Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
26 ต.ค. เวลา 02:30 • ธุรกิจ
สรุปแนวคิด หมวก 6 ใบ วิธีคิดไอเดียธุรกิจ ให้รอบทิศ พร้อมไอเดียปรับใช้ จากเคส เถ้าแก่น้อย
“หมวก 6 ใบ” หรือ Six Thinking Hats เป็นแนวคิดเอาไว้ช่วยคิด และวางแผนธุรกิจให้เป็นระบบ
โดยช่วยให้เรามองเห็นปัญหาและโอกาสในธุรกิจ ได้จากหลาย ๆ แง่มุม
3
- หมวกสีขาว : พูดถึงข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ไม่ใช้อารมณ์ หรือความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง
- หมวกสีแดง : พูดถึงอารมณ์ ความรู้สึก หรือสัญชาตญาณล้วน ๆ
- หมวกสีดำ : พูดถึงความคิดเชิงลบ ข้อเสีย ความเสี่ยง หรือปัญหาต่าง ๆ
- หมวกสีเหลือง : พูดถึงความคิดเชิงบวก ข้อดี หรือโอกาสที่ซ่อนอยู่
- หมวกสีเขียว : พูดถึงความคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ หรือทางขจัดปัญหาใหม่ ๆ
- หมวกสีน้ำเงิน : นำหมวกทุกใบ มารวบรวมเป็นข้อสรุป ซึ่งนำไปสู่การคิด และวางแผนธุรกิจ โดยผ่านการไตร่ตรองมาแล้วอย่างดี
โดยแนวคิด หมวก 6 ใบ คิดค้นโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ศาสตราจารย์ด้านการคิด ชาวอิตาลี
2
แล้วหมวก 6 ใบ หรือหมวก 6 สี จะช่วยให้เราคิด และวางแผนอย่างไร
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ ไว้เป็นไอเดียเอาไปปรับใช้ได้จริง
ผ่านเคส “สาหร่ายเถ้าแก่น้อย”
จุดเริ่มต้นความสำเร็จของแบรนด์สาหร่าย เถ้าแก่น้อย
คือการส่งสาหร่ายทอดกรอบเป็นถุง ไปขายใน 7-Eleven จนได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ
จนกระทั่งเจ้าของเถ้าแก่น้อย ตัดสินใจเอาบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นไทย
ต่อยอดสร้างโรงงานขนาดใหญ่ และขยายตลาดไปในหลายประเทศ
จากจุดนี้ BrandCase จะขอสวมหมวกต่าง ๆ ของผู้บริหารทีละใบ
เพื่อวิเคราะห์โอกาส และปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการสร้างธุรกิจให้เติบโต
โดยเริ่มจาก
1. หมวกสีขาว = ข้อมูล
ผู้บริหารที่สวมหมวกใบนี้ จะศึกษาข้อมูลต่าง ๆ สำหรับขยายธุรกิจอย่างละเอียด
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าจะขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ อย่างกลุ่มลูกค้า Gen Z
ก็จะต้องศึกษาพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่ม Gen Z อย่างละเอียด
หรือถ้าอยากขยายตลาด ไปในประเทศต่าง ๆ
ผู้บริหารก็ต้องศึกษาตลาดต่างประเทศอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น
- พฤติกรรมของลูกค้าในประเทศนั้น ๆ
- วัฒนธรรมของผู้คนในประเทศนั้น ๆ
- กฎหมาย หรือนโยบายทางด้านภาษีของประเทศนั้น ๆ
- ช่องทางการจัดจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ห้างค้าปลีก ห้างค้าส่ง หรือร้านโชห่วยในประเทศต่าง ๆ
ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ ทางเถ้าแก่น้อย ก็ต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ หรือที่เรียกว่าการทำ Feasibility Study
โดยทำการบ้านอย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วนำมาสรุปเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจต่อไป
2. หมวกสีแดง = สัญชาตญาณ
ผู้บริหารที่สวมหมวกใบนี้ เพื่อสะท้อนอารมณ์ และความรู้สึกของตัวเอง ว่าแบรนด์นี้เป็นอย่างไรในสายตาของลูกค้า และใช้สัญชาตญาณเพื่อวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจ
ยกตัวอย่างเช่น
- การมองว่า เถ้าแก่น้อย ไม่ได้เป็นเพียงแบรนด์สาหร่ายทอดกรอบที่คนไทยชอบ แต่เป็นแบรนด์ของฝากชาวต่างชาติ ที่มาเที่ยวเมืองไทย อย่าง จีน เกาหลีใต้ หรือยุโรปได้ด้วย
ดังนั้น ถ้าขยายตลาดไปต่างประเทศได้เยอะ ๆ ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจเติบโตได้มาก
- ในขณะเดียวกัน สินค้ายอดนิยมของบริษัท อย่างสาหร่ายทอดกรอบเถ้าแก่น้อย ก็เป็นอาหารทอด มีแคลอรีสูง
เพราะฉะนั้น น่าจะมีสินค้าสาหร่ายแนวสุขภาพ เข้าไปเจาะตลาดด้วย
3. หมวกสีดำ = ข้อเสีย
ผู้บริหารจะสวมหมวกใบนี้ เพื่อดูจุดอ่อนของธุรกิจ ว่ามีจุดอ่อนอะไร ต้องเจอกับปัญหา หรือความเสี่ยงอะไรบ้าง
