Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
22 ต.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โตนงาช้าง สงขลา
ว่านจุกเหลือง กล้วยไม้ดินชูช่อสวยงาม ในผืนป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง
ว่านจุกเหลือง Calanthe pulchra (Blume) Lindl.
วงศ์ : Orchidaceae ชื่ออื่น : ว่านพร้าวดอกเหลือง, เอื้องน้ำต้นมลายู
ว่านจุกเหลือง เป็น กล้วยไม้ดิน มี 2–6 ใบ รูปใบหอก ยาว 50–75 ซม. ปลายแหลมยาว โคนเรียวแคบเป็นก้านใบ ยาวได้ถึง 24 ซม. ก้านช่อดอกยาว 33–42 ซม. แกนช่อสั้นกว่าก้านช่อ ใบประดับรูปใบหอก ยาว 3–4 ซม. ขนาดลดหลั่นสู่ช่วงปลายช่อ ร่วงก่อนดอกบาน
ดอกสีเหลือง กลีบปากสีแดงอมส้ม กลีบเลี้ยงรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 1.3–1.8 ซม. ปลายมีติ่งแหลม กลีบดอกสั้นกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย กลีบปากปลายจัก 3 พู พูข้างรูปพัด ยาว 2–3 มม. พูกลางยาวประมาณ 6 มม. ปลายเว้าตื้น เดือยยาว 8–9 มม. ปลายม้วนงอคล้ายตะขอ เส้าเกสรยาว 5–7 มม. ก้านดอกรวมรังไข่ยาว 1–1.5 ซม.
พบในภูมิภาคมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของไทยที่นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล ขึ้นตามป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูง 300–1400 เมตร จากการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ พบพืชชนิดนี้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา โดยว่านจุกเหลืองต้นในภาพบริเวณที่พบเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าควนเขาวัง ป่าคลองต่อ และป่ายอดเขาแก้ว สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 588 เมตร
ข้อมูล: สารานุกรมพืชในประเทศไทย กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
ที่มา : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา)
#ว่านตุกเหลือง #กล้วยไม้ดิน #กรมอุทยานแห่งชาติ #เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง #สงขลา
ดอกไม้
ธรรมชาติ
ท่องเที่ยว
บันทึก
7
5
7
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย