20 ต.ค. เวลา 02:53 • ความคิดเห็น

โพสงานผี (Ghost Job)

พอดีตัวเองก็ชอบเข้าไปดูโพสตลาดแรงงานใน platform ที่เอาไว้หางาน และโพสงาน หลายครั้งแปลกใจบางบริษัทมีตำแหน่งที่เปิดหามายาวนาน เรียกว่า เปิดตลอดเป็นช่วงๆ 2-3 ปีก็ยังโพสไปเรื่อยๆ แต่ได้ยินว่าพอมีคนสมัครบ้างก็ไม่ได้รับข้อมูล, บ้างก็มีคนติดต่อกลับมาแต่เป็นเสนองานอื่นให้, บ้างก็ทำให้ HR (recruit) เหมือนมีงานทำมาโทร pre-screen เป็นต้น
พอไปอ่านๆ ดูมันเรียกว่า Ghost Job ค่อนข้างระบาดเยอะมากใน 3-4 ปีหลังในตลาดโลกโดยเฉพาะ บริษัทด้าน tech ทีนี้เรามาทำความเข้าใจกัน “Ghost Job” เป็นยังไง?
“Ghost Job” คือโฆษณาหางานที่ไม่ได้ตั้งใจไว้หางานตำแหน่งนั้นจริงๆ บางทีไม่ได้มีตำแหน่ง หรือ Headcounts ในบริษัทนั้น แต่การโพส Ghost Job ของบริษัทหลายบริษัทมีไว้หลายเหตุผล เช่น
* “เก็บข้อมูลตลาด” : บางทีโพสตำแหน่งสำคัญที่กำลังหา เพื่อจะได้เห็นข้อมูลว่าในตลาดจ้างตำแหน่งนั้น หรือคู่แข่งสำคัญจ้างงานในราคาเท่าไนในตลาด
* “ทำให้รู้สึกว่าบริษัทกำลังเติบโต” : การโพสงานเหมือนการโฆษณา เพื่อให้รู้ว่าบริษัทเหมือนจะขยาย (จริงๆ อาจมีไม่กี่คน)
* “กระตุ้นพนักงานภายใน” : บางทีวิธีการกระตุ้นให้พนักงาน โดยเฉพาะบริษัทที่สถานการณ์การเงินไม่ดี คือทำทีเหมือนเปิดรับอีกเยอะ ต้องขยายงานอีกเยอะ การโพสไม่ได้แปลว่าจะรับใหม่ แต่เพื่อเป็นหลักจิตวิทยาไม่ให้คนเก่าออก
* “สร้างฐานข้อมูลผู้สมัคร” : จริงๆ โดยเฉพาะช่วง Freeze หรือลดคน ในบางบริษัทเราก็เห็นเขาประกาศๆ เอาคนออก แต่งงไหม ทำไมใน platform หางานกลับเปิดรับคน บางส่วนอาจจะรับคนเงินเดือนต่ำมาจริง แต่หลายครั้งเอาไว้แค่ให้ HR recruit ที่ตอนนั้นอาจไม่ได้มีงาน recruit แต่แค่อยากรวมฐานข้อมูลไว้เผื่อ turnover ในอนาคตก็ได้
* “เปิดเอาไว้เผื่อเจอเพชรในตม” : บางทีไม่ได้เปิดตำแหน่ง แต่เปิดงานไว้ เผื่อเจอคนที่เป็น talent หรือคนเก่งมากๆ ซึ่ง why not ที่จะได้ data คนเหล่านี้มา
* “ลืมลบโพส” : บางทีบริษัทใหญ่มากๆ จะลืมโพสสมัครงานใน platform ต่างๆ เพราะบางที HR อาจจะลาออกไปแล้ว งานโพสก็ค้างไว้ เป็นต้น
* “แกงค์ call center หรือพวก Scam” เริ่มเข้ามาทำกันมากขึ้น เพื่อเอาข้อมูลเรา
ฝั่งคนที่จะสมัครงาน หลายคนที่ต้องการหางานแน่นอนใจจะต้องมีความเร่งด่วน ต้องการความหวัง อยู่ๆ เราจะเอาข้อมูล CV เราไปให้ใครแบบรัวๆ เราอาจต้องคิดนิด เพราะเราอาจติดกับดัก Ghost Job ดังนั้น วิธีการสังเกตุ Ghost Job ไหมมีดังนี้
* “ใช้ภาษาใน JD งานกว้างๆ” ลองดูใน JD ของ Ghost Job มักขาดรายละเอียดของบทบาทหน้าที่ หรือคุณสมบัติเฉพาะในงานนั้นๆ แบบที่ควรจะเป็น
* “งานนั้นเปิดไปเรื่อยๆ” กี่เดือน กี่ปี ก็ยัง re-open ให้สงสัยก่อนเลย ไม่บริษัท/หน่วยงานนนั้น turnover ตลอดเวลา ก็เป็น Ghost Job เพราะงานที่ดี fullfill แล้วมันยากจะเปิดไปเรื่อยๆ
* “ชื่อตำแหน่งที่เปิดจะเป็นชื่อว้าวๆ หรือตำแหน่งยอดฮิตในตลาด” : เช่น Product Owner, Head of “…” เป็นต้น เพื่อดึงดูดให้คนมา click applied ยิ่งตำแหน่งดูดี แฟนซี โอกาสจะได้ data คนเก่งก็จะยิ่งเยอะในมุมของคนโพส
* “บางทีมาในรูปแบบยิง Ads” : ให้ระวังการยิง ads ที่ target group มาที่เรา เพราะเราก็เหมือนสินค้าอย่างหนึ่ง ถ้าเราไม่รู้ว่าเป็น Ghost Jobs ก็อาจโดนล่อลวงได้
* “หาข้อมูลอื่นๆ” ถามคนในบริษัทนั้นๆ ถ้ารู้จักจะยิ่งดี ว่างานนั้นเปิดจริงไหม งานสำคัญเร่งด่วนยังไง
* “AI ช่วยได้นะ” ลองเขียน prompt ถาม opportunities ของงานที่เปิดในบริษัทนั้นที่สนใจดูได้ เป็นต้น
หลายๆ Career coach ในอดีต ชอบบอกให้สมัครงาน CV ในโลก digital เพราะง่ายมาในหลายๆ ปีที่ผ่านมา แต่โลกของ Ghost Job การสมัครงานใดๆ เรายิ่งต้องหาข้อมูล เพราะ CV และตัวเราจะกลายเป็นสินค้า/ข้อมูลในยุคนี้
#วันละเรื่องสองเรื่อง
โฆษณา