Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Tonsak Sanitnam
•
ติดตาม
25 ต.ค. เวลา 18:13 • ไลฟ์สไตล์
สำหรับกิจกรรม ล่องเมือง LEARN ชุมชนคลองบางหลวง
ชุมชนเเห่งความเป็นพหุวัฒนธรรมที่มีความชัดระดับ 4 HD
ซึ่งต้องบอกเลยว่าผมเคยสัมผัสบรรยากาศตอนมาเดินในชุมชนบ้างเเต่วันนี้
ผมเห็นบรรยากาศของการที่ได้เรียนรู้ชุมชนเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตั้งอยู่ริมคลองวัดกัลยาณ์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
และกลุ่มคนหลายเชื้อชาติทั้งชาวไทย จีน ฝรั่ง ญวน มอญ ฯลฯ
ที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของคลองบางหลวง
หรือคลองบางกอกใหญ่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ซึ่งหากดูจากเเผนที่ในโพสต์ผมมีข้อมูลการสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์เรื่องการขุดคลองเดิมคลองบางกอกใหญ่ คือ เเม่น้ำสายหลัก เเต่เมื่อมีการขุดคลองเเละมีการขยายของเเม่น้ำทำให้การสัญจรไปมาเปลี่ยนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสนทร์ มีการสันนิษฐานว่าคลองบางกอกใหญ่เป็นเส้นทางหลักในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
มาจากการตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยของข้าหลวงชาวต่างชาติมากมาย ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า บางช่วงของคลองบางกอกใหญ่นั้น เราเรียกว่าคลองบางหลวงนั่นเอง
ถอดบทเรียนกัน 3 ข้อ ซึ่งวันนี้จะถอดเป็น (3L)
ตัวอักษร L ลำดับที่ 1 LEARN = เรียนรู้ การเรียนรู้ของเเต่ละชนชาติที่อพยพเข้ามาตั้งรกราก คือ การเรียนรู้เพื่อที่จะปรับตัวอยู่ร่วมกัน เช่น มัสยิดที่มีการสร้างด้วยศิลปะเเบบวัดทุกประการตั้งเเต่ลงรักปิดทอง
คลอดจนการประดับตกเเต่งหลังคา หรือเเม้เเต่การเเปรรูปอาหารให้เหมาะกับการไหว้เจ้าของจีน เช่น ลุดตี่ อาหารเปอร์เซียเเสนหวานเเป้งนุ่มอร่อย เเต่ปรากฎว่านำไปไหว้เจ้าจีนในพื้นที่ด้วยไส้เค็ม
ตัวอักษร L ลำดับที่ 2 LIFE = ชีวิต เมื่อมีการเรียนรู้เล้ว กลายเป็นวิถีชีวิตที่ลงตัวกับผู้คนโดยไม่น่าเชื่อ ตลอดจนมีการเเต่งงาน ผสมผสานวัฒนธรรมความเชื่อ
การปรับตัวของครอบครัวเเนวใหม่ที่บางครอบครัวมี มากกว่า 1 ความเชื่อ
ตัวอักษร L ลำดับที่ 3 LESSON = บทเรียน ชีวิตที่กว่าจะตกผลึกกว่าจะปรับตัวอพยพย้านถิ่นฐาน ข้ามบ้านข้ามเมืองข้ามประเทศมาพึ่งพาสยามในเวลานั้น กลายเป็นบทเรียนการผสมผสานวัฒนธรรมกลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อนำไปใช้สรรค์สร้างเเละพัฒนาชุมชนต่อไป
อยากให้ทุกท่านเข้าไปอ่านความเป็นมาใต้ภาพกันด้วยนะครับผม
ช่วงเเรกเป็นน้ำจิ้มสรุปบทเรียนของผมเองครับ
ความเป็นไปเป็นมาของคลองบางหลวง
ที่มาของ "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง"
