19 ต.ค. 2024 เวลา 04:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ถอดโมเดลลอนดอน เก็บค่ารถติด 600 บาทต่อวัน แก้ปัญหารถติด ได้จริงไหม ?

ไม่นานมานี้ มีข่าวว่ารัฐบาลไทย มีแนวคิด เก็บค่าธรรมเนียมรถติด คันละ 50 บาท บนเส้นสุขุมวิท สีลม รัชดา เพื่อเป็นงบนำไปซื้อคืนรถไฟฟ้า กลับมาเป็นของรัฐ เพื่อควบคุมค่าโดยสารให้ไม่เกิน 20 บาท
2
แต่รู้ไหมว่า ลอนดอนเป็นหนึ่งในเมืองที่เก็บค่าธรรมเนียมรถติดมาตั้งแต่ปี 2003 หรือเมื่อราว 20 กว่าปีก่อน
โดยปีที่แล้ว ลอนดอนเก็บค่าธรรมเนียมรถติดวันละ 650 บาท จนมีรายได้ 15,400 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
โมเดลเก็บค่าธรรมเนียมรถติดของลอนดอน ประสบความสำเร็จแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
20 ปีที่แล้ว ลอนดอนไม่ต่างอะไรจากกรุงเทพฯ
ที่เต็มไปด้วยปัญหารถติด โดยเฉพาะใจกลางเมือง
แม้ลอนดอน จะมีโครงข่ายรถโดยสารสาธารณะที่เชื่อมต่อกัน ทั้งรถบัส, รถไฟฟ้าใต้ดิน, แท็กซี่, รถราง หรือรถไฟก็ตาม
พอเป็นแบบนี้ ทำให้คุณ Ken Livingstone นายกเทศมนตรีคนแรกของลอนดอน ตัดสินใจเก็บ
ค่าธรรมเนียมรถติด สำหรับคนที่ขับรถเข้าใจกลางเมือง คันละ 5 ปอนด์ต่อวัน ในปี 2003
1
หวังลดระยะเวลาการเดินทางในพื้นที่รถติด โดยจะเอาเงินตรงนี้ไปปรับปรุงการให้บริการขนส่งสาธารณะ เพื่อให้คนหันมาใช้บริการตรงนี้แทนรถยนต์ส่วนตัว
1
ซึ่งเมื่อมีคนใช้บริการเพิ่มขึ้น หน่วยงาน Transport for London ของเมืองลอนดอน ก็จะมีรายได้จากการเก็บค่าโดยสารขนส่งสาธารณะมากขึ้นตามไปด้วย
จากนั้นเป็นต้นมา เมืองลอนดอนก็เริ่มปรับขึ้นค่าธรรมเนียมรถติดมาเรื่อย ๆ
1
จนปัจจุบัน มีค่าธรรมเนียมตรงนี้คันละ 15 ปอนด์ต่อวัน
หรือคิดเป็นเงินไทย ก็อยู่ราว 650 บาทต่อวันนั่นเอง
โดยเมืองลอนดอน จะมีกล้องบันทึกป้ายทะเบียนรถที่ขับเข้ามาในเขตเมือง จากนั้นก็จะบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้าเจ้าของรถไม่จ่าย ก็จะถูกให้เสียค่าปรับไปเรื่อย ๆ
1
ซึ่งหลังจากที่นโยบายนี้ออกมา แม้บรรดาร้านค้าในพื้นที่ได้ต่อต้านว่า ทำให้รายได้ธุรกิจลดลงบ้าง แต่ก็ช่วยลดปริมาณรถติดได้มากถึง 10% ในช่วงปี 2000-2012
2
อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ทุกช่วงเวลาที่ลอนดอน
จะเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เพราะในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ จะเก็บในช่วงเวลา 07.00-18.00 น.
2
ส่วนวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ก็จะเก็บค่าธรรมเนียมเฉพาะช่วงเวลา 12.00-18.00 น.
