22 ต.ค. เวลา 10:47 • ธุรกิจ
การ tie in สินค้าในรายการ เป็นหนึ่งในกลวิธีที่ใช้ในการโฆษณาสินค้าอยู่แล้วค่ะ
ถ้าแยกมีเดียเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ ทีวีช่องหลัก กับที่ไม่ใช่ TV
ไอ่ที่โผล่มารัวๆในทีวี (เช่น เชิญคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญมาคุยเรื่องสุขภาพ แล้วเนียนๆขายอาหารเสริม) แนวนี้เค้าโฟกัสกลุ่มคนดูที่เป็นลุงๆป้าๆหรือแม่บ้าน ที่ literacy ต่ำแต่ค่อนข้างมีกำลังซื้อ
1
โดยทั่วไปสินค้าที่ tie in ในรายการทีวี ควรต้องมีการตรวจสอบโดยทีมงานของรายการทีวีนั้นๆรวมถึงการมอนิเตอร์ feed back เพราะในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ถ้ากินหรือใช้สินค้าตัวนั้นแล้วเกิดตุยขึ้นมา ผู้บริโภคเค้าไม่ได้ฟ้องแค่ตัวสินค้าอย่างเดียว เค้า sue ไปถึงรายการทีวี & ทางสถานีด้วย ไม่มีใครอยากเอาตัวเองไปเสี่ยงกับสินค้าที่ไม่ชัวร์
2
แต่ก็นั่นแหละนะ "เงินมาผ้าหลุด" เจ้าของรายการก็อยากได้ตังค์ เจ้าของสินค้าก็อยากขายของ ก็เลย win-win แต่ถ้าเคราะห์หามยามซวย เกิดมีคนตุยขึ้นมา หรือเหตุการณ์ลุกลามบานปลายเหมือนฝีแตก ก็ค่อยหงายการ์ดว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตีหน้าเศร้า หิ้วกระเช้าไปเยี่ยมผู้เสียหาย
1
อะไรที่เข้าข่ายหลอกลวง เช่น ไม่ตรงปก ใช้แล้วไม่ได้ผล โฆษณาเกินจริง พวกนี้หลอกได้ก็แค่ครั้งเดียว ซึ่งไม่ได้น่าเป็นห่วงเท่าสินค้าประเภทหยูกยานะคะ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษา
สรุปก็คือ lack of literacy นั่นแหละ ไม่ว่าผู้เฒ่าผู้แก่หรือหนุ่มๆสาวๆถ้าขาด media literacy ก็จะถูกชักจูงโดยง่าย ∴ อย่าไปถามหาความรับผิดชอบจากใครเลย รับผิดชอบตัวเองก๊อนนนนน
2
โฆษณา