17 ต.ค. เวลา 09:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Why lab-grown meat may not be as eco-friendly as you think

เหตุใดเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บอาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างที่คิด
การเคลื่อนไหวเพื่อนำโปรตีนทางเลือกมาวางบนโต๊ะและบนชั้นวางในซุปเปอร์มาร์เก็ตของเรากำลังก้าวไปอย่างรวดเร็ว
ขณะที่พาสุนัขเดินออกกำลังกายในตอนเช้า เส้นทางเดินของฉันจะผ่านทุ่งหญ้าที่มีวัวฝูงเล็กๆ กำลังกินหญ้า ฉันมักจะหยุดดูอยู่ตรงนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสุนัขของฉันชอบที่จะดูวัวเป็นอย่างมาก และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันเป็นฉากของชนบทที่สวยงาม
นี่คือสิ่งที่ฉันนึกถึงเมื่อนึกถึงการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น การมองเห็นวัวหรือเห็นแกะ เดินไปตามทุ่งเพื่อแทะเล็มหญ้า เช่นเดียวกับพวกเราหลายคน ที่ไม่ได้ทำงานด้านการเกษตร หรือด้านการผลิตเนื้อสัตว์ ฉันเองอาจจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ระหว่างปศุสัตว์ที่กำลังแทะเล็มหญ้า กับเนื้อสัตว์ที่เราเห็นบนชั้นวางซุปเปอร์มาร์เก็ตมากนัก
แต่มีอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ที่กำลังขยายตัว ซึ่งดูแตกต่างไปจากนี้อย่างมาก เตรียมจะนำเสนอทางเลือกที่เป็นนวัตกรรมใหม่โดยใช้วิทยาศาสตร์ นั่นคือ เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยง ไม่ใช่เนื้อที่เอามาสัตว์ แต่เป็นการเพาะเลี้ยงจากเซลล์เดียวจากภาชนะเพาะเลี้ยง ภายในโรงงานผลิตทางอุตสาหกรรม
โดยส่วนตัวแล้ว ฉันอยากรู้อยากเห็นที่จะลองกิน และหากว่ามีวิธี ที่ฉันสามารถอร่อยกับลูกชิ้นและไส้กรอกโดยไม่จำเป็นต้องฆ่าสัตว์ ฉันก็อยากจะลองกินดู
แต่บริษัทผลิตเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ กำลังกล่าวอ้างว่า เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ รักษาสิ่งแวดล้อม เรามาดูจากหลักฐานว่า สิ่งที่บริษัทกล่าวอ้าง เป็นจริงหรือไม่
ตามที่สหประชาชาติระบุ การผลิตเนื้อสัตว์จากปศุสัตว์ คาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าหนึ่งในสิบของทั่วโลก และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรโลก และความต้องการโปรตีนก็เพิ่มขึ้น
หน่วยงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล ที่กำกับดูแลเงินทุนวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ เพิ่งเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมโปรตีนทางเลือกแห่งชาติ ประกาศว่า เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยง “ในไม่ช้าอาจเป็นส่วนที่ยั่งยืน และมีคุณค่าทางโภชนาการของอาหารของเรา”
เนื่องจากเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ ไม่ต้องการฝูงปศุสัตว์และพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ ผู้สนับสนุนกล่าวว่า เนื้อนี้เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ามาก แต่การแทะเล็มหญ้าทั้งหมดไม่เท่ากัน
ผลการวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ Nature Climate Change เปิดเผยว่า การแทะเล็มหญ้า หากได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม สามารถช่วยแยกคาร์บอนจากในอากาศลงสู่พื้นดินได้ แต่การแทะเล็มหญ้ามากเกินไป และการสูญเสียคาร์บอนจากดิน เนื่องมาจากการพังทลายของดินนั้น เกิดแพร่หลายมากขึ้น
การวิจัยเบื้องต้น ที่มีการรายงานอย่างกว้างขวาง โดยนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ซึ่งการวิจัยยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า การวิเคราะห์วงจรชีวิต ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเนื้อวัวที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บนั้น แท้จริงแล้ว มีปริมาณการปล่อยก๊าซสูงกว่าการผลิตเนื้อวัวจากสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มมาก
การวิจัยพยายามที่จะหาต้นทุนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการดำเนินงานโรงงานเหล่านี้ เช่น การให้ความร้อนแก่อาหารเลี้ยงเชื้อที่เซลล์เติบโต เพราะส่วนผสมสำหรับอาหารเลี้ยงเซลล์ที่อุดมด้วยสารอาหารนี้ ซึ่งใช้เป็นอาหารของเซลล์เพาะเลี้ยง โดยอาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงเซลล์เหล่านี้ จะต้องผลิตมาจากโรงงานที่ไหนสักแห่ง และจำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มเติม เพื่อจะกวนและให้ความร้อนแก่เซลล์สัตว์ที่เพาะเลี้ยง เพื่อให้เซลล์สัตว์ได้เจริญเติบโต ซึ่งการเลี้ยงวัวหรือแกะตามฟาร์ม ไม่ต้องทำเช่นนี้
ลินช์ John Lynch จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด อธิบายให้ฉันฟังเมื่อเร็วๆ นี้ ตอนที่ฉันจัดทำรายการวิทยุเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงว่า ตอนนี้อาจจะยังเร็วเกินไป ที่จะเปรียบเทียบต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ของภาคส่วนเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยง กับภาคส่วนของการเกษตรแบบดั้งเดิม
อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงนี้พึ่งจะเริ่มต้น และจะมีการประหยัดต้นทุนได้ จากขนาดกำลังการผลิตให้มากขึ้นกว่านี้เมื่อมีการพัฒนามากขึ้นในอนาคต ซึ่งบริษัทที่เพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ อาจเพิ่มการรับรองด้านสิ่งแวดล้อม โดยการไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เพื่อเป็นพลังงานให้กับโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงของตน
อย่างไรก็ตาม บริษัทเหล่านี้บางแห่ง ได้ประกาศแล้วว่า ผลิตภัณฑ์ของตนมีความยั่งยืนมากขึ้น เราจะต้องมีข้อมูลเพื่อยืนยันคำกล่าวเหล่านั้น และสภาพแวดล้อมของเราก็ไม่เอื้ออำนวยที่จะอ้างว่า จะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างง่ายดายเช่นนี้
มีเหตุผลที่ดีที่เชื่อได้ว่า การผลิตเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยง จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการเลี้ยงและฆ่าวัวและแกะ แต่ดังที่ลินช์ชี้ให้ฉันเห็นว่า โดยเนื้อแท้แล้ว มันไม่เป็นผลดีต่อโลก แต่จะดีกว่าการผลิตทางการเกษตรทั่วไปเท่านั้น
และหากผู้คนต้องการรับประทานเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจริงๆ ประชาชนชาวสหราชอาณาจักร ก็ไม่ได้หิวกระหายนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้คนได้ตื่นตระหนกจากการรายงานข่าวเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรม
ในการรวบรวมการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามความคิดเห็น จากประชาชนผู้สัญจรบนถนนในเมือง คาร์ดิฟฟ์ แคว้นเวลส์ ประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งตอนที่เราทำรายการวิทยุ เราได้ยินเรื่องที่น่าสงสัยเกี่ยวกับเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงอย่างมากมาย เช่น “ไม่เป็นธรรมชาติ” และ “ไม่ใช่เนื้อจริง”
นอกจากนี้ เรายังได้เยี่ยมชมบริษัทเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในเมืองอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในแคว้นอังกฤษ ประเทศสหราชอาณาจักร เราได้สังเกตวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในวันนั้น ได้เห็นการแปรรูปเนื้อวัวอเบอร์ดีนแองกัส ซึ่งเพาะเลี้ยงเนื้อทั้งหมดนี้มาจากเซลล์ ที่คัดสรรมาเป็นพิเศษ โดยจะคัดมาเพาะเลี้ยงเฉพาะเซลล์ที่เป็น "เนื้อ" จริงๆ
ฉันไม่ได้รับอนุญาตให้ลิ้มรสเนื้อเพาะเลี้ยง ที่นี่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้มนุษย์บริโภคได้ ฉันยังคงกระตือรือร้นที่จะลอง แต่ฉันจะไม่แสร้งทำเป็นว่าจะช่วยโลก
ผู้เขียน : Victoria Gill
แปลไทยโดย : Wichai Purisa (senior scientist)
โฆษณา