฎก ว่าด้วยเรื่องที่พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาในครั้งพุทธกาล และเหล่าอริยสาวกได้จดจำนำมารวบรวมกันโดยมีพระอานนท์เป็นกำลังสำคัญ เมื่อผมเริ่มสนใจพระพุทธศาสนาผมเริ่มที่นี่
  • 3.
    ​พระอภิธรรมปิฎก ไม่เคยอ่านครับ ฟังมาว่าเกี่ยวกับการเดินของจิตในระดับลึกซึ้ง ส่วนนี้น่าจะยากแหละ
คำถามที่ 2 หากสนใจศาสนาพุทธควรเริ่มที่ไหน
แม้จะทราบกันทั่วไปว่าพระพุทธศาสนามีเป้าหมายให้คนพ้นทุกข์ด้วยการละกิเลสผ่านการภาวนา (ที่ไม่ได้แปลว่าขอ) แต่ธรรมะของพระพุทธองค์ก็มีไว้สำหรับคนทุกระดับได้ใช้ขัดเกลาตนเองไปทีละขั้น ๆ เปรียบเหมือนการเตรียมชิ้นไม้เพื่อทำเก้าอี้
หากไม้ยังเป็นต้นต้องใช้ขวาน หากไม้เป็นท่อนมาต้องใช้เลื่อยแบบหนึ่งเลื่อยให้เป็นแผ่น หากไม้เป็นแผ่นมาต้องใช้เลื่อยอีกแบบหนึ่งเลื่อยให้เป็นชิ้น หากไม้เป็นชิ้นมาต้องใช้กบไสให้เรียบ หากไม่เรียบมาแล้วต้องใช้กระดาษทรายขัดให้ผิวละเอียด
แม้จะมีการใช้กระดาษทรายขัดให้ละเอียดเป็นปลายทาง แต่คงไม่มีใครใช้กระดาษทรายขัดไปไม้ที่ยังเป็นต้นอยู่ให้ได้รูปเป็นแผ่นที่มีผิวละเอียดตั้งแต่ต้น
ผมไม้รู้ว่าตอนนี้คุณเป็นไม้อะไร ก็แนะนำลำบาก
แต่อยากชวนให้ฟัง "พระสูตร" โดยหลวงพ่อระแบบซึ่งมีหลายพระสูตรสำหรับคนหลายระดับแต่ท่านเล่าให้ฟังแบบง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ฟังได้
เรื่องที่เลยไปจากนี้ไม่สามารถแนะนำได้แล้วครับ
โฆษณา