19 ต.ค. เวลา 11:31 • ข่าว
หาดทรายแก้ว

“ดร.เฉลิมชัย” ลงตรวจพื้นที่กัดเซาะหาดทรายแก้ว สั่งการกรมอุทยานฯ

จับมือกับ อบจ.ภูเก็ต เพื่อเร่งแก้ปัญหาทันที ลดความเดือดร้อนของประชาชน
วันนี้ (19 ตุลาคม 2567) เวลา 09.30 น. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่หาดทรายแก้วซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤตรุนแรง ในส่วนกลางและภาคใต้
รวมทั้งจังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่หาดทรายแก้ว ตำบลไม้ขาวอำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งเป็นระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร โดยมีนายเรวัต อารีรอบนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง บรรยายสรุป และ มีแนวทางการ ปักเสาหรือรั้วไม้ดักทราย(SAND FENCE) ที่รัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องดำเนินการในทันที
หรือรอไม่ได้ ส่วนในอนาคตนั้น อาจจะต้อง พิจารณา ปรับเปลี่ยนเส้นทาง ถนนเทพกระษัตรี สาย 402 ริมชายทะเลนี้ให้เหมาะสม ต่อไป ณ บริเวณหาดทรายแก้ว อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
สำหรับประเด็นปัญหา น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง เจ้าหน้าที่ระบุว่า เกือบทุกปีบริเวณหาดทรายแก้วจะได้รับผลกระทบจากคลื่นซัดฝั่งในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงได้ ทำให้เกิดคลื่นซัดฝั่ง น้ำทะเลเอ่อท่วมถนนเทพกระษัตรีขาออก หรือ ถนนสาย 402 ทำให้การสัญจรมีความยากลำบากทั้งนี้ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงได้ใน เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี เช่น ล่าสุด ในช่วงวันที่ 16 - 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา ช่วงเวลา 08.00 - 11.00 น.
ชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันมีน้ำทะเลหนุนสูง 3.00 -3.40 เมตร และ ช่วงเวลา 20.00 - 23.00 น. น้ำทะเลหนุนสูง 3.30 - 3.60 เมตรจากข้อมูลมาตราน้ำ น่านน้ำไทย พ.ศ.2567 กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ ซัดเข้าหาฝั่งจนน้ำเอ่อท่วมถึงถนน ซึ่งเป็นถนนเลียบชายฝั่งประกอบกับถนนเลียบชายฝั่งบริเวณนี้ออกแบบและก่อสร้างบนเนินทรายชายฝั่งจึงเป็นส่วนที่น้ำทะเลสามารถซัดขึ้นถึงได้ในช่วงฤดูนี้
อย่างไรก็ดี จากการสังเกต การณ์ในวันนี้พบว่า น้ำทะเล กัดเซาะชายฝั่งหาดทรายแก้วส่งผลทำให้ต้นสนทะเลโค่นล้ม เป็นแนวยาว หลายสิบต้น และร่องรอยโคนต้นสน กลายเป็นไปอยู่ใน ชายหาด น้ำทะเลท่วมถึงไปแล้ว ในปัจจุบัน และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ศึกษาความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งโดยวิเคราะห์จากปัจจัยด้านกายภาพ สมุทรศาสตร์ สังคมและ เศรษฐกิจ พบว่าบริเวณหาดทรายแก้ว มีความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งความเสี่ยงต่อการกัดเซาะสูงถึงสูงมาก
ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณ หาดทรายแก้ว ระบบหาดไม้ขาว มีความยาวระบบหาดประมาณ 16.81 กิโลเมตรแบ่งออกเป็น พื้นที่ประสบปัญหายังไม่แก้ไข (หาดทรายแก้ว) ระยะทางประมาณ 0.70 กิโลเมตร พื้นที่แก้ไขปัญหาแล้ว ด้วยวิธีปักเสาดักตะกอนบริเวณอุทยานสิรินาถระยะทาง 0.16 กิโลเมตร
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การคงไว้ซึ่งกระบวนการ ตามธรรมชาติ เพื่อปล่อยให้ชายฝั่งที่มีการกัดเซาะ ได้ปรับสมดุลเองส่วนการดำเนินการแก้ไขปัญหาในปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ใช้งบประมาณที่ได้รับจาก ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน จำนวน 4,789,000 บาทในระยะแรกเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร มาตรการและแนวทางการป้องกันและแท้ในปัญหา ยึดหลัก แนวทางการแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solution ระยะสั้นระยะกลางและระยะยาวป้องกันและลดผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่ง
โดยเริ่มต้นจากการปักรั้วไม้ดักทราย(SAND FENCE) เป็นมาตรการสีเขียวหรือมาตรการอ่อนเริ่มดำเนินการแล้ว โดย"กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช"รูปแบบการฝึกรั้วดักทรายแบบซิกแชก 2 แถว ไม้ยาว 3 เมตร ปักลึกลงไปทราย 2 เมตรโผล่เหนือทราย 1 เมตร ฟื้นฟูเนินทรายชายฝั่ง
โดยการ เติมทรายชายหาด (Beach Nourishment) หรือการเสริมเนินทรายชายฝั่ง (Dune Nourishment) ควบคู่ไปกับการปลูกพืชพื้นเมืองเนินทรายวางแผนและกำหนดการใช้พื้นที่ริมชายฝั่ง (CZM)กำหนดแนวถอยร่อน Set Back Zoneศึกษาและออกแบบสร้างถนนคู่ขนาน หรือ รื้อย้ายถบนเทพกระษัตรี เพื่อการคมนาคมสัญจรในอนาคตด้วย
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ 👇👇👇
#Phuketprice
#Phuketmeedee
#กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
#หาดทรายแก้ว
wasanaphuketprice
19-10-2024
โฆษณา