Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่าเรื่องรามเกียรติ์ จาก AI
•
ติดตาม
19 ต.ค. เวลา 11:45 • การศึกษา
รามเกียรติ์ ตอนที่ ๖ กำเนิดกากาศ-สุครีพ
ตอนนี้เราจะเข้าไปในป่ากันบ้าง ไปที่อาศรมของ “ฤๅษีโคดม” ฤๅษีโคดมตนนี้เคยเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาเกตมาก่อน แต่ก็สละบัลลังก์ออกบวชมาได้สองพันปีแล้ว นานจนหนวดเครายาวรุงรัง แถมมีนกกระจาบสองผัวเมียมาทำรังในเคราอีก
ฤๅษีโคดมนั่งบำเพ็ญเพียรมายาวนานจนหนวดเครายาวรุงรัง มีนกกระจาบมาทำรังในเครา
แล้ววันหนึ่งก็เกิดเรื่อง นกกระจาบสองผัวเมียเกิดทะเลาะกันเรื่องที่พ่อนกไม่ยอมกลับรังมาทั้งคืน เหตุเพราะไปนอนหลับในดอกบัวแล้วพอดอกบัวหุบก็ออกมาไม่ได้ ต้องรอตอนเช้าที่ดอกบัวบานถึงกลับออกมาได้ พ่อนกอธิบายยังไงแม่นกก็ไม่ฟัง พ่อนกเลยต้องสาบานว่า “หากตนทำผิดจริง ขอให้บาปขอฤๅษีโคดมจงมาตกที่ตน”
ฤๅษีโคดมได้ยินก็สะดุ้งสิ เพราะทั้งออกบวช บำเพ็ญเพียร แถมให้นกสองผัวเมียอาศัยอยู่แบบนี้ แล้วมันจะบาปได้ไง พ่อนกเลยบอกว่าก็เพราะฤๅษีโคดมสละบัลลังก์ออกบวชนี่แหละ ทำให้เมืองไม่มีผู้ปกครอง ประชาชนเดือดร้อน ฤๅษีโคดมก็เห็นว่า “เออ จริงว่ะ”
คราวนี้ฤๅษีโคดมเลยเสกสาวงามขึ้นมานางหนึ่งตั้งชื่อให้ว่า “นางกาลอัจนา” อยู่กินกันฉันผัวเมียจนมีลูกสาวชื่อ “สวาหะ”
(ภาพแรก) ฤๅษีโคดมชุบสาวงามขึ้นมานามว่า "กาลอัจนา" อยู่กินกันจนมีลูกสาวชื่อ "สวาหะ" (ภาพสอง)
วันหนึ่ง ฤๅษีโคดมไปหาผลไม้ในป่า พอดีกับที่พระอินทร์มองลงมาเห็นนางกาลอัจนาเข้าก็หลงรัก เลยลงมามีความสัมพันธ์ด้วย หลังจากนั้นนางกาลอัจนาก็ให้กำเนิดบุตรชายที่มีกายสีเขียว ฤๅษีโคดมก็ดีใจมากที่ได้ลูกชาย รักยิ่งกว่าลูกสาวเสียอีก
พระอินทร์ลงมามีความสัมพันธ์กับนางกาลอัจนา จนให้กำเนิดบุตรชายที่มีกายสีเขียว
พระอาทิตย์เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า พอมีจังหวะที่ฤๅษีโคดมเข้าไปหาผลไม้อีก ก็เลยลงมามีความสัมพันธ์กับนางกาลอัจนาอีกคนจนนางกาลอัจนาให้กำเนิดลูกชายที่มีกายสีแดง ฤๅษีโคดมก็ยิ่งปลื้มไปกันใหญ่
พระอาทิตย์ก็ลงมามีความสัมพันธ์กับนางกาลอัจนา จนให้กำเนิดบุตรชายที่มีกายสีแดง
แล้ววันหนึ่งก็เกิดเรื่องจนได้ คือวันนั้นฤๅษีโคดมพาลูกทั้งสามคนจะไปอาบน้ำ ให้ลูกพระอินทร์ขี่หลัง แล้วก็อุ้มลูกพระอาทิตย์เข้าเอว แต่ให้นางสวาหะที่เป็นลูกตัวเองเดินตามซะงั้น นางสวาหะก็อิจฉาน้อง บวกกับรู้อยู่แล้วว่าน้องไม่ใช่ลูกของฤๅษีโคดม เลยแกล้งพูดว่า “คนเราหนอคนเรา ลูกคนอื่นให้ขี่หลังบ้าง อุ้มเข้าเอวบ้าง แต่ลูกตัวเองกลับให้เดินตามต้อย ๆ”
