23 ต.ค. เวลา 17:15 • ธุรกิจ

8 กระบวนท่าเกมมิฟิเคชัน

เวลาเราเลือกทำเกมมิฟิเคชันขึ้นมาเพื่อจูงใจคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน นักเรียน หรือ ลูกค้า
ไอเดียแรกที่เรามักจะคิดกันก็มันจะเป็นให้คนแข่งขันกัน เพราะเล่นเกมแล้วก็ต้องแข่งขันกันจริงมะ
จริงแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบแข่งขันครับ … การเน้นแต่การแข่งขันมาก ๆ ก็อาจจะทำให้ผู้เล่นบางคนรู้สึกไม่สนุก หรือไม่อินได้
แต่ว่าแล้วเราจะมีกระบวนท่าอื่นอย่างไรได้บ้างมั้ยที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้ นอกเหนือจากการแข่งขัน
ผมได้ลองศึกษาดูจากเคสต่าง ๆ แล้วพบว่าเกมมิฟิเคชันมีทั้งหมด 8 กระบวนท่าหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้ได้ … ลองมาดูกันครับ
.
Competitive Strategy
คือการเน้นที่การแข่งขันครับ มักจะเป็นแนวทางแรกที่เรานึกถึงกันเวลาใช้เกมมิฟิเคชัน โดยทั่วไปแนวทางนี้จะเหมาะสำหรับเวลาที่เราต้องการเน้น Performance หรือ ประสิทธิภาพการทำงานเช่นอยากจะให้ผู้เข้าร่วมทำอะไรอย่างให้ออกมาให้ดีขึ้น หรือ เร็วขึ้น เป็นต้น
Collaborative Strategy
คือการให้ผู้เล่นได้ร่วมมือ ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เหมาะสำหรับกิจกรรมที่เราต้องการสร้างความสำพันธ์ภายในทีม สร้าง Community กลไกเกมและกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะไปส่งเสริมเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น ให้แต้ม กับผู้เล่นที่แชร์หรือช่วยทีมอะไรบางอย่าง เป็นต้น
Hybrid Strategy
คือ การผสมผสานระหว่าง ทั้งการแข่งขันและร่วมมือ เช่นแบ่งกลุ่มแข่งกันเป็นต้น เป็นแนวทางที่พบได้บ่อย สร้างสีสันได้ดีเวลาต้องทำเกมมิฟิเคชันสำหรับคนจำนวนมาก และ หลากหลาย
Progress Tracking Strategy
คือการให้ผู้เล่นได้เห็นถึง Progress ของตัวเอง ว่าคืบหน้ามาแล้วเท่าไหร่ และ เหลืออีกแค่ไหนที่ต้องทำต่อ โดยปรกติจะเหมาะกับกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช่น Course Online ที่ต้องเรียนหลายบทกว่าจะจบ หรือ ใช้กับกิจกรรมสำคัญบางอย่างก็ได้ เช่น Progress ของ Weekly Quest เป็นต้น
Unlocking Strategy
แนวทางนี้คือเน้นที่การให้ผู้เล่นได้ปลดล็อคอะไรบางอย่างหลังจากทำภารกิจสำคัญเสร็จ เช่น อาจจะได้รับ Badge หรือ ปลดล็อค Feature บางอย่างใน App ของเรา เป็นต้น แนวทางนี้แตกต่างจาก Progress Tracking ตรงที่ผู้เล่นจะได้รู้สึกว่าตนไม่เหมือนเดิม รู้สึกพิเศษกว่าคนอื่น รู้สึกเก่งขึ้น
Feedback Strategy
แนวทางนี้คือ แต่เน้นที่การแสดงผลให้ผู้เล่นได้ทราบว่า ที่เขาเพิ่งทำเสร็จไปนั้นดีมากน้อยเพียงใด เช่น แอปออกกำลังกาย ที่พอเราวิ่งเสร็จก็จะมีค่าบอกเราว่า วิ่งไปได้กี่กิโล เบิร์นไปกี่แคล แนวทางนี้จะช่วยให้ผู้เล่นรู้สึกอยากพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แต่เคล็ดลับคือ Feedback ต้อง Real-Time
Self-Expression Strategy
คือการเปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้ผู้เล่นได้แสดงออก ได้แสดงตัวตน ซึ่งสิ่งที่เปิดโอกาสให้ทำนี้ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวโยงกับเป้าหมาย เช่น แต่ง Avatar แสดง Badge ที่ตนเองได้รับ หรือ ได้แสดงพฤติกรรมบางอย่าง แนวทางนี้ช่วยให้ผู้เล่นรู้สึกถึงตัวตน และ มี Engagement กับระบบมากขึ้น
Customization Strategy
คือการผู้เล่นได้ปรับแต่งระบบการเล่น หรือเลือกได้ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร เช่น เลือกทำภารกิจก่อนหลังตามใจ เลือก Path การเล่นของตนเอง ไปจนถึงเลือกทีมที่จะเล่นด้วย เป็นต้น คือคนเราไม่ชอบถูกบังคับครับ แนวทางนี้จะช่วยเสริมแรงจูงใจภายในด้าน Autonomy ให้กับผู้เล่น
.
ก็เป็นสรุปคร่าว ๆ ว่าแนวทางการใช้เกมมิฟิเคชันที่ผมว่าเราสามารถพอได้บ่อยนั้นมีอะไรบ้าง แต่ทั้งนี้สามารถนำแต่ละข้อมาปรับใช้ผสานกันได้ครับตามความเหมาะสมเลยนะครับ
ปล. โพสนี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เนื้อหาที่ผมตัดใจไม่ใส่ลงไปในหนังสือเล่ม 2 นะครับ จริง ๆ เคยมีเล่าละเอียด ๆ แล้วใน Gamification Live ใน Youtube ของผม ท่านใดว่างก็ไปฟังกันได้
#gamification ตอนที่ 102
#GrowthGame #เกมมิฟิเคชัน #เกมมิฟิเคชั่น
โฆษณา