22 ต.ค. เวลา 10:27 • การเมือง

การเลือกตั้งประธานาธิบดี และ “ผลประชามติการเข้าร่วมอียู” ของมอลโดวา

ไม่เป็นดั่งใจหวังของฝ่ายตะวันตก ท่ามกลางการกล่าวหาซึ่งกันและกันว่า “ถูกอีกฝ่ายครอบงำ”
การลงประชามติขอความเห็นจากประชาชนเรื่องขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป “แบบไม่มีผลผูกพัน” ในประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรเพียง 2.5 ล้านคน ของ “มอลโดวา” ซึ่งกลายเป็นสมรภูมิชิงอิทธิพลระหว่าง “รัสเซีย” และ “ชาติตะวันตก” ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาเรื่องการแทรกแซงจากต่างชาติกับทั้งสองฝ่าย – อ้างอิง: [1]
มอลโดวาซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตจนกระทั่งถึงกาลล่มสลายในปี 1990 ได้ประกาศตนเป็นเอกราช แต่ทว่าก็กลับเข้าไปพัวพันกับสงครามกลางเมืองนานสองปีหลังประกาศแยกตัวกับโซเวียต (ช่วงปี 1992) นั่นคือ “ทรานส์นีสเตรีย” ดินแดนฝั่งตะวันออกที่ติดกับยูเครนซึ่งประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย หลังจากการอพยพตั้งถิ่นฐานในทรานส์นีสเตรีย พื้นที่ดังกล่าวก็อยากจะแยกตัวออกจากมอลโดวาและยังคงขอซบอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรัสเซีย - อ้างอิง: [2]
1
จริงแล้วนอกเหนือจากทรานส์นีสเตรียก็ยังมี “กาเกาเซีย” ที่อยู่ทางตอนใต้ของมอลโดวา ซึ่งเป็นดินแดนที่ฝักไฝ่โซเวียตเดิมเช่นกัน แต่ส่วนกาเกาเซียนี้ได้ถูกยุบไปเมื่อปี 1996 เหลือแต่ทรานส์นีสเตรียที่ยังมีข้อพิพาทคาราคาซังกับมอลโดวาใหญ่อยู่จนถึงตอนนี้ รายละเอียดความขัดแย้งทางการเมืองภายในมอลโดวาแตกออกเป็น 3 ฝ่าย ในช่วงปี 1992 หลังโซเวียตล่มสลาย สามารถดูได้จากแผนที่ด้านล่างนี้
เครดิตภาพ: r/Maps - TheTrueChrisMopper
มอลโดวาได้จัดตั้งรัฐบาลที่สนับสนุนสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2021 โดยประธานาธิบดี “ไมอา ซานดู” ซึ่งกำลังหาเสียงเลือกตั้งเพื่อหวังเข้ามาในวาระสมัยใหม่โดยจัดในวันเดียวกันกับการลงประชามติเพื่อขอความเห็นเข้าร่วมสหภาพยุโรป เธอได้กล่าวหากลุ่มอาชญากรและกองกำลังต่างชาติว่าเข้ามาแทรกแซงประเทศของเธอด้วย “เงินหลายสิบล้านยูโร คำโกหก และการโฆษณาชวนเชื่อ” เพื่อหวังเปลี่ยนทิศทางคะแนนเสียงในมอลโดวา
ซานดู เธอนำการเลือกตั้งในรอบแรกด้วยคะแนนเสียง 42% กล่าวว่า “มีหลักฐานชัดเจนว่า ‘กลุ่มอาชญากร’ พยายามซื้อคะแนนเสียงจำนวน 300,000 ถือว่าเป็นการโกงในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับมอลโดวา” ตามกฎหมายของมอลโดวาผู้สมัครประธานาธิบดีต้องได้คะแนนเสียงเกิน 50% จึงถือว่าชนะได้รับเลือก ดังนั้นเธอจะต้องเผชิญหน้ากับ “อเล็กซานเดอร์ สตอยอาโนกโล” อดีตอัยการสูงสุดที่เป็นโปรรัสเซีย ซึ่งได้อันดับสองด้วยคะแนนเสียงประมาณ 26% ในการเลือกตั้งรอบสองในวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้
อ้างอิง: [3]
ไมอา ซานดู (ซ้าย) อเล็กซานเดอร์ สตอยอาโนกโล (ขวา) เครดิตภาพ: REUTERS - Vladislav Culiomza / Facebook / collage RFI
ส่วนทางฝั่งรัสเซียก็กล่าวหาว่า การลงคะแนนสนับสนุนซานดูและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปนั้น “เป็นไปโดยกลไกที่ถูกเซ็ตไว้แล้วและยากที่จะอธิบาย” และมี “ความผิดปกติไม่โปร่งใส” - ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าวว่าแม้จะมีเรื่องนี้และการแทรกแซงอื่นๆ แต่ก็น่าสังเกตที่ว่า “เธอไม่สามารถชนะคู่แข่งได้เด็ดขาดและจำเป็นต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง” “ส่วนเรื่องประชามติเข้าร่วมสหภาพยุโรป เสียงส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย” - อ้างอิง: [4]
  • สรุปผลเลือกตั้งประธานาธิบดีมอลโดวาเมื่อ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ยังไม่สามารถสรุปผู้ชนะได้อย่างเด็ดขาดจึงต้องมีการจัดให้เลือกอีกรอบในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2024 แต่ดูแนวโน้มแล้ว “ไมอา ซานดู” ประธานาธิบดีคนเดิมน่าจะได้อีกสมัย (เธออยู่ฝ่ายตะวันตก) ส่วนประชามติขอเข้าร่วมอียูนั้น “ซานดูทำได้ไม่สำเร็จ” ประชาชนมอลโดวาบอกยังไม่พร้อมให้เข้าเป็นสมาชิกตอนนี้ แต่ดูแล้วเธอคงจะเว้นช่วงและหาทางโน้มน้าวให้จัดอีกถ้ามีโอกาสในอนาคต
เครดิตภาพ: Hepta.ro / Canva
  • ความคิดเห็นจากสื่อทั้งสองฝ่าย
  • สื่อรัสเซีย: เครมลินสังเกตเห็นความผิดปกติหลายประการในการลงคะแนนเสียงครั้งนี้ รวมทั้งการเพิ่มของจำนวนคะแนนเสียงแบบผิดปกติ แม้จะมีการดำเนินการเหล่านี้และมาตรการอื่นๆ เพื่อปราบปรามกลุ่มฝ่ายค้าน แต่สิ่งสำคัญคือประชาชนมอลโดวาส่วนใหญ่ยังคงไม่สนับสนุนซานดูมากนัก และการลงประชามติก็ผ่านไปด้วยคะแนนที่ห่างกันเพียงเล็กน้อย - อ้างอิง: [4]
  • สื่อตะวันตก: แม้ว่าผู้สนับสนุนของซานดูและพันธมิตรในสหภาพยุโรปของเธออาจผิดหวังบ้าง แต่พวกเขาไม่ควรละเลยความจริงที่ว่าแม้รัสเซียจะเข้ามาแทรกแซงในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เธอก็ยังได้รับชัยชนะนำอยู่ ยังมีชาวมอลโดวาต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปจำนวนมาก และเป้าหมายดังกล่าวจะได้รับการบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศต่อไป - อ้างอิง: [5]
ทางเพจได้เคยลงบทความวิเคราะห์สถานการณ์ในมอลโดวาก่อนที่จะมีเลือกตั้งครั้งนี้ไว้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
22nd Oct 2024
  • เชิงอรรถ:
<ภาพปก: ไมอา ซานดู ประธานาธิบดีมอลโดวาคนปัจจุบันที่กำลังหมดวาระ ตอนเข้าพิธีสาบานตนเมื่อปี 2020 เครดิต: Reuters>
โฆษณา