25 ต.ค. เวลา 06:31 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เทียบการลงทุนหุ้น ETF ต่างประเทศโดยตรง vs DR DRx

DR, DRx ทำให้การลงทุนหุ้น/ ETF ต่างประเทศง่ายขึ้น และไม่ต้องกังวลกับการเก็บภาษีรายได้ต่างประเทศ
DR ย่อมาจาก Depositary Receipt ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ส่วน DRx Fractional Depositary Receipt
DR DRx เป็นเครื่องมือที่ทำให้ลงทุนสามารถลงทุนหุ้น หรือ ETF ต่างประเทศ ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ โดยมีตัวกลางคือ บริษัทหลักทรัพย์ หรือธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต ตัวกลางนี้จะซื้อหุ้น หรือ ETF ต่างประเทศมา และออกเป็น DR DRxหุ้นหรือ ETF อ้างอิงนั้น
ได้ผลประโยชน์คล้ายกับลงทุนสินทรัพย์ต่างประเทศนั้นโดยตรง สามารถซื้อขายได้ด้วยเงินบาท โดยไม่ต้องเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศ DR สามารถใช้พอร์ตหุ้นเดิมที่เราซื้อขายหุ้นไทยอยู่แล้วได้ ส่วน DRx ใช้พอร์ตหุ้นเดิมได้ แต่เพิ่มแจ้งความประสงค์เพิ่ม เข้าไปที่ Streaming เลือก My Menu >> แล้วเลือก DRx เพื่อเปิดบัญชีย่อย DRx
ผู้ออกอาจกำหนดเป็น 1 DR ต่อ 1 หุ้น (หรืออาจเป็นอัตราส่วนอื่นได้) ส่วน DRx จะมีสัดส่วนย่อยกว่า เช่น 1 หุ้น ต่อ 1,000 DRx
DR ซื้อขายตามเวลาทำการของตลาดหุ้นบ้านเรา ราคาเปิดปิด ราคา ceiling และ floor ช่วงราคาซื้อขายเหมือนหุ้นไทยตามปกติ และขั้นต่ำคือ 1 DR เท่านั้น DR ใช้บัญชีหุ้นตามปกติ ถ้าใครเป็น Cash balance (เติมเงิน) หรือ Cash account (จ่ายทีหลัง) ก็ใช้ตามเดิมเลยในการซื้อขาย DR
DRx ที่มีทั้งหมดตอนนี้อ้างอิงหุ้นในตลาด NASDAQ ของอเมริกา ช่วงเวลาซื้อขายก็จะเป็น 20.00 น. - 04.00 น. ซื้อขายขั้นต่ำ 0.0001 หน่วย หรือสามารถสั่งซื้อขายเป็นจำนวนเงินได้ การกำหนดกรอบราคา ±10% ของราคาเฉลี่ยช่วง 5 นาทีสุดท้ายของช่วงเวลาก่อนหน้า (Dynamic Price Band) ส่วน DRx ซื้อขายเป็นเงินบาทได้เลย แต่เป็น Prepaid เติมเงินเพื่อซื้อ ซึ่งจะฝากเงินเพื่อซื้อผ่าน QR payment เท่านั้น
DR ตอนนี้มี 44 ตัว ส่วนใหญ่จะอ้างอิงหุ้นหรือ ETF แถวเอเชีย ที่มีตอนนี้ก็อ้างอิงหุ้น ETF ตลาดหุ้นฮ่องกง เป็นหลัก และก็มีตลาดหุ้นสิงคโปร์ ตลาดหุ้นโตเกียว และตลาดหุ้นยุโรป
เช่น BABA80 อ้างอิงกับหุ้นบริษัท Alibaba Group Holding , XIAOMI80 บริษัท เสียวหมี่ คอร์ปอเรชั่น (Xiaomi Corporation), BYDCOM80 อ้างอิงบริษัท บีวายดี จำกัด (BYD Company Limited)
DR จะเป็นชื่อหุ้น หรือ ETF ที่อ้างอิง และตามด้วยตัวเลข เช่น 01, 13, 19, 80 ตัวเลขคือรหัสผู้ออกหลักทรัพย์นั้นๆ 01 คือ บล.บัวหลวง , 13 คือ บล.เคจีไอ, 19 คือ บล. หยวนต้า, 80 คือ ธนาคารกรุงไทย
DRx ตอนนี้มี 10 ตัว ทั้ง 10 ตัวตอนนี้มีผู้ออกมีแต่ธนาคารกรุงไทย จึงเห็นแต่ชื่อหุ้นและตามด้วย 80 เป็นหลัก
10 ตัว เช่น NVDA80X บริษัท เอ็นวิเดีย คอร์ปอเรชั่น (NVIDIA Corporation), MSFT80X บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (Microsoft Corporation), AAPL80X อ้างอิงหุ้นของบริษัท แอปเปิ้ล อิงค์ (APPLE INC)
เนื่องจากมีตัวกลาง การลงทุน DR DRx ดังนั้นจะมีความเสี่ยงด้านเครดิต ความน่าเชื่อถือของผู้ออก DR ได้ และเมื่อมีตัวกลางอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่น เงินปันผลที่ได้รับจากหุ้นอ้างอิง ในการส่งผ่านตัวกลางมายังผู้ถือ DR DRx อาจมีการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งตรงนี้ต้องอ่านเงื่อนไขรายละเอียดของ DR DRx นั้นๆ ด้วย
การลงทุนใน DR DRx ถึงแม้เราซื้อขายด้วยเงินบาท ก็จะมีเรื่องความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ถ้าราคาหุ้นต่างประเทศตัวนั้นขึ้น แต่เมื่อเปลี่ยนกลับเป็นเงินไทยแล้วติดลบ ก็อาจทำให้ DR DRxตัวนั้นไม่ขึ้นได้
และยังมีความผันผวนจากราคาของ DR DRx เองได้ด้วย จากความต้องการซื้อขาย DR DRx ตัวนั้น
DR DRx เป็นเพียงตราสารที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นๆ ดังนั้นการพิจารณาราคาที่เหมาะสม จึงต้องพิจารณาจากราคาของหลักทรัพย์อ้างอิง และควรอ่านรายละเอียดของสัญญารับฝากที่ผู้ออกเขียนไว้ด้วย
ในเรื่องของภาษี ถ้าเราลงทุน DR DRx ก็จะได้ในส่วนของส่วนต่างกำไร (capital gain) ซึ่งไม่เสียภาษี ส่วนเงินปันผลถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% คล้ายลงทุนหุ้นไทย
สามารถหาข้อมูล DR จากเว็บไซต์ของ set เมื่อเข้าไปหน้าแรก แล้วเลือก ข้อมูลารซื้อขาย >> ผลิตภัณฑ์ >> DR หรือ DRx
#DR #DepositaryReceipt #ลงทุนหุ้นต่างประเทศ #หมอยุ่งอยากมีเวลา #DRx #FractionalDepositaryReceipt
โฆษณา