ฤๅษีโคดมให้ลูกพระอินทร์ขี่หลัง อุ้มลูกพระอาทิตย์เข้าเอว แต่ให้สวาหะเดินเอง ทำให้สวาหะเกิดความอิจฉาน้อง พูดคำที่ทำให้ฤๅษีโคดมเกิดความสงสัย
ฤๅษีโคดมก็เอ๊ะทันที เลยถามนางสวาหะจนรู้เรื่องทั้งหมดว่านางกาลอัจนามีชู้กับพระอินทร์และพระอาทิตย์ ฤๅษีโคดมเลยจับลูกสามคนโยนลงน้ำ อธิษฐานจิตว่าใครที่เป็นลูกของตนขอให้กลับขึ้นมาเป็นคนเหมือนเดิม แต่ถ้าไม่ใช่ขอให้กลายเป็นลิง ว่ายน้ำหนีเข้าป่าไป
ฤๅษีโคดมจับลูกทั้งสามโยนลงน้ำ อธิษฐานจิตว่าคนไหนไม่ใช่ลูกตนให้โผล่กลับขึ้นมาเป็นลิง
แน่นอนว่าลูกพระอินทร์กับลูกพระอาทิตย์ต้องโผล่กลับขึ้นมาเป็นลิง ก็ว่ายน้ำหนีเข้าป่าไป ส่วนฤๅษีโคดมฟิวส์ขาด กลับมาที่อาศรม สาปให้นางกาลอัจนากลายเป็นหิน เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมา ก็ให้เอาหินก้อนนั้นถมทะเลทำเป็นถนนข้ามไปทำศึกกับยักษ์ด้วย
ลูกพระอินทร์กับลูกพระอาทิตย์กลับขึ้นมาเป็นลิงว่ายน้ำหนีเข้าป่าไป ทำให้ฤๅษีโคดมโกรธมาก สาปให้นางกาลอัจนาเป็นหินและต้องถูกกองทัพพระนารายณ์นำไปถมทะเลเป็นถนน
ก่อนคำสาปจะบังเกิดผล นางกาลอัจนาก็สาปนางสวาหะผู้เป็นลูกสาวบ้าง เพราะโกรธที่ไม่รู้บุญคุณเอาความลับของแม่ไปพูดจนโดนสาปแบบนี้ โดยนางสวาหะถูกสาปให้ต้องไปยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมที่เชิงเขาจักรวาล มีลูกเมื่อใดก็จะพ้นคำสาป หลังจากนั้นทุกอย่างก็เป็นไปตามคำสาป
นางกาลอัจนาสาปสวาหะให้ไปยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมที่เขาจักรวาล
ทางด้านลูกพระอินทร์กับลูกพระอาทิตย์ที่โดนสาปเป็นลิง ก็เดินรอนแรมไปในป่า พระอินทร์กับพระอาทิตย์เห็นก็สงสารลูกตัวเอง จึงคิดสร้างเมืองให้อยู่อย่างสมเกียรติ และเพื่อคุมกองทัพวานรรอพระนารายณ์อวตารมาปราบยักษ์ด้วย
ลูกพระอินทร์กับลูกพระอาทิตย์รอนแรมไปในป่า
เมื่อได้ชัยภูมิที่ดีแล้ว พระอินทร์กับพระอาทิตย์ก็สร้างเมืองให้กับลูกทั้งสอง ตั้งชื่อว่า “กรุงขีดขิน” ต่อมา ลูกพระอินทร์มีนามว่า “กากาศ” ส่วนลูกพระอาทิตย์มีนามว่า “สุครีพ” โดยกากาศได้เป็นกษัตริย์ ส่วนสุครีพเป็นอุปราช มีคาถาเรียกลิงป่าให้มาเป็นบริวาร เป็นเสนา อำมาตย์ พลทหารต่าง ๆ ในเมือง
(ภาพแรก) กรุงขีดขิน (ภาพสอง) กองทัพวานร (ภาพสาม) กากาศ เป็นกษัตริย์ครองกรุงขีดขิน (ภาพสี่) สุครีพเป็นอุปราช
กากาศมีสหายเป็นกษัตริย์วานรอีกเมืองหนึ่งนามว่า “ท้าวมหาชมพู” ครองกรุงชมพู ซึ่งท้าวมหาชมพูผู้นี้มีมเหสีรูปงามนามว่า “นางแก้วอุดร” แต่ไม่มีบุตร พระอิศวรจึงได้ประทานวานรสีดำที่เป็นบุตรของพระกาฬนามว่า “นิลพัท” ให้มาเป็นหลานของท้าวมหาชมพูคอยช่วยราชการต่าง ๆ
ท้าวมหาชมพู
นิลพัท
วรรณคดีไทย
รามเกียรติ์
ภาษาไทย
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย