Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฐานเศรษฐกิจ_Thansettakij
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
18 ต.ค. เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ดอกเบี้ยขาลง หุ้นตัวไหนเด่น...หุ้นตัวไหนเดี้ยง!!!
ไม่ว่าจะหวังช่วยบรรเทา “ภาระหนี้ประชาชน” หรือจะเป็นการ “ลดแรงกดดันทางการเมือง” แต่การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ทำเซอร์ไพรส์ตลาดฯ ด้วยมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี ก็มีผลทำให้สถานการณ์ของตลาดหุ้นของไทย ที่อยู่ในภาวะไร้ปัจจัยหนุนมาพักใหญ่ เริ่มกลับมามีชีวิตชีวาจนดัชนีขยับเข้าใกล้ระดับ 1500 จุดอีกครั้ง
4
ว่าแต่ว่านักวิเคราะห์ทั้งหลาย มีมุมมองอย่างไรต่อการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้บ้าง???
เริ่มจากนักวิเคราะห์ บล.กรุงศรี ประเมินการลดดอกเบี้ยฯ ทำให้ Equity risk Premium ตลาดหุ้นไทยกว้างขึ้นถึง 3.62% ใกล้ +1SD 4% (บวกลบ) จะทำให้ตลาดหุ้นเร่งขึ้น สู่ดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่ 1,540 จุด
โดยประเมินว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยในทุกๆ 0.25% เป็น Upside ต่อ SET Index ราว 45-50 จุด พร้อมกำหนดกลยุทธ์โดยเน้นหุ้นในธีมดอกเบี้ยขาลง ได้แก่ กลุ่ม Finance (เน้นจำนำทะเบียน และตามเก็บหนี้) กลุ่ม โรงไฟฟ้า กลุ่มเช่าซื้อ กลุ่มเครดิตการ์ด กลุ่มหนี้สูง กลุ่มอสังหาฯ และ หุ้นกลุ่ม High Yield
ทางด้าน บล.บัวหลวง มองว่า การลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ นอกจากนี้ยังสามารถลดความร้อนแรงของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก อีกทั้งยังจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องต่อการลงทุนด้วยเช่นกัน
โดยมอง target สิ้นปีจะอยู่ที่ 1,535 จุด แนะนำทยอยเพิ่มหุ้นเข้าพอร์ต ได้แก่ หุ้นต้นทุนทางการเงินลดลงจากการลดดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เช่น โรงไฟฟ้า กลุ่มซีพี REITs สินเชื่อบุคคล เก็บหนี้ อสังหา หุ้นในกลุ่มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ Mega project
ขณะที่ บล.หยวนต้า มองเหตุผลในการปรับลงดอกเบี้ยฯ โดยให้น้ำหนักไปที่เสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งจะไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ด้านมุมมองเศรษฐกิจยังขยายตัวใกล้เคียงกับ ธปท.เคยประเมิน ซึ่งได้มีการปรับ GDP 67/68 ให้สะท้อนความเป็นจริงยิ่งขึ้น
โดยคาดว่า GDP ในปี 67 จะขยายตัว 2.7% (จากเดิม 2.6%) และ GDP 68 ขยายตัว 2.9% (จากเดิม 3%) ด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567
ส่วนทาง บล.โกลเบล็ก ระบุว่า การลดดอกเบี้ยฯ ส่งผลให้แรงซื้อในหุ้นกลุ่ม Big Cap. กลับเข้ามา ขณะที่ราคาน้ามันดิบ WTI ยังกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบดัชนี 1,480-1,495 จุด แนะกลละยุทธ์การลงทุนหุ้นในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการซ่อมแซมหลังน้ำลด กลุ่มสินค้าส่งออกที่ยังเติบโต
กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากแผนลงทุน Data Center กลุ่มได้อานิสงส์ กกพ. เปิดประมูลพลังงานทดแทนรวม 2,180 MW (ลม 600 MW และแสงอาทิตย์ 1,580 MW) และหุ้นในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จาก กงน. ลดดอกเบี้ย
สรุปแล้วกลุ่มหุ้นที่นักวิเคราะห์คาดว่า มีโอกาสไปต่อประกอบไปด้วย
1. ต้นทุนทางการเงินลดลงจากการลดดอกเบี้ย เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า GULF GPSC BGRIM กลุ่มลีสซิ่ง MTC SAWAD TIDLOR HENG SAK กลุ่มเครดิตการ์ด KTC AEONTS กลุ่มหนี้สูง CPALL TRUE IVL และอสังหาฯ AP SIRI SC SPALI และหุ้นกลุ่ม High Yield เช่น ADVANC
2. หุ้นในกลุ่มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ Mega project เช่น คาสิโนฯ นิคมฯ ดาต้าเซ็นเตอร์ เวนคืนสัมปทานรถไฟฟ้า อาทิ WHA AMATA DELTA KCE HANA CCET GULF INTUCH TRUE INSET BTS VGI STEC CK MCOT
3. กลุ่มสินค้าส่งออกที่ยังเติบโต ITC AAI STA NER TEGH GFPT FM
4. กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการซ่อมแซมหลังน้ำลด TASCO DOHOME GLOBAL HMPRO DCC DRT TOA DPAINT
ส่วนหุ้นที่จะเสียประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง ซึ่งสำนักวิเคราะห์เลี่ยงที่จะพูดถึง คือ หุ้นกลุ่มธนาคารใหญ่ เช่น KBANK SCB BBL KTB และ TTB ทั้งนี้ก็เป็นเพราะในทุกๆ 0.25% ของดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น หรือลง จะมีผลกับรายได้ของธนาคารเฉพาะส่วนที่มาจากดอกเบี้ยราว 7-10% ต่อปี
ดังนั้น จึงทำให้ถูกมองว่า อานิสงส์จากดอกเบี้ยขาขึ้นที่เคยได้รับน้อยลง ส่วนหุ้นอีกกลุ่มที่ถูกมองว่า จะได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาลงก็คือ หุ้นกลุ่มประกัน เช่น TLI BLA AYUD TQM TIPH ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า รายได้หลักส่วนหนึ่งของบริษัทประกันภัยเหล่านี้ มาจากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรและเงินฝากนั้นเอง
อย่างไรก็ตาม เจ๊เมาธ์มีความเชื่อว่าหุ้นที่อยู่ในตลาดฯ ล้วนไม่มีกฎเกณฑ์ใดที่กำหนดเอาไว้ตายตัวว่า จะต้องขึ้นหรือลง ดังนั้น การที่มีหุ้นกระแสลบจึงไม่ได้หมายความว่าจะต้องรีบขายทิ้ง...หรือจะต้องรีบวิ่งเข้าไปรับหุ้นที่จะได้อานิสงส์จากดอกเบี้ยขาลงด้วยเช่นกัน
ของแบบนี้ไม่ต้องรีบ...รอจับจังหวะให้ได้ อย่างน้อยการมีหุ้นพื้นฐานที่ดีอยู่ในมือ ถ้าหากไม่ขายก็ไม่ขาดทุนเจ้าค่ะ อิอิอิ
1 บันทึก
9
1
1
9
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย