Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณิชารีย์ มีเวลา
•
ติดตาม
20 ต.ค. เวลา 14:53 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
เป้าหมาย มีไว้พุ่งชน
ถึงเวลาต้องอธิบายที่มาของภาพ cover ของ page เพื่อลดความแปลกประหลาดลงสักหน่อย
ก่อนจะอธิบายว่าภาพแมลงบนโถปัสสาวะเกี่ยวยังไงกับ behavioural science ขอท้าวความถึงหนังเรื่องนึงที่ผู้เขียนมองว่าสะท้อน concept ของวันนี้ได้ดีมากๆ
The Swimmers (2022)
The Swimmers เป็นเรื่องราวอิงเรื่องจริงที่ค่อนข้างกินใจของ Yusra Mardini นักกีฬาว่ายน้ำดาวรุ่งทีมชาติหญิงชาวซีเรียที่ถูกสงครามบีบให้ต้องเดินทางข้ามทวีปไปลี้ภัยในยุโรป
Spoiler alert: ใช่ หลังจากฝ่าฟันอุปสรรคในการเดินทางข้ามทะเลอย่างทรหด สุดท้ายเธอก็เดินทางไปถึงเยอรมันโดยปลอดภัย ได้เจอโค้ชใจดียื่นมือมาสนับสนุน และได้กลับมาเริ่มต้นเส้นทางนักกีฬาของเธอใหม่ จนได้เหรียญจากการแข่งโอลิมปิกในที่สุด
การที่เธอสามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่หนักหนาขนาดนี้ และก้าวสู่เวทีโลกอย่างผู้ชนะ ช่วยทวีคูณความกินใจของหนังเรื่องนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ที่ผู้เขียนมองว่าน่าสนใจยิ่งกว่า… คือเรื่องราวของผู้ร่วมเดินทางของเธอ โดยเฉพาะลูกพี่ลูกน้องชายซึ่งเดิมเป็นนักศึกษาวิศวะปี 1 และพี่สาวนักว่ายน้ำ ที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
ถ้าว่ากันตามจริง ทั้งสามคนมีความถนัดต่างกัน และ ณ จุดที่พวกเค้าเริ่มออกเดินทาง ความน่าจะเป็นที่แต่ละคน “รุ่งเรือง” ก็ไม่ได้ต่างกันมากมาย พวกเค้ามีพื้นฐานและต้นทุนชีวิตที่ใกล้เคียงกันมาก
แต่ในหนังเราได้เห็นว่าหลังจากการผจญภัยบนท้องทะเลจบลง สลับฉากมาเป็นช่วงสร้างชีวิตใหม่ในยุโรป ทั้งสองคน ปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ได้อย่างยากลำบากกว่า Yusra
Nizar ลูกพี่ลูกน้องของ Yusra Mardini
แน่นอนว่าเราสามารถอธิบายความแตกต่างนี้ด้วยเหตุผลอะไรก็ได้ ตั้งแต่โชคชะตาที่ช่วยให้ Yusra ได้เจอกับโค้ชที่หยิบยื่นโอกาสให้เธอ ไปถึงโอกาสในฐานะผู้ลี้ภัยที่แตกต่างกันในแต่ละสายอาชีพ ที่สุดแล้ว คำตอบคงเป็นทุกๆ เหตุผลที่คุณพอจะคิดออก ผสมโรงรวมกันเป็นแรงผลักดันของธรรมชาติที่ยิงอนาคตของฮีโร่ในเรือผู้ลี้ภัยทั้งสามให้ไปได้ใกล้ไกลไม่เท่ากัน
แต่ข้อสังเกตนึงที่ผู้เขียนมองว่าน่าสนใจในเชิง behavioural science คือ… เมื่อเทียบกันแล้ว Yusra มีเป้าหมายที่ชัดเจนที่สุด
…เหรียญทองโอลิมปิก…
ชัดเจนตั้งแต่แรก
ชัดเจนตั้งแต่ก่อนที่เท้าเธอจะเหยียบประเทศเยอรมันเสียอีก
ใจของเธอล็อกไปที่เป้า จากนั้นร่างกายเธอจึงค่อยๆ ก้าวกระเถิบเข้าหาเป้าหมายนี้ ทุกวันๆ ไม่ได้หยุด
ทุกๆ วัน โดยไม่เสียเวลาพร่ำเพรื่อให้กับอะไรอย่างอื่นเลย ในขณะที่พี่สาวและลูกพี่ลูกน้องของเธอกำลังมองซ้ายมองขวาในสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมให้ตัวเอง
กลับมาที่โถปัสสาวะ…
ตั้งแต่ช่วงปี 1990s Aad Kieboom เกิดไอเดียว่าถ้าคุณผู้ชายทั้งหลายมี “เป้า” ให้เล็งขณะถ่ายเบาแล้ว บางทีอัตราการยิงเข้าเป้าในห้องน้ำชายอาจสูงขึ้น
เขาทดลองไอเดียนี้จริงด้วยการแปะสติ๊กเกอร์รูปแมลงวันในโถปัสสาวะชาย ที่สนามบิน Schiphol เมือง Amsterdam และพบว่า… เพศชาย เป็นเพศที่ไม่ซับซ้อน เมื่อมีเป้าให้เล็ง ก็เล็งจริงๆ
Kieboom พบว่าค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดห้องน้ำชายลดลงถึง 8%
Richard Thaler นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเจ้าของรางวัลโนเบลเรียกเจ้าแมลงวันในโถปัสสาวะ ว่าเป็นตัวอย่างการ nudge (การพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์โดยที่ไม่ลดทอนทางเลือก) ที่เค้าชอบมากที่สุด
ข้อคิดสั้นๆ ในหนึ่งประโยคคือ… เป้าหมายมีไว้พุ่งชน
ถ้าคุณอยากเรียนให้ดีขึ้น หรืออยากก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ในระยะเวลาสั้นที่สุด สิ่งแรกที่คุณควรทำคือกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน พร้อมกับกำหนดกรอบเวลา
ไม่ใช่แค่ดีขึ้น หรือเก่งขึ้น …แต่เป็น "จนทำ x ได้ภายในเวลา y" ยิ่งชัดเจนยิ่งดี
เมื่อล็อกเป้าแล้ว คุณก็ค่อยๆ ก้าวไปหามัน และลืมอะไรก็ตามที่ไม่ได้ช่วยให้คุณเข้าใกล้เป้านี้มากขึ้นไปเสีย ผู้เขียนเรียกสไตล์การไปถึงเป้าแบบนี้ว่า “sprint mode” คือเราวิ่งระยะสั้น ให้เร็วที่สุด
แต่ๆๆๆๆ ไม่ใช่ว่าการอยู่ใน sprint mode ไปเรื่อยๆ เป็นยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดนะ
เรามองว่า คุณต้องสลับไปมาระหว่างการวิ่งระยะสั้นแบบพุ่งชนเป้าหมาย กับการถอยหลังออกมามองภาพใหญ่ว่า **เป้าหมายถัดไปควรเป็นอะไร**
ตอนเด็กๆ พ่อแม่ หรือสังคมเป็นคนทำหน้าที่วางเป้าพวกนี้ให้ และหน้าที่เราคือ “sprint” ไปให้ถึง ตัวชี้วัดในช่วง 20 ปีแรกของชีวิตทุกคนจึงอยู่ที่ความสามารถในการพุ่งเข้าชนเป้าหมาย โดยที่คนส่วนใหญ่ ก่อนจะก้าวเท้าออกจากระบบโรงเรียน ไม่ได้รู้มาก่อนเลยว่าที่คุณถูกเทรนมาให้ทำเนี่ย… มันแค่ครึ่งนึงของเกมในโลกความเป็นจริงเท่านั้น
ไว้วันหน้ามีเวลาอีก จะมาขยายความครึ่งเกมหลังให้ฟังกันเพิ่ม :)
ปล. หนังเต็มๆ ดูได้ใน Netflix ดีมากๆ แนะนำค่ะ
Reference:
https://www.washingtonpost.com/news/wonk/wp/2017/10/09/whats-a-urinal-fly-and-what-does-it-have-to-with-winning-a-nobel-prize/
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
ความรู้รอบตัว
แนวคิด
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย