Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
INN News
•
ติดตาม
23 ต.ค. 2024 เวลา 10:08 • ไลฟ์สไตล์
พนักงานออฟฟิศที่เดินทางไปทำงานเกิน “38 นาที” มีแนวโน้ม “ลาออก” มากขึ้น
ทุกคนใช้เวลาเดินทางไปทำงานกันกี่นาที?
ข้อมูลจาก INRIX จัดอันดับ Global Traffic Scorecard 2022 กรุงเทพฯ รถติดที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย และ 32 ของโลก
การที่จราจรแน่นิ่งส่งผลเสียมากมาย โดยเฉพาะสุขภาพจิตของคนใช้รถใช้ถนน หนึ่งในผู้เคราะห์ร้ายคือ พนักงานเงินเดือนที่หลายคนใช้ชีวิตบนท้องถนนมากกว่าบ้านเสียอีก
งานวิจัยจาก Harvard Business School ปี 2020 มีจุดที่น่าสนใจระบุไว้ว่า พนักงานออฟฟิศที่ต้องเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ หากใช้เวลานานกว่า 38 นาที - 1 ชั่วโมง ต่อเที่ยว มีแนวโน้มจะรู้สึกเครียด วิตกกังวล ความพึงพอใจในงานลดลง จนสุดท้ายสะสมจนอยาก ลาออก ได้
ทุกๆ 15 นาทีที่ใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของพนักงานจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ
อีกจุดที่น่าสนใจคือกิจกรรมที่ตัวผู้เขียนก็ทำเช่นกันเมื่อติดอยู่บนท้องถนน อย่างการ ฟังเพลงหรือไถ่ดูฟีดโซเชียลเพื่อฆ่าเวลา มันกลับส่งผลเมื่อเราถึงออฟฟิศแล้วหยุดกิจกรรมดังกล่าวลงทำให้เราไม่อยากทำงานเพราะปรับโหมดไม่ทัน
นี้ยังไม่รวมโรคยอดฮิตที่ได้มาจากรถติด เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดตา สูด PM 2.5 เต็มปอดกว่าจะถึงออฟฟิศ
ในงานวิจัยชี้ว่าเวลาที่ส่วนใหญ่รู้สึกเหมาะสมและโอเคต้องการเดินทางคือ 16 นาทีต่อเที่ยว แน่นอนว่าคงเป็นไปได้ยากในประเทศไทย ที่คาดเดาอะไรไม่ได้เลยกับการเดินทาง
หลายออฟฟิศในประเทศไทยมีการปรับเพื่อช่วยพนักงานในจุดนี้ เช่น สามารถเข้าออฟฟิศเวลาไหนก็ได้ ซัพพอร์ตเรื่องการทำงานจากที่ไหนก็ได้ เพื่อลดภาวะเครียดจากการเดินทางของพนักงาน นี้คงเป็นปัญหาระยะยาวที่ยังดูไม่เห็นทางออกในการแก้ไขสักเท่าไรในสังคมไทย
⭐️อย่าลืมกดติดตาม ถูกใจ แชร์ และสามารถส่งเพชรเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเรา ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่ iNN BLOCKDIT
Website:
https://www.innnews.co.th
Facebook :
https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter :
https://twitter.com/innnews
Youtube :
https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok :
https://www.tiktok.com/@inn_news
ไลฟ์สไตล์
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย