25 ต.ค. เวลา 11:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Here's what supplements you really shouldn't take together

นี่คืออาหารเสริมที่คุณไม่ควรรับประทานร่วมกัน
แม้ว่ายาบางชนิดได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับปรุงสุขภาพของคุณ แต่การใช้ยาบางชนิดร่วมกัน อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้
บางครั้ง ร่างกายของเราต้องการความช่วยเหลือ ร่างกายของเรา ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเครื่องจักร ที่ได้มีการหล่อลื่นอย่างดี ควรจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ จากการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสมดุล ซึ่งสารหล่อลื่นเพียงเล็กน้อยเหล่านี้ที่ให้กับร่างกาย ก็สามารถช่วยให้ร่างกายของคุณใด้ผลงานออกมาในระดับสูงสุดได้
นี่คือที่มาของอาหารเสริม เรามี วิตามิน สมุนไพร และพืชมากมายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ยาเหล่านี้หลายตัว ไม่ได้ไปด้วยกัน
ยกตัวอย่างเช่น แคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็นยาเม็ดเพื่อรักษาอาการที่เกิดจากกรดในกระเพาะมากเกินไป เป็นการรักษาที่ค่อนข้างธรรมดา ใช้เพื่อจัดการกับอาการเสียดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง หรือปัญหาความเป็นกรดที่ร้ายแรง
ซอลส์มันส์ Edward Saltzman รองศาสตราจารย์ ด้านการแพทย์ มหาวิทยาลัย ทัฟส์ Tufts University ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวกับ บีบีซี ไซเอนซ์ โฟกัส BBC Science Focus
อย่างไรก็ตาม สำหรับบางคน ยาที่รับประทานกันโดยทั่วไปนี้ อาจเป็นศัตรูหรือมีการต่อต้านกัน “แร่ธาตุบางชนิดในปริมาณสูง อาจรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ ผ่านกลไกต่างๆ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตจะก่อให้เกิดปัญหาในการเสริมแร่ธาตุเหล็ก”
เพื่อให้การดูดซึมของธาตุเหล็กได้ดีที่สุด อาหารเสริมธาตุเหล็ก จำเป็นต้องมีความเป็นกรดในกระเพาะอาหารมากพอสมควร จึงสามารถจะย่อยแร่ธาตุเหล็ก และดูดซึมเอาแร่ธาตุเหล็กไปใช้ในร่างกายของเราได้ ดังนั้นจึงไม่ถูกกันกับแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็นยาที่ทำหน้าที่ลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายตัวอย่าง ที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกฤทธิ์ต่อกัน โดยไปลดผล หรือไปกำจัดคุณประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นโดยสิ้นเชิง
บางอย่างอาจส่งผลร้ายแรงมากกว่านี้ในอาหารเสริมอื่นๆ เช่น แร่ธาตุสังกะสีและแร่ธาตุทองแดง ทั้งสองแร่ธาตุ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของเรา และทั้งสองแร่ธาตุก็มีความเชื่อมโยงกันมาก การกินแร่ธาตุอย่างหนึ่ง อาจนำไปสู่ความบกพร่องหรือขาดในอีกแร่ธาตุหนึ่งได้
“การบริโภคอาหารเสริมแร่ธาตุสังกะสี จะทำให้การดูดซึมของแร่ธาตุทองแดงของร่างกายของเราลดลงโดยสิ้นเชิง ซึ่งแร่ธาตุสังกะสีที่เรากินเข้าไป อาจมาจากอาหารธรรมชาติ หรืออาหารเสริม ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ควรใช้ทั้งอาหารเสริมแร่ธาตุสังกะสี และอาหารเสริมแร่ธาตุทองแดงในเวลาเดียวกัน” ซอลส์มันส์ กล่าว
สถานการณ์ที่คล้ายกัน สามารถพบเห็นได้ในการเสริมกรดโฟลิกในผลิตภัณฑ์ โดยกรดโฟลิกมักจะถูกเติมลงในอาหาร และทั้งเป็นอาหารเสริม กรดโฟลิกก็คือ วิตามินโฟเลตในรูปแบบสังเคราะห์ ซึ่งวิตามินโฟเลต มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายของเรา สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรง
การเสริมกรดโฟลิกในปริมาณที่สูง สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดกับระบบประสาทเนื่องจากการขาดวิตามินบี 12 ได้ สำหรับวิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน cobalamin ทำหน้าที่ช่วยในการสร้างเซลล์ ส่งเสริมการเผาผลาญอาหารในเซลล์ บำรุงระบบประสาท สร้างดีเอ็นเอ เป็นต้น การขาดวิตามินบี 12 จึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง โดยกลุ่มคนขาดวิตามินบี 12 พบมากที่สุดในกลุ่มคนที่รับประทานอาหารที่มีพืชเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะไม่บริโภคเนื้อสัตว์
ซอลส์มันส์ เน้นย้ำว่า แม้จะพบไม่บ่อย แต่ก็มีโอกาสที่การเสริมกรดโฟลิกในปริมาณสูงในอาหาร หรือเป็นอาหารเสริม อาจส่งผลให้เกิด 'การปิดบัง' การขาดวิตามินบี 12 ได้ ผลจากการตรวจเลือด สามารถจะบอกถึงการขาดวิตามินบี 12
เมื่อพูดถึงวิตามินบี 12 ผลของวิตามินบี 12 นั้นสามารถจะลดลงได้เช่นกัน ถ้ารับประทานวิตามินบี 12 ร่วมวิตามินซี อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ โดยการเว้นระยะห่างของการกินแต่ละวิตามิน โดยการแยกวิตามินบี 12 และวิตามินซี ออกห่างจากกันสักสองสามชั่วโมง
วิตามินที่แม้ว่าจะรับประทานร่วมกันได้ แต่วิตามินเหล่านี้ ก็สามารถจะไปลดผลกระทบซึ่งกันและกันได้ ปัญหาเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับแร่ธาตุแคลเซียมและแร่ธาตุแมกนีเซียม การรับประทานทั้งสองแร่ธาตุ ในช่วงเวลาที่ต่างกันของวัน สามารถช่วยปรับปรุงการดูดซึมของแร่ธาตุแคลเซียมและแร่ธาตุแมกนีเซียมได้
แม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อบุคคล แต่ก็มีอาหารเสริมมากมายที่สามารถส่งผลต่อกันและกันได้ “การผสมผสานระหว่างยาและสารอาหาร สามารถส่งผลต่อการดูดซึม เมแทบอลิซึมหรือการเผาผลาญอาหาร หรือการขับถ่าย เป็นความคิดที่ดี ที่จะปรึกษาแหล่งที่เชื่อถือได้ เมื่อต้องรับประทานวิตามินและอาหารเสริมหลายชนิด เพื่อดูว่าพวกมันจะผสมกันอย่างไร” ซอลส์มันส์ กล่าว
ผู้เขียน : Alex Hughes
แปลไทยโดย : Wichai Purisa (senior scientist)
โฆษณา