24 ต.ค. 2024 เวลา 06:31 • การตลาด

สรุปอินไซต์ที่น่าสนใจ: พฤติกรรมการใช้ Social Media, E-commerce และ Streaming ของคนไทย

ในรายงาน Digital Insights Thailand Report 2024 มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย, อีคอมเมิร์ซ และการสตรีมมิ่งของคนไทย โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ค่ะ
✅ พฤติกรรมการใช้ Social Media ในประเทศไทย (โดยเฉพาะ Gen Z)
- โซเชียลมีเดียแพลตฟอรืมที่คนไทยใช้มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ LINE, Facebook, YouTube, TikTok และ Instagram
- คนไทยนิยมใช้ TikTok และ YouTube สำหรับความบันเทิง ขณะที่ X (Twitter) ใช้ติดตามข่าวสาร Instagram ใช้ติดตามคนที่ชอบ และ Facebook ใช้สำหรับการสื่อสารกับเพื่อน
- กลุ่มนักเรียนและนักศึกษา (Gen Z) ให้ความสนใจในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Instagram, TikTok, Twitch, Lemon8 และ Discord มาก โดยเฉพาะ Instagram ที่เป็นที่นิยมในกลุ่มนี้ การตลาดที่มุ่งเป้าไปยัง Gen Z ควรเน้น 5 แพลตฟอร์มนี้ เนื่องจากเป็นช่องทางที่พวกเขาใช้งานบ่อยที่สุด ในขณะที่คนทำงานมักนิยมใช้ Facebook, Whatsapp, Telegram และ LINE สำหรับการสื่อสารและการทำงาน
- 58% ของ Gen Z รู้สึกว่าโซเชียลมีเดียสร้างความกดดันและการเปรียบเทียบ
- Gen Z นิยามตัวเองเป็น LGBTQ+ มากกว่าคนกลุ่มอื่น
- คนกรุงเทพใช้ Instagram, Discord, Telegram, LINE และ Pantip มากกว่าคนต่างจังหวัด
- คนกรุงเทพฯ ชอบค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine (57%) ส่วนคนต่างจังหวัดนิยมใช้ Social Media (47%)
- กลุ่มคนที่มีรายได้สูง มักค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine (64%) ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย นิยมใช้ Social Media (56%)
- คนรายได้สูงเลือกใช้แพลตฟอร์มอย่าง X (Twitter), Discord, Pantip, Pinterest และอื่น ๆ
- คนไทยใช้โซเชียลมีเดียมากที่สุด (95%) ส่วนบริการสตรีมมิ่ง อีคอมเมิร์ซ และออนไลน์เกมมิ่งมีผู้ใช้น้อยกว่า 50% แต่เกือบครึ่งของ Gen Z (49%) เล่นเกมออนไลน์ และมากกว่าครึ่งของ Gen X (53%) ใช้อีคอมเมิร์ซ
- 54% ของ Baby Boomer บอกว่าใช้งาน Social Media มากขึ้นในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่วน Millennials 38% เล่นเกมออนไลน์มากขึ้น
- คนไทยเปิด Facebook, TikTok, และ LINE บ่อยที่สุด โดย Gen Z เปิด TikTok และ Facebook บ่อยที่สุด (42%) ขณะที่ Millennials ชอบใช้ Facebook (37%) และ TikTok (30%) ส่วน Baby Boomer นิยม LINE และ Facebook
- โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่ถูกใช้งานผ่านแอปมือถือ (93%) มากกว่าเว็บไซต์ (7%) ยกเว้น Pantip ที่มีผู้ใช้ผ่านเว็บไซต์มากกว่าแอปมือถือถึง 64%
- Gen Z และ Millennials เป็นกลุ่มที่ติดการใช้งานโซเชียลมีเดียมากที่สุด คิดเป็น 75%
- 70% ของคนไทยที่ใช้โซเชียลมีเดียได้สั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดย TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่นิยมใช้สั่งซื้อสินค้ามากที่สุด ตามมาด้วย Facebook และ LINE
- คนไทยใช้ Social Media ในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ (56%) มากกว่า Search Engine (44%)
- ความคิดเห็นและรีวิวจากเพื่อน หรืออินฟลูเอนเซอร์ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
- YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งสำหรับการดูวิดีโอ เพราะเนื้อหาหลากหลายประเภทตั้งแต่ความบันเทิงไปจนถึงการศึกษา
✅ พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์
- คนไทย 98% ใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะที่การใช้แล็ปท็อปและแท็บเล็ตอยู่ที่ 37% และ 36% ตามลำดับ
- ส่วนใหญ่ใช้ Android (73%) มากกว่า iOS (27%) แต่ในกลุ่ม Gen Z มีการใช้ iOS สูงถึง 36%
✅ พฤติกรรมการใช้ Streaming Platform
 
- การใช้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโต โดยเฉพาะในช่วงเย็นถึงกลางคืน เมื่อผู้คนต้องการผ่อนคลายและสนุกสนานกับเนื้อหาที่หลากหลาย
- คนไทยใช้ Streaming Platform มากที่สุดในช่วงเวลาเย็นถึงดึก (18.00 - 24.00 น.) ช่วงนี้มีการใช้งานสูงสุด เนื่องจากผู้คนกลับจากทำงานหรือเรียนและต้องการพักผ่อนด้วยการดูรายการหรือภาพยนต์
- 57% ของผู้ใช้ Social Media ในไทย ใช้งาน Streaming Platform อย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วง 30 วันที่ผ่านมา โดยเน้นดูรายการทีวี ภาพยนตร์ และฟังเพลง
- รายการทีวี, ภาพยนตร์, และเพลง เป็นเนื้อหาที่ผู้ใช้เลือกชมมากที่สุด
- กลุ่ม Gen Z มีแนวโน้มใช้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งมากกว่ากลุ่มอื่น โดยใช้ YouTube Premium (53%) และ Viu (42%) ในขณะที่กลุ่ม Millennials นิยมใช้ Joox (29%) และ Amazon Prime (12%)
- Netflix เป็นบริการสตรีมมิ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่ม Gen X โดยมีผู้ใช้ถึง 47% และเป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้มากที่สุดในภาพรวม (67%) เนื่องจากมีเนื้อหาหลากหลายทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์ และสารคดีที่ตอบโจทย์ผู้ชมทุกกลุ่ม
- Gen X ให้ความสำคัญกับการอ่านรีวิวเนื้อหาก่อนเลือกใช้บริการสตรีมมิ่ง และต้องการความหลากหลายของภาพยนตร์และเพลง
- Gen Z นิยมอ่านรีวิวเกี่ยวกับเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียก่อนตัดสินใจใช้บริการ (48%) ขณะที่ Gen X ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของหนังและเพลงมากที่สุด (70%)
✅ปัจจัยในการเลือกใช้แพลตฟอร์มสตรีมมิงของคนไทย
1. มีหนังหรือเพลงที่ต้องการ (65%): ผู้ใช้เลือกแพลตฟอร์มที่มีเนื้อหาตรงกับความชอบของตนเอง
2. ความหลากหลายของเนื้อหา (63%): ผู้ใช้ชอบแพลตฟอร์มที่มีตัวเลือกของหนังและเพลงมากมาย ทำให้สามารถเลือกชมได้หลากหลาย
3. มีเนื้อหาใหม่ๆ (57%): ผู้ใช้ต้องการดูหนังหรือฟังเพลงใหม่ๆ ที่ออกมาเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อหน่าย
✅ E-commerce: พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์
- คนไทยนิยมใช้ Shopee, Lazada, และ JD Central โดยแต่ละกลุ่มรายได้มีความแตกต่างในการเลือกใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้
- Shopee ได้รับความนิยมในต่างจังหวัดมากกว่า กรุงเทพ และ ปริมณฑล โดยมีผู้ใช้ 58% ในต่างจังหวัด เทียบกับ 56% ในกรุงเทพฯ
- คนต่างจังหวัดชอบ Shopee มากกว่า Lazada (ต่างกัน 12%) อาจเป็นเพราะ Shopee ใช้งานง่าย มีของถูกและโปรโมชั่นเยอะ
- คนรายได้ปานกลางชอบใช้ Shopee ส่วนคนรวยชอบใช้ Lazada ซึ่งอาจเป็นเพราะ Lazada เน้นขายของแบรนด์เนม มีระดับมากกว่า
- ปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ได้แก่ ความหลากหลายของสินค้า (73%) โปรโมชันและราคาที่เหมาะสม (73%) และความสะดวกสบายในการช้อปปิ้ง (68%)
- Gen Z ชอบสั่งซื้อสินค้าผ่าน TikTok มากกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ
- Gen X และ Baby Boomer เลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพราะมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย (83-85%)
- ส่วน Gen Z ให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของร้านค้ามากกว่ากลุ่มอื่น เพราะต้องการมั่นใจว่าร้านค้าที่ซื้อสินค้านั้นเชื่อถือได้ก่อนตัดสินใจซื้อ
- Gen Z และ Millennials ซื้อของออนไลน์บ่อยกว่า Gen X และ Baby Boomer
- Gen Z นิยมซื้อเครื่องประดับ Millennials นิยมซื้อของเล่น และของสะสม ส่วน Gen X มีแนวโน้มซื้อเครื่องใช้ในบ้านผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่ากลุ่มอื่น
- PromptPay หรือการโอนเงินผ่านแอปธนาคาร เป็นวิธีชำระเงินยอดนิยมในไทย โดยมีผู้ใช้งานถึง 36% ตามด้วยแอปชำระเงินที่ไม่ใช่แอปธนาคาร 23% ส่วนการใช้เงินสดอยู่ที่ 19% และบัตรเครดิต 17%
- PromptPay ยังเป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z ขณะที่ Millennials นิยมใช้บัตรเครดิต และคนต่างจังหวัดยังนิยมชำระเงินด้วยเงินสด
- คนกรุงเทพ นิยมใช้บัตรเครดิตซื้อของออนไลน์ ส่วนคนต่างจังหวัดนิยมจ่ายเงินสดมากกว่า
✅ คนไทยชอบซื้อของออนไลน์ 5 อย่างนี้มากที่สุด
1. เสื้อผ้าแฟชั่น (64%)
2. ของใช้ส่วนตัว เช่น เครื่องสำอาง ครีมอาบน้ำ (62%)
3. เครื่องใช้ในบ้าน เช่น หม้อหุงข้าว พัดลม (58%)
4. กระเป๋าและรองเท้า (53%)
5. แกดเจ็ตราคาถูก เช่น หูฟังบลูทูธ สายชาร์จ (51%)
และที่น่าสนใจคือ คนไทยประมาณ 1 ใน 3 ก็ซื้อของแพงๆ อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องถ่ายรูป
ออนไลน์อีกด้วย
สรุปแล้วพฤติกรรมการใช้ Social Media, Streaming และ E-commerce ของคนไทยสะท้อนถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่มอายุและรายได้ การเลือกใช้แพลตฟอร์มขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะ เช่น Gen Z ชอบแพลตฟอร์มใหม่ๆ อย่าง TikTok และ Discord ขณะที่ Gen X และ Baby Boomer ยังคงใช้ LINE และ Facebook เป็นหลัก
ในด้าน E-commerce ปัจจัยสำคัญคือความหลากหลายของสินค้าและโปรโมชันที่ดึงดูดผู้บริโภค การรู้จักพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้งานเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถวางแผนกลยุทธ์การตลาดที่ตรงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โฆษณา