20 ต.ค. เวลา 10:29 • สุขภาพ

“ภาวะสิ้นยินดี” อันตรายทางอารมณ์ ที่มีอยู่จริง

ปัจจุบันคำว่า “ซึมเศร้า” “Burn out” และคำอื่นๆที่หมายความถึงภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากทั้งพันธุกรรมและชีวิตประจำวัน กลายเป็นคำคุ้นหูที่พบเห็นได้และยินได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน
หลายคนพยายามทำความเข้าใจ หลายคนปล่อยผ่าน หลายคนนอกจากจะไม่ใยดีกับเรื่องเหล่านี้แล้ว ยังออกมาบริภาษในทำนองว่า เด็กสมัยนี้ความอดทนต่ำ ไม่สู้งาน อ่อนแอก็แพ้ไป และอีกหลายคำที่สรรหามีตีตราคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเดียวกันอย่างไร้หัวใจ
ขอให้รู้ไว้ว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะคนที่ห่างออกไปแสนไกล คนที่อยู่ใกล้ตัว หรือแม้แต่กับตัวคุณเอง ความเข้าใจในสาเหตุและการรับมือที่ถูกต้อง จะสามารถช่วยให้คนรอบข้างกลับมามีรอยยิ้มและใช้ชีวิตในสังคมต่อไปได้
ในทางกลับกัน ความเข้าใจผิดและการตอบสนองด้วยอารมณ์ ก็อาจรุนแรงยิ่งกว่าการใช้มีดแหลมเสียบแทงในหัวใจผู้ป่วยหลายร้อยครั้งเสียอีก ไม่ต่างจากการฆ่าคนตายโดยเจตนาเลย
ภาวะสิ้นยินดี หรือ Anhedonia เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนที่สำคัญของภาวะซึมเศร้า ภาวะสิ้นยินดีคือ ภาวะที่ปราศจากความรู้สึกเชิงบวกไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด ไม่ว่าจะเคยชอบกิจกรรมนั้นมากเพียงใด สุดท้ายก็จะรู้สึกเฉยๆ ทำให้มันผ่านๆ ไป ถ้าเป็นไปได้ ไม่ทำเสียดีกว่า แต่ความโหดร้ายคือ ความรู้สึกเชิงลบ ยังได้รับอย่างเต็มที่ และอาจปรากฎขึ้นแม้ได้รับการกระตุ้นเพียงเล็กน้อย ในกรณีของผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาที่เพียงพอ
1
ภาวะดังกล่าวเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบ Brain reward system ที่เชื่อมต่อการหลั่งสาร Dopamine เข้ากับศูนย์ประสาทที่ชื่อ Ventral striatum โดยสาเหตุสำคัญมาจากการอักเสบเรื้อรังของโครงสร้างบริเวณดังกล่าว จากหลายสาเหตุ เช่น มีการกระตุ้นระบบประสาทตื่นตัว หรือ sympathetic ตลอดเวลา จากความเครียดสะสม การทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ อาหารการกิน และสาเหตุอื่นๆ
1
ผศ.ดร.กุลยา เผยว่าร้อยละ 60 ของผู้ที่มีภาวะสิ้นยินดี มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น เพราะทั้งสองภาวะมีมีความเหมือนกันอยู่ 2 เรื่อง คือ อารมณ์ความรู้สึกทางลบ และสิ่งที่เคยทำให้รู้สึกชื่นชอบสบายใจ ไม่ได้ทำให้มีความสุขอีกต่อไป หากมีภาวะสิ้นยินดีบ่อย ๆ เราก็จะหมดความรู้สึกสนใจหรือพึงพอใจในการทำสิ่งที่ชื่นชอบ ดึงอารมณ์เชิงบวกได้ยากหรือไม่ได้ จนในที่สุดก็จะเหลืออารมณ์เชิงลบอย่างเดียว นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
การรักษาในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่จำเพาะ การรักษาทำได้โดยให้ยาควบคุมกับการทำจิตบัดบัดที่ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่แค่การฝึกวิธีคิดเพียวอย่างเดียว ร่วมกับการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้ภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วยแย่ลง
หากพบคนรอบตัวมีภาวะดังกล่าว อย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายไปก็ไม่ช่วยอะไร หมั่นสังเกตและทำความเข้าใจ ช่วยเติมพลังบวก ให้เขามาสนใจกับความสำเร็จเล็กๆ ที่รู้สึกว่าสำคัญ จุดไฟใสใจให้กลับมาอีกครั้ง และหากต้องการคำปรึกษา อาจพบแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม
โฆษณา