Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมืองไทยไดอารี่ by Supawan
•
ติดตาม
17 ต.ค. 2024 เวลา 05:55 • ท่องเที่ยว
ยลวิถีริมคลองบางหลวง (1) .. สุริยากาแฟ ในตำนาน
การล่องเรือไปตามคลองน้อยใหญ่ ที่มีชุมชนเก่าแก่ริมคลอง ซึ่งยังคงรักษาเสน่ห์ดั้งเดิม วิถีชีวิตเรียบง่าย และร่มรื่น .. เพื่อพักผ่อนและท่องเปลี่ยนบรรยากาศ เน้นเอาบรรยากาศพักผ่อนแบบชิล ๆ
… นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากหาก ด้วยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สงบ เดินทางสะดวกสบาย ในกรุงเทพฯปัจจุบัน ..
วันนี้เรามีโปรแกรมนั่งเรือแท็กซี่พลังงานไฟฟ้า เที่ยวไปตามสายน้ำในคลองบางหลวง บางกอกใหญ่ .. เพื่อไปชมทำความรู้จักกับวิถีชีวิตตามสายน้ำ ไปด้วยกันเลยค่ะ
คลองบางหลวง หรือ ชุมชนคลองบางหลวง เป็นชุมชนเก่าแก่ย่านสถานีรถไฟฟ้าบางไผ่ ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
"คลองบางหลวง" ชื่อนี้เพี้ยนมาจากคำว่า "คลองบางข้าหลวง" เนื่องจากอดีตที่แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของข้าราชการ ขุนนาง ข้าหลวง .. เมื่อครั้งสร้างเมืองธนบุรี การสัญจรทางคลองนั้นไป-มาง่าย ใกล้กับพระราชวังธนบุรี ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า คลองบางข้าหลวง
ปัจจุบันเหลือเพียงชื่อ คลองบางหลวง แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่มีการนำเสนอเอกลักษณ์วิถีชุมชน ซึ่งยังสะท้อนภาพชุมชนดั้งเดิมได้จากเรือนแถวไม้ ที่ค้าขายสินค้าต่าง ๆ ให้แก่ผู้ที่มาท่องเที่ยวชื่นชมบรรยากาศริมน้ำ
การเดินทางมาเที่ยวคลองบางหลวงมีอยู่หลายวิธี .. เราเลือกที่จะใช้ขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า MRT ลงที่สถานีบางหว้า แล้วมาลงเรือแท็กซี่ พลังงานไฟฟ้า จากท่าเรือบางหว้า
เมื่อเรือแล่นออกจากท่า ภาพวิถีชีวิตของชุมชนได้ผ่านเข้ามาในสายตา .. ย้อนความทรงจำว่า กรุงเทพฯเคยได้รับฉายาว่า “เวนิสตะวันออก”
“ท่าเทียบเรือดูดีมากนะคะ แต่ไม่เห็นมีเรือเมล์แล่นไป-มาเลย” .. ฉันถามนายท้ายเรือ ผู้ซึ่งวันนี้เป็นไกด์นำเที่ยวให้เรา
“แต่ก่อนมีเรือบริกาครับ และคึกคักมาก แต่หลังจากมีรถไฟฟ้า ความนิยมเดินทางทางเรือก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะสะดวกกว่า ใช้เวลาน้อย และมาตรงเวลา”
“.. จนทำให้การให้บริการทางเรือของทางการเกิดขาดทุนสะสมมาเรื่อยๆ ตอนนี้เลยยกเลิกการให้บริการ .. ดูเรือที่จอดอยู่สิครับ หมดสภาพลง”
เราเห็นภาพเรือที่ถูกปลดระวางแล้ว ก็รู้สึกเศร้า แต่ก็คิดว่าเรือเหล่านี้น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ทางอื่นได้??
เมื่อเรือแล่นตามคลองมาเรื่อยๆ ผ่านบ้านเรือนคหบดีเก่า สถานที่สำคัญในอดีต .. เราผ่านโต้งน้ำที่เป็นเหมือนทาง (สี่) แยกของคลอง บ้านเรือนไม้ย้อนยุคอยู่หลายหลัง
... อืมมม แถวนี้ คือ แถวบ้าน “แม่พลอย” ในละคร สี่แผ่นดิน หรือเปล่านะ
“อู่เรือคาเฟ่” ซึ่งปกติจะเป็นสถานที่ฮ๊อตฮิตมาก เพราะนักท่องเที่ยวจะมาจับจองโต๊ะและนั่งยาวๆ รอเก็บภาพองค์พระขนาดใหญ่มาก จากวัดปากน้ำ
.. แต่ตอนนี้มีการซ่อมองค์พระ นักท่องเที่ยวเลยหายไป และบรรยากาศแถวนี้ก็ซบเศร้าตามไปด้วย
สะพานโค้งสีแดงสวยมาก เป็นเหมือนสายสร้อยเครื่องประดับชั้นดีของคลอง
อาคารหลังนี้เคยเป็นสำนักงานของนายอากร ซึ่งมีหน่าที่ในการเก็บค่าธรรมเนียมการผ่านคลอง .. คงเหมือนกับที่เราจ่ายค่าทางด่วนในปัจจุบัน
ตอนนี้เป็นที่ทำการของสำนักงานบริหารระบบน้ำเสีย (ทำนองนี้นะคะ อาจจะไม่ตรงเป๊ะ) .. ในช่วงเย็นเรามองเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งไกด์บอกว่า เป็นการวางระบบน้ำเสีย ที่จะทำใหในอนาคตจะไม่มีน้ำเสียถูกปล่อยลงสู่คลองอีกแล้ว
ป้ายติดเอาไว้ว่าเป็น “สถานีดับเพลงตลาดพลู” .. ก็เป็นความอุ่นใจของชาวบ้านในระดับหนึ่ง เพราะตามริมคลองมีบ้านเรือนอยู่มากเหมือนกัน ซึ่งหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ รถดับเพลิงที่มาทางถนนอาจจะเข้าไม่ถึง
สถานที่แห่งแรกที่เราแวะ คือขึ้นที่ท่า “วัดอินทาราม” คือ ร้านกาแฟโบราณ ของตลาดพลู คือ ร้าน “สุริยากาแฟ” ..
เราเดินตามทางที่ผ่านชุมชนเล็กๆ ที่มีบรรยากาศที่้ปี่ยมชีวิตชีวา .. เราจึงเห็นผู้คนมากหน้าหลายตาเดินเที่ยวกันสนุกสนาน มีนีกท่องเที่ยวมาปั่นจักรยานลัดเลาะไปตามชุมชนริมน้ำให้เป็นสีสันอีกด้วย
เพื่อนเราหลายคนบอกว่า .. ของกินที่นี่อร่อยมรพทีเดียว ถึงแม้ว่าสถานที่จัไม่ใช่เหลากลางเมือว และเราหมายตาว่าวันหลังจะมาแวะชิม
“สะพานสมบุญ” หรือสะพานแห่งความรัก .. ไกด์เล่าว่า เป็นสะพานที่นายกิม คูศิริ สร้างอุทิศให้กับภรรยาที่รักของเขา เมื่อปี พ.ศ. 2475
“สุริยากาแฟ” เป็นร้านกาแฟที่อยู่คู่กับกับตลาดพลูมาตั้งแต่ดั้งเดิมเมื่อราว 100 ปีที่แล้ว .. เป็นร้านที่เราเลือกมาทานอาหารเช้า
ซึ่งปกติจะมีขนมปังแบบฝรั่งเศส สอดไส้ต่างๆ เหมือนที่เราเคยเห็นในตลาดเช้าของลาว .. เป็นอาหารที่เลื่องชื่อของร้าน
แต่วันที่เราไปเยือนไม่มี เลยได้ทานแต่ปาท่องโก๋ และเครื่องดื่มร้อน-เย็น ..
.. ฉันเลือกสั่งอาหารจากร้านที่อยู่ใกล้ๆ กระเพราหมูสับไข่ดาว อร่อยและไม่แพง และยิ่งนั่งบนสตูลริมน้ำเท่ๆ ยังไงก็รื่นรมย์มากมาย
การตกแต่งด้วยการนำภาพและโปสเตอร์เก่ามาใช้ประดับ ให้อารมณ์วินเทจย้อนยุคดี .. เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆคน รวมถึงพวกเราด้วย
คลองบางหลวง เป็นจุดขายของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมาช้านาน ด้วยเหตุที่คลองทั้งส่ายเป็นที่ตั้งของชุมชนเก่านับร้อยปี หรือหลานร้อยปีก่อนที่จะมีการสร้างกรุงธนบุรีด้วยซ้ำ .. ว่ากันว่าเป็นเส้นทางค้าขายที่ผ่านไปยังกรุงศรีอยุธยา
.. และเมื่อมีชุมชน ทั้งสองฝั่งคลอง ก็จะมาพร้อมกับบ้านเรือน ตลาดเก่า สถานที่สำคัญ และศาสนสถานต่างๆ .. จึงเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยม และเกิดพาหนะที่พาพวกเขาเหล่านั้นเข้าไปสัมผัสบรรยากาศที่คลาสสิกในสายตาและความรู้สึกของหลายคน
.. บ้านเรือนเก่าที่เราเห็น บางหลังอยู่ในสภาพที่เก่า ทรุดโทรม เสียหาย .. ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากเรือที่ใช้ความเร็วมาก จนเกิดคลื่นที่เข้าไปกระทบกับทุกสิ่งที่อยู่ริมคลอง
ตำนานการเดินทางของ"สุริยากาแฟ" เริ่มต้นที่นี่(ตลาดวัดกลาง) เมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว .. เรือกาแฟในตลาดวัดกลาง มี นายโหงว แซ่ลิ้ม เตี่ยของคุณวินัย เลิศธานินทร์วณิช (เจ้าของและผู้สืบทอดกิจการคนปัจจุบัน) พายเรือมาขายเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวเมื่อ 100 ปีที่แล้ว
ในช่วงเวลาตอนนั้น .. ใครมีสินค้าอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรือผลไม้จากบางแวก หมากพลู และอื่นๆ อะไรๆ ก็จะพายเรือมาขายที่ตลาดวัดกลาง ซึ่งเป็นแหล่งรวมการค้าขายของพื้นที่แห่งนี้
คุณวินัย เคยเล่าว่า .. เตียจะใช้หม้อชงกาแฟ เป็นชุดกาแฟทองเหลือง(ซึ่งทายาทยังคงเก็บรักษาไว้) และกาแฟของเตี่ยก็จะคั่วเอง ใส่กาแฟ ใส่งา ใส่เนย ใส่น้ำตาลทรายแดง ลงไปคั่วในกระทะ คั่วไปจนกว่าธูปดอกหนึ่งที่เตี่ยจุดไว้หมดก็เลิกคั่ว (สมัยก่อนไม่มีนาฬิกา) อันนี้จะเรียกว่าเป็นกาแฟโบราณคั่วบด
และสมัยก่อนพวกชาก็ยังไม่เป็นที่นิยม จะมีบ้างแต่เป็นพวกชากระป๋อง มีชาตรามือ ตราอูฐ ตราเหรียญ .. ในรุ่นเตี่ยคุณณวินัย ยังไม่มีชื่อร้าน ราคาโอเลี้ยงถ้วยละ 50 สตางค์ กาแฟดำร้อนถ้วยละ 40 สตางค์ กาแฟร้อนถ้วยละ 70 สตางค์
ต่อมา ในปีพ.ศ.2497 .. เตี่ยของคุณวินัย เสีชีวิตลงเมื่ออายุ 55 ปี .. พี่ชายคนโตก็มาขายกาแฟต่อจากเตี่ยก่อน และเมื่อถึงปีพ.ศ.2501 คุณวินัย ก็มารับสืบทอดต่อการขายกาแฟ
พอถึงปีพ.ศ.2503 ระหว่างขายกาแฟไปก็เริ่มมีการจัดนำเที่ยวด้วย โดยใช้รถบัสไม่มีแอร์ ใช้ชื่อว่า สุริยาทัศนาจร แล้วเลยตั้งชื่อร้านกาแฟว่า "สุริยากาแฟ" ไปด้วย และใช้ชื่อนี้ตลอดมา .. แต่ กาแฟก็ไม่ได้คั่วเองแล้ว เพราะถ้าคั่วเองต้องใช้เวลาจะเสียเวลาไป 1 ว้นเต็มๆ
"สุริยากาแฟ" มี 3 สาขา .. คือที่ตลาดวัดกลาง ซึ่งเป็นที่เริ่มตั้งแต่แรก แล้วขยายมาที่ร้านซอยเทอดไท 33 และที่ตลาดพลู(ในปีพ.ศ.2546) .. ที่นี่ลูกชายทั้ง 3 คนจะช่วยกันขายแบบผลัดเวรกันตามแต่พี่น้องตกลง เวลากัน
จึงกล่าวได้ว่า .. การเดินทางของสุริยากาแฟ ได้สืบต่อมาจนถึงรุ่นที่ 3 คือรุ่นลูกชายของคุณวินัย เลิศธานินทร์วณิช ที่ยังคงสืบทอดอาชีพของบรรพบุรุษอย่างเห็นคุณค่า แม้ว่าในรุ่นลูกนั้นทุกคนจะได้รับการศึกษาสูง และเคยทำงานในบริษัมที่ดี แต่สุดท้ายก็หันมาขายกาแฟ 3 พี่น้อง แบบสลับกันขาย
ลูกชายคนโตมาตี 5 กว่า ๆ ขายถึง 4 โมงเย็น พอเย็นลูกชายคนเล็กก็มารับช่วงต่อ 3 พี่น้องช่วยกันสืบทอดการขายกาแฟต่อมา .. ขายทุกวัน ไม่มีวันหยุด ปิดร้าน 4 ทุ่ม
คุณวินัยเคยเล่าถึงลูกๆเอาไว้ว่า ..
“ .. ก่อนที่ลูกของผมทั้ง 3 คนจะมาขายเก่งเหมือนในทุกวันนี้ พวกเขาต้องชงชา กาแฟ มาให้ผมชิมก่อนว่าใช้ได้หรือยัง ถ้ารสชาติยังใช้ไม่ได้ ยังไม่ให้ออกไปขาย ถ้าออกมาขายต้องอร่อย เพราะเราเอาชื่อป้าย"สุริยากาแฟ"มาติดแล้วต้องอร่อยต้องแน่นอน"
ลูกชายคนโต “ธนสิทธิ์ เลิศธานินทร์วณิช” ได้เล่าถึงความรู้สึกที่ได้สืบทอดกิจการต่อไปว่า
" .. คือเห็นป๊าชงกาแฟมาตั้งแต่เด็ก มันเป็นความผูกพันและความรักในอาชีพ ตอนก่อนที่ผมยังไม่ได้มาเปิดขายที่ตลาดพลู ผมอยากจะขายกาแฟมาก ถึงขนาดร้องไห้ อยากขายกาแฟมากๆ ผมก็ไปหาที่แถวตลิ่งชัน เอาของใส่มอเตอร์ไซค์ขับไปตี 5 ขายถึง 8 โมงเช้า ขายเสร็จไปเรียนหนังสือ เรียนหนังสือเสร็จไปขายต่อ ทำอยู่อย่างนี้ครับ แต่ทำเลไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ป๊าเลยบอกว่า เดี๋ยวป๊าหาทำเลให้ใหม่ ก็เลยมาได้ที่ตรงตลาดพลูนี่ครับ"
ลูกชายคนกลางของคุณวินัย เลิศธานินทร์วณิช .. เคยเล่า ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากคุณพ่อ และถือว่าเป็นสิ่งยึดเหนึ่ยวประจำใจเลย ได้อย่างซึ้งใจว่า ..
" .. ที่ป๊าสอนมาตลอดและถือปฏิบัติตามมาคือ เราต้องใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุด คุณภาพในการชง การบริการเราต้องดีกับลูกค้า ในเรื่องของราคาด้วยจะไม่ปรับขึ้นราคา เพราะถ้าเราอยู่ได้เราคำนวณแล้ว เราจะยังคงราคาเดิม ไม่ขึ้นราคา ลูกค้าประจำเยอะ เราต้องยืนหยัดราคา ..
.. ชาที่เราเลือกใช้แพงที่สุด ที่เขาใช้ในโรงแรมระดับ 5 ดาว แต่เราก็เลือกให้ลูกค้าเราแบบนี้ตลอดมา มาลองชิมชาที่เขาว่าเป็นชาที่ดีที่สุดในโลก แต่เรามาขายในราคาที่ถูกที่สุดในโลกกันครับ"
การเดินทางของสุริยากาแฟจากรุ่นสู่รุ่น เติบโตมายาวนานกว่า 100 ปี มีถึง 3 สาขาคือ วัดกลาง เทอดไท 33 และตลาดพลู ขอชื่นชมกับบทพิสูจน์ของความขยัน ความตั้งใจจริง และความรักในอาชีพ ทำให้ "สุริยากาแฟ" ยังคงเดินทางในเส้นทางนี้ต่อไป และ .. ตลอดไป
Ref :
http://workingsociety.com/suriya.html
บันทึก
2
1
4
2
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย