17 ต.ค. เวลา 07:24 • ไลฟ์สไตล์
เรามองว่า ทุกการแสดงออกหรือการกระทำ มันจะออกจากส่วนผสม 3 ทางเสมอ คือกาย วาจา และใจ ตัวที่จะควบคุมการแสดงออกหรือการกระทำ ก็คือสติและปัญญา ซึ่งจะต่างจากความคิด หลายคนคิดอย่างไรก็พูดออกมาอย่างนั้น แล้วก็โพนทะนาว่า เพราะตนเองเป็นคนจริงใจ ตรงไปตรงมา ตรงนี้นี่เอง ที่เรามองว่ามันคือความต่างระหว่างคำว่า "ปัญญา" กับคำว่า "ความคิด"
แม้จะบอกว่าพูดออกจากใจ เป็นคนตรงไปตรงมา แต่เมื่อไม่ประกอบด้วยสติปัญญา สิ่งที่พูดออกมาก็อาจกลายเป็น "การสักแต่พูด" และเมื่อพูดออกไปแล้ว คำพูดจึงเป็นนายตัวเองทันที เอากลับคืนมาก็ไม่ได้ จะขอโทษขอโพยอย่างไร ความรู้สึกไม่ชอบไม่พอใจก็เกิดขึ้นทันที คนอื่นๆ ก็จะอ่านอุปนิสัยใจคอเราจากสิ่งที่เราพูดนี่แหละค่ะ แล้วก็ตัดสินว่าเราเป็นคนแบบนั้นแบบนี้ ตรงนี้เราไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องแคร์ความคิดความเห็นคนอื่น แต่เราหมายถึง การพูดหรือการกระทำที่จะต้องระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ไปเบียดเบียนความรู้สึกคนอื่น
โบราณจึงสอนว่า
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
บางครั้งคนอื่นอาจกำลังทำผิดทำพลาด
บนความไม่รู้ มันอาจดีเสียกว่าที่จะปล่อยให้เขาได้เรียนรู้
เพราะบางครั้งสิ่งที่เราไปบอก เพราะทึกทักว่าเราหวังดี
เขาก็อาจเข้าใจว่าเราไปหาว่าเขาโง่ซะอย่างนั้น
ส่วนตัวเราเจอประสบการณ์แบบนี้บ่อยค่ะ
โฆษณา