21 ต.ค. 2024 เวลา 11:31 • การเมือง

ทำไมลูกหลานรัสเซียถึงไม่ลุกฮือขึ้นต้านระบอบปูติน

และมันมีความหมายอย่างไรต่ออนาคตของพวกเขาและรัสเซีย
สรุปเนื้อหาจากบทความต้นเรื่องบน Foreign Affairs ที่ชื่อว่า “Putin’s Children” เผยแพร่เมื่อ 15 ตุลาคม 2024 เขียนโดย อันเดรย์ โดเรสนิคอฟ นักวารสารศาสตร์ชาวรัสเซียและผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองรัสเซีย (แต่ทำงานให้สถาบันฝั่งตะวันตก) เขายังเป็นสมาชิกของสภาที่ปรึกษาด้านกิจการระหว่างประเทศของฟินแลนด์
คนรัสเซียที่เกิดหลังปี 2000 เป็นต้นมา หลังเยลต์ซินมอบอำนาจให้ปูตินปกครองรัสเซียต่อจากเขา ชาวรัสเซียจะเรียกเจนนี้กันว่า “Putin’s Children” ตามชื่อบทความต้นเรื่อง
เครดิตภาพ: TIME
มากกว่าสองปีครึ่งแล้วหลังจากที่ประธานาธิบดีปูตินเริ่ม “ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน” ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเยาวชนรัสเซียชัดเจนขึ้น ที่บ้านพวกเขาต้องเผชิญกับการปลูกฝังความคิดและข้อจำกัดที่มากขึ้นต่อเสรีภาพของพวกเขา หลายคนพยายามเบี่ยงเบนความสนใจจากความเป็นจริงใหม่นี้ โดยไม่ใส่ใจมันมากเกินไป มีเพียงส่วนน้อยที่แสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผย เช่น พยายามจุดไฟเผาศูนย์รับสมัครทหาร บางครั้งก็ถูกลงโทษจำคุกแม้ว่าพวกเขาจะมีอายุน้อยก็ตาม
การรับใช้ชาติเป็นทหารซึ่งบังคับใช้กับชายรัสเซียทุกคนที่อายุระหว่าง 18 ถึง 30 ปีที่ไม่ได้เข้าเงื่อนไขได้รับการยกเว้นจากกองทัพ กลายเป็นเรื่องที่ตึงเครียดเป็นพิเศษ แม้ว่าตามกฎหมายแล้วผู้ที่ถูกเกณฑ์ทหารตามรอบปกติ (ซึ่งต่างจากอาสาสมัคร ทหารรับจ้าง และผู้ที่ถูกเรียกระดมพลโดยเฉพาะจากทางการ) จะไม่สามารถลงเอยเข้าไปอยู่ในเขตสงครามได้
แต่ไม่ใช่เยาวชนชายรัสเซียทุกคนในปัจจุบันที่เชื่อว่ากองทัพจะทำตามเงื่อนไขกฎข้อนี้เสมอไป กล่าวอีกนัยหนึ่งคุณลักษณะพื้นฐานของความย้องแย้งคือ ปูตินและฝ่ายปกครองระดับสูงของเขาที่อายุมากกำลังตัดสินใจให้พวกเขา (เยาวชนรุ่นใหม่) ไม่เพียงแค่ว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไร แต่ยังรวมถึงจะสั่งให้มีจุดจบอย่างไรกับคนรุ่นใหม่อีกด้วย
1
เครดิตภาพ: TIME
เยาวชนรุ่นใหม่ของรัสเซียที่เกิดหลังปี 2000 พวกเขาเกิดมาก็รู้จักเห็นหน้าแต่ผู้นำคนเดียวคือ “ปูติน” พวกเขาไม่เคยสัมผัสกับประชาธิปไตย (แบบที่โลกตะวันตกต้องการให้เป็น) หรือแม้แต่ผู้นำหน้าใหม่ พวกเขายังได้เรียนรู้ข้อดีของการยอมตามคนอื่นด้วย ยอมถูกกดขี่ แต่ทว่าระบอบการปกครองของปูตินยังใช้รางวัลมากมายเพื่อให้ชาวรัสเซียรุ่นใหม่ยังคงจงรักภักดี รวมถึงการเสนอสิทธิพิเศษให้กับผู้ที่รับใช้ในกองทัพ และยังพยายามใช้การเคลื่อนไหวของเยาวชนผู้รักชาติและโซเชียลมีเดียเพื่อหล่อหลอมทัศนคติของพวกเขา