ยกตัวอย่างเช่น
- ต้นทุนต่อชิ้นในการผลิตสาหร่ายที่แพงขึ้น เนื่องจากการควบคุมกระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ
- การพึ่งพาคู่ค้ารายใหญ่ อย่างเช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างค้าส่ง หรือห้างค้าปลีกมากเกินไป จะทำให้โดนกดราคาขาย
- ความเสี่ยงจากสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้วัตถุดิบหลัก อย่างเช่น สาหร่ายที่ปลูกในประเทศเกาหลีใต้ อาจมีไม่เพียงพอ ที่จะเอาไปผลิตแล้วส่งออกทั่วโลก
1
- เทรนด์ของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในหลายประเทศ
- ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ เช่น ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศต่าง ๆ ทำให้การบริโภคน้อยลง
1
- ความเสี่ยงด้านกฎหมาย เช่น กฎหมายภาษี และนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
4. หมวกสีเหลือง = ข้อดี
ผู้บริหารจะสวมหมวกใบนี้ เพื่อมองหาโอกาส หรือช่องทางที่ทำให้ธุรกิจเติบโต
ยกตัวอย่างเช่น
- โอกาสในการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ อย่างเช่น การออกแบบแพ็กเกจจิงสินค้า โดยให้คอลแลบกับตัวการ์ตูน อย่าง Pokémon
เพื่อให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ อย่างเด็ก Gen Z หรือกลุ่มสาวกแฟนคลับการ์ตูนดัง
- โอกาสขยายตลาดไปยังประเทศใหม่
อย่างเช่น โอกาสทำตลาดที่ประเทศจีน ที่ชอบสาหร่ายเถ้าแก่น้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
จากการที่ได้มาเที่ยวในประเทศไทย แล้วหิ้วเถ้าแก่น้อยเป็นแพ็ก ๆ กลับประเทศจีน
- โอกาสในการนำสินค้า ไปตีตลาดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านดีลเลอร์ อย่างห้าง Costco ซึ่งเป็นห้างค้าส่ง ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วสหรัฐอเมริกา
- โอกาสในการปรับปรุงการผลิต ให้มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ลดลง ด้วยการใช้หลักการ Lean Manufacturing และระบบอัตโนมัติต่าง ๆ
5. หมวกสีเขียว = ความคิดสร้างสรรค์
ผู้บริหารจะสวมหมวกใบนี้ เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่น
- การพัฒนาสินค้าใหม่ อย่างเช่น สาหร่ายอบ โดยนำสาหร่ายมาผ่านกระบวนการอบ ให้มีแคลอรีต่ำกว่าสาหร่ายทอดกรอบ
แต่ยังคงสารอาหารจากสาหร่ายทะเล เพื่อเจาะลูกค้ากลุ่ม Healthy หรือลูกค้าสายสุขภาพ
- การนำสาหร่าย มาพัฒนาเป็นสินค้ารูปแบบอื่น อย่างเช่น สาหร่าย Topping โดยนำสาหร่ายมาฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผสมกับผงปรุงรส
เพื่อให้สามารถโรยข้าว โรยแกง โรยซุป และทานเป็นเครื่องเคียงกับอาหารต่าง ๆ ได้
- การทดลองทำธุรกิจใหม่ ที่นอกเหนือจากการขายสาหร่ายเถ้าแก่น้อย
อย่างเช่น การทดลองทำธุรกิจร้านอาหาร โดยเครือเถ้าแก่น้อย เป็นเจ้าของร้านแกงกะหรี่ญี่ปุ่น Hinoya 4 สาขา
รวมถึงร้านอาหารทานเล่น Bomber Dog และร้าน 71 mookata
6. หมวกสีน้ำเงิน = ข้อสรุปที่ชัดเจน
ผู้บริหารจะสวมหมวกใบนี้เป็นใบสุดท้าย เพื่อนำมุมมองจากหมวกทั้ง 5 ใบ มาคิด และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
ก่อนที่จะนำไปสรุปรวบยอด สร้างกลยุทธ์ และวางแผนให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งสำหรับเป้าหมายของแบรนด์สาหร่ายเถ้าแก่น้อย ผู้บริหารบอกว่า คือการทำให้สาหร่ายเถ้าแก่น้อยเป็น Global Brand ที่ทำยอดขายได้ทั่วโลก
ทั้งหมดนี้ ก็คือแนวคิด หมวก 6 ใบ หรือ Six Thinking Hats พร้อมตัวอย่างวิธีคิดและวิธีใช้ในแต่ละมุม
เพื่อจะช่วยให้เราสามารถวางแผนธุรกิจ วางโมเดลธุรกิจได้รอบคอบ จากการมองรอบทิศ
โดยเราสามารถมองเห็นได้ ทั้งโอกาส และปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
พร้อมสรุปรวบยอด กลายเป็นแผนกลยุทธ์ ที่จะพาไปสู่เป้าหมาย การเติบโตในธุรกิจต่อไป..
References
- Annual Report 2023 บมจ.เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง
-
https://www.sasimasuk.com/17353701/six-thinking-hats
ธุรกิจ
111 บันทึก
66
116
111
66
116
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย