25 ต.ค. เวลา 05:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

AI จะช่วยถอดรหัสความฝันของเราได้ไหม?

เมื่อสิบปีก่อน มีข่าวฮือฮาเรื่องการวิจัยที่อาจจะพัฒนาไปถึงการถอดรหัสความฝันได้ ในครั้งนั้น ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Functional Magnetic Resonance Imaging) สร้างภาพการทำงานของสมอง ซึ่งมีข้อมูลการไหลเวียนของโลหิตและการทำงานของเซลล์ประสาท 🧠
จากนั้น เทคโนโลยี AI ที่เป็นโครงข่ายประสาทเชิงลึก (Deep Neural Network) จะวิเคราะห์รูปแบบกิจกรรมของสมองขณะที่ผู้เข้าร่วมทดลองกำลังหลับ 🛌 เปรียบเทียบกับรูปแบบที่บันทึกไว้ขณะที่ตื่นและดูภาพ จึงถือได้ว่าเป็นการเปิดโลกการวิจัยสิ่งที่มนุษย์มองเห็น จดจำ จินตนาการ ซึ่งมีโอกาสพัฒนาไปถึงการฝัน (dream content) ได้ แต่ยังไม่รู้ว่าเมื่อไร 💤
กระแสความตื่นตัวในครั้งนั้น ได้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นข่าวคราวหลายครั้ง แต่เมื่อตรวจสอบดูแล้ว การวิจัยยังอยู่ในขั้นการถอดรหัสข้อมูลของสิ่งที่เห็นและจินตนาการ โดยมีความพยายามแปลการทำงานของสมองออกมาเป็นภาพ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยอีกหลายแนวทาง
🎯หากการพัฒนาก้าวหน้าไปถึงขั้นสุด น่าจะสร้างผลกระทบครั้งใหญ่ต่อวงการวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา เพราะจะเปิดทางสู่โลกของจิตใต้สำนึก เปิดโอกาสการทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ และอาจรวมถึงโอกาสการรักษาโรคทางจิตเวช เช่น PTSD และโรควิตกกังวล ในแนวทางใหม่ หรือแม้กระทั่งเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ ช่วยต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้กับศิลปินหรือนักคิดในแขนงต่าง ๆ
แม้ว่าเทคโนโลยี AI จะน่ามหัศจรรย์ แต่ก็มีประเด็นด้านจริยธรรมที่ต้องพิจารณา เพราะความคิด จินตนาการ หรือความฝัน ถือเป็นข้อมูลส่วนตัว นอกจากนี้ การจดจำรายละเอียดในฝันยังเป็นเรื่องที่ยากจะทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่มนุษย์ก็ยังคงค้นหาต่อไปในการเข้าใจการทำงานของสมองและสิ่งที่อยู่ในใจ ให้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด
หากสนใจงานวิจัยด้านนี้ อ่านต่อได้ที่ :
  • Kyoto scientists enhance mind reading technology
  • Hierarchical Neural Representation of Dreamed Objects Revealed by Brain Decoding with Deep Neural Network Features
โฆษณา