Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รายการ ต้นรู้ โลกรู้ BY : Anurak News
•
ติดตาม
17 ต.ค. 2024 เวลา 18:20 • ประวัติศาสตร์
สำหรับกิจกรรม ล่องเมือง LEARN ชุมชนบ้านป่า
ถอดบทเรียนภูมินิเวศชุมชน
ชุมชนเเห่งความเป็นพหุวัฒนธรรม บริเวณ อ่อนนุช พัฒนาการ ประเวศ
เก็บความประทับใจไว้ตั้งเเต่วันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา
หลังจากนั้นก็นึกถึงเเต่การเรียนรู้ที่ได้รับจากชุมชน
ตัวผมเองขอสรุปประเด็นที่ได้เห็นเป็น 3 ด้าน โดยจะสะท้อนดังนี้
1. ด้านศาสนาเเละความเชื่อ ประกอบด้วย มุสลิม จีน (เทพเจ้าจีน) จีนที่นับถือศาสนาพุทธ กลุ่มนับถือผี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พบ เช่น ย่านาก ไอ้เเดงลูกย่านาก ต้นโพธิ์ เป็นต้น ตลอดจนความเชื่อของชาวพม่าต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระมหามัยมุนี เเละเทพทันใจ
ศาลเจ้าเเม่ทับทิม เเละโรงงิ้วเจ้าเเม่ทับทิม
ซึ่งมีทั้ง 3 รูปเเบบ มาตั้งเรียงรายอยู่บริเวณร้านขายของของชาวเมียร์นมา เทพทันใจไจ๊เข้า เทพทันใจนัตโบโบยี ทพทันใจซูเหล่ หากไปดู 3 เทพทันใจนี้อยู่ในเจดีย์ของพม่าคนละสถานที่กันเลย พร้อมทั้งในตลาดเราเห็นชาวพม่าที่มีเชื่อสายบังกลาดิส ขายเป็นผ้าเมตรตัดในตลาดอีกด้วย มีอีก 1
ความเชื่อของชาวพม่าที่พกมากับรูปที่เเขวนอยู่ในร้าน นั่นคือ นัต ชาวพม่าเชื่อว่านัต มาจากคําว่า นาถ ในภาษาบาลี หมายถึงผู้เป็นที่พึ่ง ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ เทวดา พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ สุริยเทพ จันทราเทพ อัคคีเทพ
หากจะมองเเบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นัต ก็คงจะเท่ากับการนับถือวิญญาณ หรือ ศาสนาผีนั่งเอง ในส่วนของศาสนาอิสลาม เราจะเห็นว่าพบในบริเวณที่มีเเหล่งน้ำเสมอ อาจเป็นเพราะ วิถีชีวิตของมุสลิมนั้น ต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิตเป็นวิถี เช่น การอบน้ำละหมาด 5 เวลา ใน 1 วัน การอาบน้ำคนตาย (ญะนาซะฮฺ)
ความเชื่อเรื่องของศาสนาผี นางนาก ไอ้เเดงลูกนางนาก
2. ด้านกลุ่มชาติพันธ์ุ เราจะเห็นว่ากลุ่มชาติพันธ์ุนั้นมักจะพกความเชื่อติดตัวมาเ้วยเสมอ เราจึงเห็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องปรับตัว ในความเชื่อตนเองเละเรื่องของการดำรงชีวิต เพื่ออยู่รอดผ่านการค้า การขาย กลุ่มชาติพันธุ์ต่างเท่าที่เห็นประกอบด้วย
2.1 ชาติพันธุ์เเขกมลายู ปรับตัวสร้างมัสยิดริมคลองตั้งชุมชนอยู่หลายหลัง อีกทั้งการเเต่งกายยังใส่โสร่ง โพกสะระบั่น เหน็บกริตในช่วงเเรก พร้อมทั้งมีการยกที่ดิน (วากัฟ) ทำเป็นโรงเรียนเพราะมีครอบครัวใหญ่อยากให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือ สันนิษฐานจากชื่อคนเก่าเเก่ในการตั้งชุมชนมัสยิด จากคำเรียกชื่อตามสำเนียงมลายู ซึ่งเพี้ยนเสียงมาจากคำอาหรับมาแล้วทอดหนึ่ง เช่น ดะรอแม (อับดุรเราะห์มาน), อารง (ฮารูน), มะ (มูฮำหมัด)
2.2 ชาติพันธุ์จีน จะพบบริเวณตลาดเดิมบริเวณอ่อนนุช เเต่ในปัจจุบันนั้นเห็นเเต่ผู้สูงอายุค้าขาย เเละประกอบอาชีพดั่งเดิม โดยมีเจ้าเเม่ทับทิมเข้ามาเป็นหัวใจเเละความเชื่อสำคัญ การมีโรงงิ้วก็เหมือนหากว่าเราให้เจ้าเเม่ได้ดูงิ้วเป็นภาษาจีน เพราะ สมัยก่อนมีเเต่ลิเก เเละลิเก้ป็นภาษาไทยเจ้าเเม่ฟังไม่ออก (สะท้อนเรื่องการปรับตัวของชาวจีน
กลุ่มชาวมุสลิมในพื้นที่
23. ชาวเมียร์นมา ซึ่งสันนิษฐานว่าเข้ามาช่วงหลัง จากที่คนจีนถอนตัวออกจากตลาดผ่านการเลิกกิจการ ไม่มีลูกหลานสานต่อ สำหรับพม่าถือเป็นทำเลที่สำคัญเลย เพราะนักธุรกิจพม่าจะมาเริ่มต้นมองธุรกิจที่ตลาดพม่าอ่อนนุช เดินทางสะดวก รถไฟฟ้าก็สามารถเดินทางได้ (มีเเต่เครื่องบูชาเเต่ไม่มีศาสนสถาน)
2.4 กลุ่มชาวลาวที่หลงเหลือเบาบางลง เพราะ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณคลองบางไส้ไก่เดิมฝั่งธนบุรี มีความหนาเเน่จึงมีชาวลาวบางส่วนอพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณชุมชนบ้านป่าบ้าง เเต่ในเวลาต่อมาย้ายไปตั้งรกรากตามศาสนสถานริมคลองเเสนเเสบอย่างวันมักกะสัน เป็นอีก หนึ่งชุมชนชาวลาวในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีองค์หลวงพ่อสัมฤทธิ์ประดิษฐาน
ภาพบรรยากาศบ้านเรือนริมชุมชน
3. ปัญหาที่จะส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่เเละชุมชน สำหรับประเด็นตั้งใจจะสะท้อนชุมชน บาหลีอ่อนนุช ที่สร้างบ้านเเบบเป็นเกาะกลางคลองตรงข้ามวัดมหาบุศย์ ต้องใช้เรือในการสัญจรเข้าบ้านออกบ้าน ตลอดสองฝั่งข้างคลองผมเห็นประเด็นด้านสุขภาวะ สุขลักษณะอนามัย พร้อมทั้งสายไฟฟ้าริมสองข้างทางที่เปลือยป่าวริมสะพาน
ในช่วงเเรกมีกลิ่นเเม่น้ำที่ไม่ค่อยเป็นมิตรนัก การจัดการขยะของชาวบ้านที่อาจเป็นประเด็นถึงสิทธิมนุษยชน ความอยู่รอด การนำขยะไปถมที่ดินริมคลองเพื่อลดต้นทุนในการใช้ ดิน หิน ถิมเพื่อเพิ่มเนื่้อที่ในการใช้ประโยชน์ใช้สอย
ตลาดในชุมชนเมียนร์มา ย่านอ่อนนุช
สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ผมอยากจะบอกว่า ชุมชนบ้านป่ามีการสันนิษฐานว่า ป่าน่าจะมากจากการเป็นพื้นที่ทั้งสองฝั่งรกครึ้มไปด้วยป่าไผ่ ป่ามะไฟ ป่าตะโก มะพลับ เป็นต้น หรืออีกหนึ่งนั่นคือ เมื่อมีการล่าของป่าชุมชนนี้เป็นตลาดเเลกเปลี่ยนสินค้าของดีที่ได้จากป่าที่สมบูรณ์ โดย สันนิษฐานมาจาก พ่อครัวหัวป่า หมายถึง พ่อครัวที่จะหาวัตถุดิบที่ดีมาประกอบอาหาร (ป่านี้น่าจะเป็นการเเลกเปลี่ยนสินค้า)
สุดท้ายนี้ที่ได้กล่าวมานั้นเป็นเพียงเศษเสี้ยวเรื่องราวหลากชาติพันธุ์ในบางกอกเท่านั้นก่อร่างเป็นบางกอก” ได้นำเสนอชาติพันธุ์ในบางกอกไว้อย่างละเอียด ลึกซึ้ง เห็นถึงความสัมพันธ์ ความสำคัญ ประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้อย่างแยบยล
#กรุงเทพเมืองผสมผสาน #ปะปน #ปรับตัว #เเยบยล #หลากหลาย
#หลอมรวม #พหุวัฒนธรรม #ครูสังคมศึกษา
#ก่อการครู
#ก่อการครูBangkok
#ก่อการครูBangkokXก่อการครูกาฬสินธุ์
#ล่องเมืองLearnชุมชน
อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม เขียนสะท้อนหลังการเรียนรู้
กรุงเทพมหานคร
ประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมพื้นเมือง
บันทึก
2
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย