Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AIA Thailand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
25 ต.ค. เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Weekly Market EP.88 by AIAIMT – มาอัปเดตข่าวสารตลาดทุนรอบโลก
Weekly Market Update by AIAIMT / 11 – 18 October 2024
EP.88: อัปเดตข่าวสารตลาดทุน โดย บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) / 11 – 18 ตุลาคม 2567
ภาพรวม Index
“สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นแต่ละประเทศปรับตัวขึ้นลงสลับกัน
ไทย: เซอร์ไพรส์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดย กนง.
สหรัฐฯ: คาดปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อในเดือน พ.ย.และธ.ค.
ยุโรป: ยังปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง
จีน: ออกมาตราการกระต้นเศรษฐกิจและตลาดทุน
📌 ปัจจัยบวก :
• กนง. มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.50% เป็น 2.25% ต่อปี มีผลทันที เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อชะลอการขยายตัวลง โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงยังอยู่ในระดับที่เป็นกลาง และสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ
• ธนาคารกลางจีน ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี ลง 0.25% สู่ระดับ 3.1% และปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปี ลง 0.25% สู่ระดับ 3.6% เปิดโอกาสสำหรับการดำเนินมาตรการผ่อนคลายด้านนโยบายเพิ่มเติม
• ธนาคารกลางจีน เปิดตัวโครงการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ กองทุน และบริษัทประกัน (SFISF) โดยมีมูลค่าการสมัครชุดแรกเกิน 2 แสนล้านหยวน (ราว 2.81 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนให้แข็งแรงและมีเสถียรภาพ ภายใต้โครงการ SFISF บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทกองทุน และบริษัทประกันที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสามารถใช้สินทรัพย์ของตนเป็นหลักประกัน เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์สภาพคล่องสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล/ ตั๋วเงินคลังของธนาคารกลางจีน
• FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนยังคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 2 ครั้ง ที่เหลือในปีนี้ โดยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ทั้งในเดือน พ.ย.และเดือน ธ.ค. แม้มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
• ธนาคารกลางยุโรป ลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็น “ครั้งที่ 3 ของปีนี้” โดยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 3.25% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซา รวมถึงเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย
📌 ปัจจัยลบ :
• ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนก.ย. 67 อยู่ที่ระดับ 87.1 ปรับตัวลดลง จาก 87.7 ในเดือนส.ค. โดยมีปัจจัยลบจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สร้างความเสียหายต่อประชาชน พื้นที่การเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ มูลค่าสูงถึง 30,000-50,000 ล้านบาท
• เรนโก (Rengo) สมาพันธ์สหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างอย่างน้อย 5% ในปีหน้า และต้องการให้ขึ้นค่าจ้างอย่างน้อย 6% สำหรับบริษัท SME เพื่อลดช่องว่างของค่าจ้างระหว่างบริษัทขนาดใหญ่กับ SME เนื่องจาก SME ส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้าได้ลำบาก
• ราคาทองคำพุ่งทะลุระดับ 2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้เป็นครั้งแรก เนื่องจากความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลางทำให้นักลงทุนพากันเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากขึ้น
เริ่มวางแผนการเงินระยะยาว กับ AIA InvestPro บริการผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยดูแลการลงทุนจาก AIA และ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) ผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ ที่เหมาะกับคุณได้แล้ววันนี้
ติดต่อตัวแทน เอไอเอ หรือดูรายละเอียดได้ที่ :
https://www.aia.co.th/th/our-products/save-invest/unit-linked
หมายเหตุ: ข้อมูลอ้างอิงจาก สำนักข่าวอินโฟเควสท์
www.infoquest.co.th
, บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2567 ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป ผู้ใช้ต้องใช้ความระมัดระวังด้วยวิจารณญาณและรับผิดชอบในความเสี่ยงต่างๆ ด้วยตนเอง
คำเตือน:
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจรายละเอียด เงื่อนไข ความคุ้มครองและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย รวมทั้งศึกษาทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงจากการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
• ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่
https://www.blockdit.com/aiathailand
aiathailand
การเงิน
การลงทุน
1 บันทึก
2
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
WEEKLY MARKET UPDATE
1
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย