24 ต.ค. เวลา 09:36 • สิ่งแวดล้อม

24 ตุลาคม วันชะนีสากล

International Gibbon Day - October 24
วันชะนีสากล จัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2015 เพื่อร่วมตระหนักรู้ถึงความสำคัญของนักกายกรรมแห่งผืนป่า
เนื่องจากมีแขนที่ยาวและแข็งแรงรวมทั้งมือใช้สำหรับห้อยโหนต้นไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งอย่างคล่องแคล่ว
ชะนีทั่วโลก จำแนกออกเป็น 20 ชนิด มีการกระจายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และตอนใต้ของจีนตั้งแต่ อัสสัม (อินเดีย) พม่า ไทย ไปจนถึงอินโดจีน ยูนาน แหลมมาลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะเบอร์เนียว
ชะนีในประเทศไทย มี 4 ชนิด 2 สกุล ได้แก่
- ชะนีมือขาว (Hylobates lar)
- ชะนีมือดำ (Hylobates agilis)
- ชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus)
- ชะนีเซียร์มัง หรือ ชะนีดำใหญ่ (Symphalangus syndactylus)
ถิ่นที่อยู่อาศัย คือ ป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพฤติกรรมใช้ชีวิตอยู่ต้นไม้สูงเกือบทั้งวัน และจะลงมาพื้นดินเฉพาะเวลาดื่มน้ำ โดยการควักล้วงจากโพรงไม้หรือเลียตามใบไม้
อาหารหลักของชะนีคือกลุ่มผลไม้ โดยเฉพาะ ผลไม้สุก ใบไม้ หน่อ ยอดอ่อน ดอกไม้ รวมทั้งพวกแมลงเล็กๆ เช่น มด ปลวก เป็นต้น
ปัจจุบันชะนีเป็นสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เนื่องจากปัจจัยภัยคุกคามจากการถูกล่าและแหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นไม้ใหญ่เริ่มลดลง จากการตัดไม้ การถางหรือเผาป่า
สถานภาพปัจจุบันของชะนีในไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
#zoo101 #วันชะนีสากล #InternationalGibbonDay
โฆษณา