1
หรือพูดอีกอย่างคือ จะเก็บในชั่วโมงที่มีรถเยอะนั่นเอง
แต่เมืองลอนดอน ก็ยกเว้นกลุ่มที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรถติดด้วย เช่น คนพิการ, รถฉุกเฉิน, คนที่อาศัยอยู่ในเขตใจกลางเมือง, รถกู้รถเสีย, แท็กซี่ รวมไปถึงรถยนต์ไฟฟ้า ที่ได้รับการยกเว้นจนถึงปี 2025
1
และนอกจากค่าธรรมเนียมรถติดแล้ว รู้ไหมว่า เมืองลอนดอน ยังมีค่าธรรมเนียมมลพิษ โดยเรียกเก็บจาก
รถดีเซล รถเบนซิน หรือรถที่ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐาน
ซึ่งรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ที่ปล่อยมลพิษ จะต้องเสียเงิน 12.5 ปอนด์ต่อวัน (540 บาท)
และ 100 ปอนด์ต่อวัน (4,330 บาท) สำหรับรถขนาดใหญ่ เช่น รถบัสหรือรถบรรทุก
4
โดยจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมมลพิษตลอด 24 ชั่วโมง
ไม่ว่าจะเดินทางเข้ามาในช่วงเวลาไหนก็ตาม
2
แล้วที่ผ่านมา เมืองลอนดอนเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
และค่าธรรมเนียมมลพิษ มากแค่ไหน ?
3
ปี 2022 (ปิดงบวันที่ 31 มีนาคม 2022)
- ค่าธรรมเนียมรถติด 18,200 ล้านบาท
- ค่าธรรมเนียมมลพิษ 11,200 ล้านบาท
ปี 2023 (ปิดงบวันที่ 31 มีนาคม 2023)
- ค่าธรรมเนียมรถติด 15,400 ล้านบาท
- ค่าธรรมเนียมมลพิษ 25,800 ล้านบาท
2
เห็นได้ชัดว่า ลอนดอนเก็บค่าธรรมเนียมตรงนี้รวมกัน
ได้อย่างน้อยปีละ 30,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ในช่วงเดียวกัน รายได้จากค่าโดยสารขนส่งสาธารณะ เพิ่มขึ้นจาก 124,200 ล้านบาท กลายเป็น 174,500 ล้านบาท เรียกได้ว่า เพิ่มขึ้นถึง 40%
1
ซึ่งตรงนี้ ก็อาจมาจากการเปิดเมืองกลับมาเป็นปกติ ทำให้คนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้นตามเดิม
แม้ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว ในปี 2023 ขนส่งสาธารณะของลอนดอน ยังขาดทุนอยู่มากถึง 54,900 ล้านบาท
1
ซึ่งที่ผ่านมา ขนส่งสาธารณะของลอนดอน ยังจำเป็นที่ต้องได้รับเงินอุดหนุนจากเมืองลอนดอน มาอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงทางขนส่งเอง ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
ยังหารายได้จากหลายช่องทาง เช่น ป้ายโฆษณา,
ใบอนุญาตแท็กซี่, ค่าที่จอดรถ, ค่าเช่าพื้นที่ของตัวเอง
 
ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า การเก็บค่าธรรมเนียมรถติดของเมืองลอนดอน ก็เป็นโมเดลที่น่าสนใจในการใช้พัฒนาและจูงใจให้คนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบัน ก็ไม่ใช่แค่เมืองลอนดอนที่เดียว ที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมตรงนี้ เพราะยังมีสิงคโปร์ สวีเดน อิตาลี ที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เมื่อขับรถเข้าใจกลางเมือง
แต่ต้องหมายเหตุว่า อาจไม่ใช่ทุกเมือง ที่โมเดลนี้จะเวิร์ก เพราะต้องดูบริบทอื่น ๆ ของเมืองนั้น ๆ ด้วย เช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม, ระบบขนส่งสาธารณะ
ก็น่าสนใจว่า ถ้ากรุงเทพฯ มีการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดจริง ๆ
2
ถนนในกรุงเทพฯ จะเริ่มโล่งมากขึ้น
หรือจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เพราะคนยังมองว่า การใช้รถยนต์ส่วนตัว แม้ต้องเสียเงินมากขึ้น ก็ยังดีกว่าการใช้บริการขนส่งสาธารณะ ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกันเป็นระบบเลย..
5
โฆษณา