ผู้สังเกตการณ์ภายนอกรัสเซียมักคาดการณ์กันว่า เด็กรัสเซียรุ่นใหม่ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของปูติน และการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศจะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจโดยคนรุ่นหลัง เยาวชนเหล่านี้ไม่เคยสัมผัสกับชีวิตในยุคสหภาพโซเวียต
2
พวกเขาเติบโตมากับพรมแดนที่เปิดกว้างและเริ่มรับค่านิยมเรื่องทุนนิยมจากโลกเสรี ในยุคที่สิทธิและเสรีภาพของบุคคลเป็นเรื่องปกติ หากคนหนุ่มสาวรัสเซียเหล่านี้สามารถกุมบังเหียนอำนาจได้ ทุกอย่างที่คนรุ่นยุคโซเวียตอย่างปูตินได้ก่อร่างสร้างมาก็คงจะเปลี่ยนไปจากเดิม
นี่คือสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่คนรุ่นใหม่ในรัสเซียจะไม่เปลี่ยนบรรยากาศทางการเมืองในประเทศหรือลักษณะนิสัยของผู้นำโดยอัตโนมัติ มันง่ายเกินไป การเปลี่ยนแปลงมันมีปัจจัยมากกว่าแค่เรื่องอายุ แต่เป็นเรื่องของความคิดและพฤติกรรม เป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม
ในสองปีครึ่งของความยุ่งยากจากสงครามในยูเครนนี้ ระบอบปูตินได้นำรัสเซียกลับไปสู่พฤติกรรมและ “ความคิดแบบยุคสตาลิน” แต่ระบอบการปกครองของปูตินจะไม่สามารถควบคุมคนรุ่นใหม่ของรัสเซียได้ครอบคลุมทั้งหมด นั่นหมายความถึงเด็กนักเรียนในปัจจุบัน (เพราะพวกเขามีโอกาสรับสื่อจากโลกตะวันตกมากกว่า)
1
เครดิตภาพ: TIME
ผู้เขียนต้นเรื่องสรุปส่งท้ายว่า คนหนุ่มสาวชาวรัสเซียจำนวนมากจำเป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะทำสองสิ่งพร้อมกันคือ ปรับตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์ของระบบทางการแต่ในใจก็เก็บความคิดอีกแบบหนึ่งไว้ ในที่สุดเมื่อสภาพแวดล้อมทางการเมืองภายนอกเปลี่ยนไป จิตสำนึกคู่ขนานของพวกเขาอาจทำให้พวกเขาปฏิเสธระบบที่กดขี่ที่พวกเขาคุ้นเคยอยู่ก็เป็นได้
1
แม้ว่าสถานการณ์นี้จะดูสดใสและห่างไกลจากความเป็นจริงในขณะนี้ แต่ก็มีแนวโน้มเป็นไปได้มากกว่าทฤษฎีง่ายๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านในสังคมระหว่างคนรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ ในอนาคตสถานการณ์ดังกล่าวอาจนำไปสู่การทำให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตยตามที่โลกฝ่ายเสรีต้องการ
1
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
21st Oct 2024
  • เชิงอรรถ:
<ภาพปก: เยาวชนรัสเซียผู้รักชาติถือภาพทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างการเดินขบวนในวันแห่งชัยชนะประจำปี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันครบรอบการพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมนีในปี 1945 ภาพถ่ายในกรุงมอสโกเมื่อ 9 พฤษภาคม 2017 เครดิต: TIME>
1
โฆษณา