วันนี้ เวลา 02:27 • คริปโทเคอร์เรนซี

เงิน USDT คืออะไร ? สรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ

USDT เป็นคริปโทเคอร์เรนซี ประเภท Stablecoin
การจะเข้าใจ USDT ต้องเข้าใจคำว่า Stablecoin ก่อน
Stablecoin ถูกผู้สร้างออกแบบให้เป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าคงที่ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อ้างอิง โดยส่วนใหญ่แล้วจะอิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างเช่น เหรียญ USDT ที่ผู้สร้างอยากให้มีราคาเทียบเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ อยู่เสมอ
โดยปกติแล้ว คริปโทเคอร์เรนซีต่าง ๆ เช่น Bitcoin ราคาของมันผันผวนรุนแรงเกินไป จึงทำให้มี Stablecoin เกิดขึ้นมา ซึ่งคนที่สร้างเหรียญประเภทนี้ ต้องการให้มันเป็นเหรียญที่มีมูลค่าค่อนข้างคงที่
ด้วยราคาที่ไม่ค่อยผันผวน จึงเป็นที่นิยมไว้เพื่อพักเงิน ในช่วงที่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีกำลังปรับฐานหรืออยู่ในช่วงขาลง
รวมถึงเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนสาย Conservative ใช้ในแพลตฟอร์ม DeFi หรือเรียกกันว่าการฟาร์ม
1
ซึ่งหลัก ๆ Stablecoin มี 3 ประเภท
1
1. Fiat-Backed Stablecoin คือ คริปโทเคอร์เรนซีที่ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1
ตามหลักการ คริปโทเคอร์เรนซีประเภทนี้จะถูกผลิตขึ้น เมื่อเรานำเงิน Fiat อย่างเงินบาทหรือดอลลาร์สหรัฐ ไปล็อกกับตัวกลางที่ทำหน้าที่ผลิตคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ๆ ออกมา
1
เช่น หากนำเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปล็อกไว้กับบริษัท Tether เพื่อสร้าง USDT
หรือหากไปล็อกกับบริษัท Centre ก็จะได้เป็น USDC ออกมานั่นเอง
Stablecoin ประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด
แต่มีข้อน่ากังวลอย่างหนึ่งคือ บริษัทที่สร้างเหรียญพวกนี้ขึ้นมา มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
1
เพราะต้องไม่ลืมว่า หากบริษัทนำเงินที่ควรจะเก็บกลับไปใช้ทำอย่างอื่น เช่น ปล่อยกู้ต่อ หรือซื้อตราสารหนี้เอกชน นั่นก็ถือว่า Stablecoin ไม่ได้ผูกกับเงินตราประเทศต่าง ๆ แบบ 1:1 แล้ว
อย่าง USDT ที่ออกโดย Tether ก็มีความกังวลด้านความโปร่งใสเกี่ยวกับเงินที่นำมาสำรอง เพราะจากข้อมูลที่เปิดเผย ณ ไตรมาส 2 ปี 2024 สินทรัพย์ที่หนุน USDT ประกอบไปด้วย
1
-เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 84.24%
(ซึ่งในจำนวนนี้เป็น ตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ 81.13%, กองทุน Money Market 6.37%, เงินสดและเงินฝากธนาคาร เพียง 0.11%)
-สินเชื่อแบบมีหลักประกัน 5.55%
-Bitcoin 4.00%
-โลหะมีค่า 3.22%
-หุ้นกู้ 0.01%
-การลงทุนอื่น ๆ 2.98%
1
จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเงินที่สำรองส่วนใหญ่ คือ ตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ และทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น สินเชื่อ รวมถึง Bitcoin
ในขณะที่เงินสดและเงินฝากธนาคาร ที่ถืออยู่จริง ๆ มีสัดส่วนน้อยมาก
หรือก็คือ บริษัทได้นำเงินที่หนุนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติม
1
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ปัจจุบัน Stablecoin กลุ่มนี้ยังไม่เจอปัญหาการขาดความเชื่อมั่น จึงยังสามารถครองใจนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดได้อยู่
1
2. Crypto-Backed Stablecoin คือ Stablecoin ที่ค้ำด้วยคริปโทเคอร์เรนซี
Stablecoin ประเภทนี้สามารถทำได้ด้วยการเอาคริปโทเคอร์เรนซีทั่วไป เช่น BTC, ETH ไปวางค้ำประกัน เพื่อแลกเหรียญแทนได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเงิน Fiat อีกต่อไป
เรียกได้ว่าเป็น Stablecoin ของโลกคริปโทเคอร์เรนซีอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามด้วยความที่ราคาของคริปโทเคอร์เรนซีแต่ละสกุลนั้นมีความผันผวนค่อนข้างสูง
นั่นทำให้เกิดข้อเสียคือ การวางเงินค้ำประกันจำเป็นต้องใช้จำนวนเงินที่สูงกว่าเงินที่จะได้รับ
1
เช่น หากอยากได้ Dai ที่เป็น Stablecoin มูลค่ารวม 100 ดอลลาร์สหรัฐ จากโปรเจกต์ MakerDAO เราจะต้องนำคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ เช่น Ether มาวางค้ำประกันที่ 150 ดอลลาร์สหรัฐ
1
ข้อเสียอีกอย่างที่ตามมา จากการใช้คริปโทเคอร์เรนซีวางค้ำประกัน คือ การโดนยึดเงินค้ำประกัน
หากมูลค่าเหรียญที่วางค้ำประกันนั้นต่ำกว่ามูลค่าหรือเกณฑ์ที่ระบบกำหนด
ซึ่งถ้าเราไม่อยากโดนยึดเงินค้ำประกัน จะต้องวางเงินค้ำประกันเพิ่ม หรืออาจคืนเงินบางส่วนแทนก็ได้
จากข้อมูลนี้จะสังเกตได้ว่า Stablecoin ทุกเหรียญประเภทนี้ถูกค้ำด้วยคริปโทเคอร์เรนซีจริง ส่งผลให้มีความโปร่งใส แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องการวางเงินค้ำประกันที่สูงเกินไป
1
3. Algorithmic Stablecoin คือ Stablecoin ที่ไม่ได้อิงมูลค่ากับสินทรัพย์ใด ๆ แต่จะควบคุมโดยอัลกอริทึม ด้วยการใช้กลไกเพิ่มและลดเหรียญตามความต้องการใช้งาน เพื่อให้ราคาคงที่
เช่น UST ที่้เคยเป็นประเด็นใหญ่ในปีก่อน ๆ..
โดย UST เป็น Algorithmic Stablecoin ของ Terra Blockchain ที่เกิดจากการนำ LUNA เหรียญที่ผันผวนเหมือนเหรียญทั่วไป มา Burn หรือทำลายลง เพื่อผลิต UST ขึ้นมาแทน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ถ้า UST มีราคาเกินกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะมีคนมาทำอาร์บิทราจ ด้วยการ Burn เหรียญ LUNA ทิ้ง เพื่อเอา UST มาเทขายในตลาด
ในทางกลับกัน หาก UST ราคาต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก็จะมีคน Burn เหรียญ UST เพื่อเอา LUNA กลับคืนมา ซึ่งเป็นการลดจำนวนเหรียญ UST ลง ให้ราคาดีดกลับมาที่เดิม
ข้อเสียของ Stablecoin กลุ่มนี้คือ มักมีปัญหาด้านราคาผันผวน หากแพลตฟอร์มที่ปล่อยเหรียญมีระบบไม่แข็งแกร่งพอ และมีผู้ต้องการใช้งานเหรียญจำนวนมากพร้อม ๆ กัน
รวมถึงอาจผู้ไม่ประสงค์ดี เห็นช่องโหว่ด้านสภาพคล่อง แล้วเข้าโจมตีระบบ
Stablecoin กลุ่มนี้ ก็จะไม่สามารถรักษาความเสถียรของมูลค่าเอาไว้ได้
เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับ LUNA และ UST มาแล้ว..
ที่ทำให้ UST พังทลายลง จากเดิมที่ควรอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ร่วงไปเหลือ 0.02 ดอลลาร์สหรัฐ
1
ในขณะที่ LUNA ก็แทบไม่เหลือมูลค่าอะไรเลย
ส่วน Terra Blockchain ก็ยื่นล้มละลายไป
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้เห็นได้ว่า การบริหารความเสี่ยงที่ดี คงไม่ใช่แค่การถือ Stablecoin เหรียญใดเหรียญหนึ่งเท่านั้น เพราะจะเห็นได้ว่า Stablecoin แต่ละสกุลจะมีจุดอ่อนที่แตกต่างกันไป
การกระจายการถือ Stablecoin ในหลายเหรียญ อาจเป็นทางเลือกที่สามารถลดความเสี่ยงจากการที่เหรียญใดเหรียญหนึ่งประสบปัญหาได้ เพราะเราต้องคิดไว้เสมอว่าเหรียญ Stablecoin ที่คนสร้างคาดหวังให้มันเป็นเหรียญคงที่
แต่สิ่งที่เราคิดว่า Stable
มันอาจจะไม่ Stable เสมอไป..
โฆษณา