19 ต.ค. เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

แนวคิดเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล 2024

กับการอธิบายว่าทำไม 20% ของประเทศที่ร่ำรวยที่สุดมีรายได้มากกว่าประเทศที่ยากจนที่สุดถึง 30 เท่า
2
อ่านเนื้อหางานวิจัยที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากถ้อยแถลงของผู้ให้รางวัลในปีนี้แล้วสนุกและน่าสนใจมาก ๆ
1
เป็นงานวิจัยที่ตั้งคำถามว่า ทำไมบางประเทศจึงร่ำรวย ขณะที่บางประเทศยังคงยากจน งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า 20% ของประเทศที่ร่ำรวยที่สุดมีรายได้มากกว่าประเทศที่ยากจนที่สุดถึง 30 เท่า (ถ้อยแถลงอยู่ตรงลิงก์ในคอมเมนต์นะครับ)
3
➡️ ที่น่าสนใจเพราะงานวิจัยนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคอาณานิคมเพื่ออธิบายการเกิดขึ้นของสถาบันการเมืองและเศรษฐกิจที่มีผลให้ประเทศใดประเทศหนึ่งมีเศรษฐกิจที่ดีว่าอีกประเทศ
โดยการเกิดขึ้นของ ‘สถาบัน‘ ดังกล่าวนี้มองผ่านการหาผลประโยชน์ด้วยการเอาเปรียบของเจ้าอาณานิคม (ในบทความเรียกสถาบันแบบนี้ว่า Extractive Institutions) ผ่านตัวแปรต้น 2 ตัวแปร นั่นคือ ความหนาแน่นของคนพื้นเมืองในพื้นที่ และอัตราการตาย (จากโรคระบาด) ของเจ้าอาณานิคมในพื้นที่ที่มีผลต่อแนวทางการสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองที่แตกต่างกัน
5
➡️ งานวิจัยเป็นของ Daron Acemoglu, Simon Johnson และ James A. Robinson อธิบายว่าทำไมประเทศที่มีสถาบันครอบคลุมจึงสามารถสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้ ในขณะที่ประเทศที่มีสถาบันแบบเอารัดเอาเปรียบยังคงยากจนอยู่ในวงจรเดิม
1
➡️ ประเด็นสำคัญหนึ่งที่พาไปสู่การศึกษาเรื่องนี้คือ กรณีศึกษา ‘นิทานของสองเมือง’ (A tale of two cities) จากเมือง Nogales ที่ถูกแบ่งเขตระหว่าง Nogales ฝั่งสหรัฐฯ ในรัฐแอริโซนา และ Nogales ฝั่งเม็กซิโก ในรัฐโซโนรา
3
สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของคุณภาพชีวิตที่เกิดจากสถาบันที่มีความครอบคลุมแตกต่างกัน ทั้งสองฝั่งแม้จะมีสภาพภูมิประเทศ วัฒนธรรม และเชื้อชาติที่คล้ายกัน แต่ฝั่งสหรัฐฯ ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนผ่านสถาบันที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง ขณะที่ฝั่งเม็กซิโกต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนและอาชญากรรมสูง
การศึกษาเรื่องนี้ชี้ให้เห็นถึงพลังของสถาบันในการกำหนดคุณภาพชีวิตและอนาคตของประเทศ ซึ่งรูปแบบของการพัฒนาสังคมแบบนี้รากฐานมาจากยุคล่าอาณานิคมผ่านสองตัวแปรต้นดังต่อไปนี้
1
➡️ ตัวแปรแรกคือความหนาแน่นในประชากรในพื้นที่มีผลต่อแนวทางการออกแบบสถาบันเพื่อประโยชน์ของเจ้าอาณานิคมที่แตกต่างกัน
1
เจ้าอาณานิคมได้ตั้งสถาบันที่ต่างกันตามความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ที่พวกเขายึดครอง หากพื้นที่มีประชากรเบาบาง พวกเขาจะสร้างสถาบันที่ครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ตั้งถิ่นฐานทำงานและลงทุนในระยะยาว
1
แต่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น เจ้าอาณานิคมมักสร้างสถาบันที่เน้นการเอารัดเอาเปรียบ ใช้ประโยชน์จากแรงงานพื้นเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
2
➡️ ตัวแปรที่สองคืออัตราการเสียชีวิตของเจ้าอาณานิคม ในพื้นที่ที่โรคเขตร้อนรุนแรง เช่น บางส่วนของแอฟริกาและอินเดีย เจ้าอาณานิคมจะสร้างสถาบันที่เน้นการเอารัดเอาเปรียบและผลประโยชน์ระยะสั้น เพราะอัตราการตายสูงทำให้พวกเขาไม่สามารถสร้างสถาบันเพื่อการพัฒนาในระยะยาวได้ ในทางกลับกัน พื้นที่ที่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ เช่น นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มักจะมีสถาบันที่ส่งเสริมความเจริญในระยะยาว
7
➡️ ผลกระทบจากการสร้างสถาบันที่แตกต่างกันที่มีเหตุมาจากความหนาแน่นของคนพื้นถิ่นกับอัตราการตายของเจ้าอาณานิคมส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “การกลับด้านของโชคชะตา“ (Reversal of fortune) ในเวลาต่อมาที่อดีตอาณานิคมที่เคยยากจนที่สุดกลับกลายเป็นพื้นที่ที่ร่ำรวยที่สุดหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ขณะที่พื้นที่ที่เคยมั่งคั่งในยุคอาณานิคมกลับกลายเป็นพื้นที่ที่ยากจนลง
4
ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าสถาบันที่เจ้าอาณานิคมสร้างขึ้นในอดีตส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว โดยในบทความนี้เปรียบเทียบอินเดียกับอเมริกายุคก่อนหน้าที่อินเดียเจริญกว่าแต่เจ้าอาณานิคมอังกฤษกลัวภัยจากโรคระบาดเลยออกแบบสถาบันอีกแบบเพื่อขูดรีดคนท้องถิ่นในระยะสั้น จึงมีผลทำให้อินเดียด้อยพัฒนาในเวลาต่อมา
6
➡️ สถาบันที่เน้นการเอารัดเอาเปรียบยังคงอยู่เพราะชนชั้นนำที่ได้ประโยชน์จากระบบนี้ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง
5
➡️ แต่ความล้มเหลวในการให้คำมั่นสัญญาที่น่าเชื่อถือของชนชั้นนำยังสามารถอธิบายได้ว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้นได้บางครั้ง แม้ว่าประชาชนในประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจะขาดอำนาจทางการเมืองอย่างเป็นทางการ พวกเขายังมีอาวุธที่ชนชั้นนำเกรงกลัว นั่นคือพวกเขามีจำนวนมาก ประชาชนสามารถรวมตัวกันและกลายเป็นภัยคุกคามจากการปฏิวัติ แต่ความจริงคือการเคลื่อนไหวอย่างสันติอาจเป็นภัยคุกคามมากที่สุด เนื่องจากเปิดโอกาสให้ประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมการประท้วง
4
➡️ ในมุมทีมศึกษาหัวข้อนี้ เงื่อนไขที่ทำให้สถาบันการเมืองเกิดและเปลี่ยนแปลงมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1) ความขัดแย้งในการจัดสรรทรัพยากรและใครที่มีอำนาจในการตัดสินใจในสังคม (ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นนำหรือประชาชน)
2) โอกาสที่ประชาชนจะสามารถรวมตัวและกดดันชนชั้นนำได้ ซึ่งอำนาจในสังคมไม่ได้เป็นเพียงแค่อำนาจในการตัดสินใจจากชนชั้นนำเท่านั้น
3) ปัญหาความน่าเชื่อถือในการให้คำมั่นสัญญา เช่น ในการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อประโยชน์ของประชาชนที่อาจจะขาดความน่าเชื่อถือ ทำให้ชนชั้นนำต้องมอบอำนาจการตัดสินใจแก่ประชาชน
เขียนและเรียบเรียงโดย : ณัฐกร เวียงอินทร์
1
อย่าพลาดโอกาสที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณให้ดีขึ้น!
เตรียมพบกับ Make Rich Expo มหกรรมการลงทุนแห่งชาติ ที่จะพาคุณก้าวเข้าสู่โลกของการลงทุนที่ทันสมัยและเข้าใจง่ายกว่าที่เคย! ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หัดลงทุน หรือผู้ที่มีประสบการณ์ เรามีทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อสร้างความมั่งคั่งในอนาคต
เข้าร่วมงานฟรี!!
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้แล้ววันนี้ ที่ https://bit.ly/4dSTfcK
แล้วพบกันวันที่ 2 - 3 November 2024 เวลา 10.00 - 19.00 น. ณ Paragon Hall ชั้น 5 ศูนย์การค้า Siam Paragon
#aomMONEY #MakeRichExpo #WorkLifeFestival2024 #Nobel2024 #เศรษฐศาสตร์ #รางวัลโนเบล2024
โฆษณา