20 ต.ค. 2024 เวลา 06:56 • การเกษตร
ไร่ตะวันฉายเอสเตจ

โรคร้ายในทุเรียน 🦠🌳

คงหนีไม่พ่นเน่าคอดิน(ไฟท็อปเทอร่า) และเชื้อราชั้นสูงอย่างฟิวซาเรียม เจอก็ต้องดูแลรักษาในยามต้นทุเรียนอ่อนแอ มักพบโรคร้ายได้ 2 กรณี เชื้อราเกิดจากแมลงเป็นพาหะนำพา และสปอร์ปลิวตามลมในอากาศ ก็ก่อให้เกิดการติดเชื้อ และระบาดอย่างทั่วถึงได้
เจอต้องรีบรักษา อย่าปล่อยให้ลุกลาม เจออาการรอยจ้ำดำๆ เปลือกแตกยางไหล สังเกตได้เลยว่าเกิดการติดเชื้อราเข้าแล้ว พาหะนำพากรณีคือมดคาบสปอร์ของเชื้อราไปตามลำต้น ก่อให้ติดเชื้อ และเกิดอาการในกรณีข้างต้น
กรณีที่ 2 เกิดจากสวนใกล้เคียงที่ติดเชื้อรา ปลิวลอยผ่านอากาศ มาติดที่สวนของเราได้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จะเห็นก็ต่อเมื่อเกิดรอยแผล และแสดงอาการอย่างเห็นได้ชัด รอยแผลดำ เปลือกแตกยางไหล
วิธีรักษาเบื้องต้น พบเจอรอยดำ เปลือกแตกยาฃไหล ทำการขุดถาก เอาผิวเปลือกออก อย่างให้มีร่องรอยดำๆ สังเกตได้มีรูดำๆ คือรูมอด จากที่มดนำพาเป็นพาหะขึ้นไปยังลำต้น ขูดเปลือกโดยไม่ถึงเนื้อไม้ ขูดเอารอดดำๆออกให้จนหมด ไม่ว่ารอยดำกะลุกลามไปถึงตรงไหนของลำต้นก็ตาม ขุดออกให้เกลี้ยง ขณะที่ขูดควรหาผ้าใบรองใต้โดนต้นด้วย
ตัวยาที่ใช้หลักๆที่ใช้ประจำ หลักที่ขูดไรอดดำๆออกจนหมด 👇
ตัวยาชื่อสามัญ โพมาโพคาร์ป ไฮโดรครอไรด์ + เมทาแลตซิล อัตราผสม 50 กรัม ต่อน้ำ 2 ลิตร ผสมใส่กระบอกฉีด 2 ลิตร
ด่างทับทิม 10 กรัม ต่อน้ำ 2 ลิตร ผสมฉีดพ่นตรงแผลที่ขูด ไม่ผสมตัวยาร่วมกับตัวยาใดๆ ผสมเดี่ยวฉีดพ่น
ลองนำไปรักษากันดูครับ จากการที่ทดลองลองมาสักระยะ เชื้อไม่ลุกลาม บาดแผลค่อยๆแห้ง สมานเข้ากัน สร้างเปลือกใหม่ขึ้นมา แสดงว่าต้นทุเรียนแสดงอาการที่ไปในทางที่เป็นบวก
โฆษณา