พบ "ทุ่งดอกหงอนนาค" แห่งใหม่ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

ดอกหงอนนาค ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝙈𝙚𝙧𝙙𝙖𝙣𝙣𝙞𝙖 𝙜𝙞𝙜𝙖𝙣𝙩𝙚𝙖 ( Vahl ) G.Brückn วงศ์ : COMMELINACEAE ชื่ออื่น : น้ำค้างกลางเที่ยง (สุราษฎร์ธานี) ว่านมูก (หนองคาย) หงอนพญานาค ไส้เอียน (อุบลราชธานี) หญ้าหงอนเงือก (เลย)
เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ใบรูปดาบ กว้าง 4.12 มม. ยาว 15-40 ซม. ออกสลับรอบข้อที่ผิวดิน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด ดอกสีม่วงอ่อนหรือม่วงน้ำเงิน สีขาว และสีชมพูซึ่งค่อนข้างหายาก กลีบดอก 3 กลีบ กลีบตรงกลางด้านบนจะตั้งฉากกับกลีบด้านข้างทั้ง 2 กลีบ ยามเช้าจะหุบดอก แล้วจะบานเมื่อมีแสงแดด ส่วนกลางของดอกมักมีหยดน้ำติดอยู่ ออกดอกมากในเดือนกันยายน-ตุลาคม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดตามธรรมชาติ
พบขึ้นบริเวณลานดินทรายที่มีน้ำขังหรือทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาสูงๆ ที่ชุ่มชื้น จุดที่มีหงอนนาคทุ่งใหญ่ที่สุดของไทยอยู่ที่ภูสอยดาว นอกจากนี้ยังพบได้อีกหลายแห่งเช่น เขาสมอปูน ทุ่งโนนสน เขาใหญ่ ป่าหินงาม และอีกหลายแห่ง
โดยจุดทพบล่าสุดนี้ อยู่บริเวณหลังหินเรดาร์ ประมาณ 100 เมตร หรือป่าด้านทิศตะวันตกลานหินงาม อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ
แหล่งข้อมูล : ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ. คลองไผ่
ผู้สำรวจ : นายสุวัฒน์ ภิรมย์ไกรภักดิ์ ตำแหน่ง พนักงานพิทักษ์ป่า หัวหน้าชุดลาดตระเวนสายตรวจส่วนกลาง ฝ่ายอนุรักษ์และจัดการทรัพยากร อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
บทความ/ภาพโดย : นายประจักษ์ บุญมาจันทร์ ตำแหน่ง บุคคลภายนอกปฏิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ประจำชุดลาดตระเวนสายตรวจส่วนกลาง ฝ่ายอนุรักษ์และจัดการทรัพยากร อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
สถานที่ถ่ายภาพ : บริเวณหลังหินเรดาร์ ประมาณ 100 เมตร หรือป่าด้านทิศตะวันตกลานหินงาม อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
#กรมอุทยานแห่งชาติ #ดอกหงอนนาค #อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม #อำเภอเทพสถิต #จังหวัดชัยภูมิ
โฆษณา