19 ต.ค. เวลา 17:00 • ธุรกิจ

การเหมือนที่ไม่เหมือนของการบัญชีกับงบทางการเงิน!

การบัญชีกับงบทางการเงิน ทั้งสองอย่างนี้อาจจะมีอะไรที่เหมือนกันแต่จริงๆ แล้วทั้งสองอย่างแตกต่างอย่างสิ้นเชิง แต่ก็จะมีบางสิ่งที่จะเหมือนกันแต่ไม่สามารถเอาทั้งสองอย่างนั้นมารวมกันเป็นอันเดียวกันได้ แต่สามารถใช้คู่การได้
การบัญชี หมายถึง กระบวนการรวบรวม จดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ทางการเงิน จำแนก สรุปผลและจัดทำรายงานทางการเงินที่ใช้หน่วยวัดเป็นเงินตรา รวมถึงการแปลความหมายของรายงานทางการเงินเพื่อนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยว กับการดำเนินธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น
1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงาน ทางการเงิน (Accounting report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไป ของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
2. การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล
นัก ลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้าน การเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี เป็นต้น
หลักการบันทึกรายการทางบัญชี (Recording transaction) แบ่งเป็น 2 ระบบ
ระบบบัญชีเดี่ยว เป็นวิธีการบันทึกบัญชีเพียงด้านเดียวเท่านั้นคือ ด้านเดบิตหรือด้านเครดิต ระบบบัญชีเดี่ยวนี้จะบันทึกเฉพาะรายการในบัญชีเงินสด หรือ บัญชีที่สำคัญบางบัญชี เช่น บัญชีลูกหนี้หรือบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น โดยไม่ได้ใช้การบันทึกรายการตามระบบบัญชีคู่ที่ต้องบันทึกรายการบัญชีทั้ง ด้านเดบิตและเครดิต การบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีเดี่ยวนี้นิยมใช้ในกิจการขนาดเล็ก
ระบบบัญชีคู่ เป็นวิธีการที่ใช้ปฏิบัติในการบันทึกรายการบัญชีต่าง ๆ ประกอบด้วยรายการในสมุดรายวันทั่วไป รายการในสมุดบัญชีแยกประเภท ตลอดจนเอกสารหลักฐาน การบันทึกเหล่านี้มีระบบการและประเพณีปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้ได้กับทั้งกิจการขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะทำให้สามารถเสนอรายงานทางการเงินได้ถูกต้อง คือบันทึกด้านเดบิตบัญชีหนึ่งและบันทึกด้านเครดิตในอีกบัญชีหนึ่งด้วยจำนวน เงินที่เท่ากัน และจะมีผลทำให้เกิดดุลขึ้นในตัวเอง ในขณะเดียวกันก็จะทำให้ผลรวมของยอดบัญชีที่เกิดจากทุกรายการรวมกัน
การ บันทึกบัญชีจะใช้หลักระบบบัญชีคู่ ดังนั้นรายการค้าทุกรายการต้องบันทึกโดยเดบิตบัญชีหนึ่ง และเครดิตอีกบัญชีหนึ่งด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันเสมอ เรียกว่า บัญชีนั้นได้ดุลกัน แต่ในบางครั้งรายการค้าที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันมีหลายบัญชี อาจบัญชี อาจบันทึกบัญชีโดยเดบิตหรือเครดิตบัญชีหลายบัญชีรวมกันได้ เรียกว่า การรวมรายกา แต่จำนวนเงินรวมของเดบิตและเครดิตจะต้องเท่ากันเสมอ เมื่อนำมารวมกันจะเท่ากับยอดคงเหลือของแต่ละบัญชีที่มียอดดุลเครดิต ซึ่งเป็นไปตามหลักสมการบัญชีที่ว่า สินทรัพย์เท่ากับหนี้สินและทุนรวมกัน
งบการเงินคืออะไร
งบการเงิน (Financial Statement) คือรายงานทางการเงินและบัญชีที่แสดงถึงสถานะในการดำเนินงานและผลประกอบการของบริษัท สำหรับระยะเวลาแต่ละรอบบัญชี
งบแสดงฐานะการเงิน 3 ส่วนหลักได้แก้
1. สินทรัพย์
หมายถึง ทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ ซึ่งมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของบริษัทหรืออยู่ในรูปของการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อันจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดเข้าหรือลดกระแสเงินสดออกของกิจการในอนาคต เช่นกิจการผลิตสินค้า ใช้สินทรัพย์ในการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้านั้นและกิจการได้รับผลตอบแทนเป็นกระแสเงินสดเข้ามาและเป็นประโยชน์ต่อกิจการในการนำไปจัดหาทรัพยากรอื่นๆต่อไป
1.2 หนี้สิน
หมายถึง ภาระผูกพันของกิจการที่จะก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจของกิจการ ซึ่งกิจการต้องจ่ายชำระคืนให้แก่บุคคลภายนอก
1.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
หมายถึง ส่วนที่เป็นเงินลงทุนจากเจ้าของกิจการซึ่งอยู่ในรูปของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ รวมกับกำไรที่กิจการทำมาหาได้สะสมรวมกันในแต่ละปี โดยปกติกิจการจะกันกำไรสะสมไว้ส่วนหนึ่งและกำหนดจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นจากกำไรสะสมในรูปของเงินปันผล
2. งบกำไรขาดทุน
เป็นงบที่แสดงผลประกอบการของบริษัทว่ามีผลกำไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาหนึ่งๆเช่น ทุกไตรมาส ทุกรอบปี เป็นต้น งบกำไรขาดทุนประกอบด้วย
  • 1.
    รายได้
  • 2.
    ค่าใช้จ่าย
  • 3.
    กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
งบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ แสดงการกระทบยอดส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี ทุนที่ชำระแล้ว เปลี่ยนแปลงด้วยการเพิ่มทุน กำไรสะสมเพิ่มขึ้นด้วยกำไรสุทธิหรือลดลงด้วยการจ่ายเงินปันผล
4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน
เป็นข้อมูลที่แสดงเพิ่มเติมต่อจากข้อมูลที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของกิจการ เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่สำคัญ บุคคลกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นการแสดงรายละเอียดอธิบายรายการในงบการเงิน
5. งบกระแสเงินสด
งบที่แสดงการได้มาและใช้ไปของเงินสด ซึ่งแสดงสภาพคล่องของกิจการ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมได้แก่ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (Investing Activities) และกระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา (Financing Activities)
ข้อมูลอ้างอิง
ติดต่องานได้ที่
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
“การบัญชีเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางธุรกิจ”
“งบการเงินเปรียบเสมือนแผนที่ในการนำทางธุรกิจ”
Easy Finance

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา