23 ต.ค. เวลา 02:12 • ข่าว

สรุปหลักกฎหมายคดีดิไอคอนแบบง่ายๆ

เราแบ่งคดีนี้ออกเป็น 2 ส่วนได้แก่
1.คดีอาญา ทางตำรวจจะเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐาน ณ ปัจจุบัน มีผู้มีชื่อเสียงมากกมายออกมา ให้การให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดีตรงนี้ โดยการกระทำของดิไอคอนถ้าพิสูจน์ว่าทำผิดจริงจะเข้าข่ายคดีอาญาดังต่อไปนี้
1.1 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบขายตรง ซึ่ง มาตรา 3 ได้นิยามคำนิยามของตลาดแบบตรง และ ขายตรงว่ามีความแตกต่างกัน ซึ่งทางดิไอคอนเคยจดทะเบียนตลาดแบบขายตรง แต่ในส่วนขายตรงนั้น แผนธุรกิจที่เสนอไปยังไม่ผ่าน หากมีการกระทำในส่วนขายตรงก็จะเข้าความผิดตรงนี้
มาตรา 3 พรบ ขายตรง และตลาดแบบตรง
1.2 พระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ในมาตรา 3 ได้กำหนดความหมายของคำว่า ผู้กู้ยืมเงิน นอกจากความหมายจะเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงิน ความหมายยังคลอบคลุมไปถึง การรับคนเข้าเป็นสมาชิก หรือ การรับคนเข้าร่วมลงทุนด้วย ซึ่งมาตรา 5 วรรคท้าย ก็ได้ระบุโทษถึงการให้บุคคลมากกว่าสิบคนขึ้นไปทำพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน
มาตรา 3 การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
1.3 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 3 ได้กำหนด นิยามของผู้บริโภคว่า ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเพื่อให้ใช้สินค้าหรือบริการ ตรงนี้ถ้าบางท่านใช้ก่อน แล้วค่อยขาย จะเข้าข่ายตรงนี้ด้วย
2.คดีแพ่ง เพื่อให้มีการเยียวยา ผู้เสียหายอย่างรวดเร็วโดยเราสามารถฟ้องคดีแพ่งคู่ขนานกันไปด้วยได้ โดยผู้เสียหายทุกคนมีอำนาจฟ้อง ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 55 ซึ่งนอกจากจะฟ้องคนเดียวแล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็ว อาจจะใช้กระบวนการพิจารณากลุ่มได้อีกด้วย
ชมผ่าน youtube :
ชมผ่าน tiktok :
โฆษณา