ชุมชนริมคลองบางหลวง คือชุมชนเก่าแก่ริมน้ำ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คลองบางหลวง หรือ คลองบางกอกใหญ่ เดิมเคยเป็นแม่น้ำ เจ้าพระยาสายเดิมมาก่อน แต่เพราะเป็นแม่น้ำช่วงที่โค้งอ้อมกินบริเวณกว้าง เวลาแล่นเรือผ่านมาจึงทำให้เสียเวลาในการเดินทางไปมาก ครั้งนั้น สมเด็จพระชัยราชาธิราชพระมหากษัตริย์ ในแผ่นดิน กรุงศรีอยุธยาจึงโปรดเกล้าฯให้มีการขุดคลองลัดขึ้น ในปี พ.ศ.2065 เพื่อร่นระยะทางและ ระยะเวลาสำหรับบรรดาพ่อค้าต่างชาติที่จะมาค้าขายเจริญ สัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอยุธยา
ภายหลังจากขุดคลองแล้ว คลองที่ขุดกลับมีขนาดใหญ่โตขึ้นเพราะกระแสน้ำไหลมากัดเซาะชายฝั่งให้กว้างขึ้น ขณะที่แม่น้ำสายดั้งเดิมค่อยๆ เล็กลง กลายสภาพเป็นคลองสายหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันปากคลองทางฝั่งโรงพยาบาล ศิริราชเรียกกันว่า คลองบางกอกน้อย ส่วนปากคลองอีกด้านหนึ่ง ทางป้อมวิไชยประสิทธิ์เรียกกันว่า "คลองบางกอกใหญ่" ส่วนเหตุที่เรียกคลองบางกอกใหญ่ว่าคลองบางหลวงก็เนื่องจาก เมื่อคราวที่สมเด็จพระเจ้า ตากสิน มาสร้างราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรีนั้น
ข้าราชการขุนนางชั้นผู้ใหญ่หลายต่อหลายท่านมาจับจองสร้างบ้านกัน อยู่ริมคลอง บางกอกใหญ่ เพราะเป็นบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังกรุงธนบุรี ชาวบ้านจึงเรียกคลองแถบนี้อีก ชื่อหนึ่งว่า "คลองบางข้าหลวง" และเหลือเพียง "คลองบางหลวง" ในที่สุด
คลองบางหลวงทุกวันนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนที่เรียกว่า “ชุมชนริมคลองบางหลวง” ปัจจุบันยังเต็มไปด้วยกลิ่น อายในอดีต เราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวบ้านแถบนี้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวรูปทรงเก่าแก่ วัดวาอารามที่แสนสงบร่มเย็น ตลอดทั้งลำคลองมีปลาสวายตัวโตๆ จำนวนมากดำผุดดำว่ายอยู่ในน้ำ เด็กๆ วิ่งเล่น กันสนุกสนาน ส่วนคนเฒ่าคนแก่คอยมองตามและยิ้มด้วยความเอ็นดู
ในขณะที่เรือหางยาวสีสวยและเรือเมล์แล่น ผ่านไปมาเกือบตลอดทั้งวัน และนี่ก็คือเสน่ห์และความน่าสนใจของที่นี่ สำหรับการเยี่ยมชมชุมชนริมคลองบางหลวง เริ่มจากวัด คูหาสวรรค์ หรือหากมาทางจรัญสนิทวงศ์ซอย 3 เข้ามาสุดซอย และข้ามสะพาน มาก็จะเจอบ้าน เก่าที่นำมาปัดโฉมใหม่เป็นร้านค้า ร้านกาแฟ สำหรับนั่งทานชมวิวริมคลอง เป็นระยะทางเดินสั้นๆ ไปจนถึง บ้านศิลปิน
บ้านของหลวงฤทธิณรงค์รอน (เจ๊ก แสงมณี) หรือกัปตันเจ๊ก ปัจจุบันจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนฤทธิณรงค์รอน
มัสยิดบางหลวง (บ้างเรียก กุฎีโต๊ะหยี, กุฎีขาว) เป็นมัสยิดทรงไทย ตั้งอยู่บริเวณชุมชนริมคลองบางหลวง แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (คาดว่าราวปี พ.ศ. 2328) โดยโต๊ะหยี พ่อค้าแขกที่เดินทางมายังประเทศไทย ตัวมัสยิดมีความโดดเด่นกว่ามัสยิดทั่ว ๆ ไป ด้วยการก่ออิฐถือปูนขาวทั้งหลัง แล้วทาสีไม้ด้วยสีเขียว แทนที่การออกแบบอาคารเป็นโดมตามหลักสากล รวมไปถึงการตกแต่งภายในด้วยศิลปะ 3 ชาติ คือ แบบไทย จีน และยุโรป
ซึ่งถือเป็นมัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในบริเวณด้านหน้ามัสยิดบางหลวง เป็นสุสาน เยื้องมาทางด้านขวาเมื่อมองหันหน้าเข้าสู่มัสยิด เป็นศาลาทรงไทย ที่ในอดีตโต๊ะพิมพ์เสน ได้ขอซื้อพระตำหนักวังเก่ามาทำเป็นศาลา ใช้เป็นศาลาเลี้ยงและเก็บวัสดุต่าง ๆ ของมัสยิดโลกอีกด้วย ปัจจุบันมัสยิดแห่งนี้ได้จัดเป็น "อันซีนกรุงเทพ" แห่งหนึ่ง เนื่องจากไม่มีถนนใหญ่ตัดเข้าไปด้านใน การเดินทางจึงต้องเดินเท้าผ่านทางซอยแคบริมคลองของชุมชน
มัสยิดบางหลวง กุฎีขาว
วัดซางตาครู้ส, โบสถ์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน (อังกฤษ: Santa Cruz Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยกุฎีจีน แยกซอยอรุณอมรินทร์ 4 (ถนนเทศบาล สาย 1) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โบสถ์ในปัจจุบันนี้เป็นอาคารหลังที่สามซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนโบสถ์หลังเดิมที่คับแคบและชำรุดทรุดโทรมมาก
โดยมีคุณพ่อกูเลียลโม กิ๊น ดา ครู้ส เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2459 (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีคุณพ่อศวง ศุระศรางค์ เป็นผู้ริเริ่มเพื่อการอนุรักษ์ต่อไปปัจจุบันวัดหลังนี้มีอายุรวมแล้ว 108 ปี อาคารวัดซางตาครู้สเป็นอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกเช่นเดียวกับอาสนวิหารอัสสัมชัญ มีจุดเด่นที่ยอดโดมแบบอิตาลีซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโดมแห่งมหาวิหารฟลอเรนซ์หรือโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม
โบสต์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน อายุรวมแล้ว 108 ปี
ศาลเจ้ากวนอู ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 1 ย้ายพระนครไปอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา คนจีนเหล่านี้จึงอพยพไปรวมกับพวกที่ย่านตลาดน้อยและสำเพ็ง ศาลเจ้าจึงถูกทิ้งร้างต่อมากาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี บรรพชนต้นตระกูลตันติเวชกุล และสิมะเสถียร ซึ่งเป็นชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนที่อพยพเข้ามาในสยาม ได้ทำการสักการะศาลเจ้าทั้งสองแห่งดังกล่าว แล้วเห็นว่าศาลเจ้าทั้งสองแห่งมีสภาพทรุดโทรม จึงรื้อศาลทั้งสองแห่งนี้ออก
จากนั้นก็สร้างศาลใหม่ขึ้นมาแทนที่หลังหนึ่ง พร้อมนำเจ้าแม่กวนอิมเก่าแก่องค์หนึ่งในเมืองแชฮุนเต็ง ประเทศจีน มาประดิษฐานเป็นประธานของศาลเจ้าใหม่แห่งนี้แทน จากนั้นมาศาลเจ้าแห่งนี้เลยถูกเรียกว่า “ศาลเกียนอันเกง” ซึ่งก็หมายถึงศาลเจ้าแม่กวนอิมนั่นเอง
ศาลเจ้าพ่อกวนอู ย่านคลองสาน อายุกว่า 200 ปี
เดิมสันนิษฐานจากหหลักฐานคลองบางกอกใหญ่เป็นเจ้าพระยาสายหลักในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จนมีการขยายตัวของเเม่น้ำในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
3 ตำเเหน่งสัญลักษ์ที่เราเห็นบ้านเเขก/บ้านเจ็ก (จีน)
กรมท่า (อ่านว่า กรม-มะ-ท่า)
บทบาทหนึ่งอันสำคัญของกรุงศรีอยุธยาคือ การค้าขายซึ่งหมายถึงรายได้นั้นจะเข้ามายังท้องพระคลังเพื่อที่จำนำเงินเหล่านั้นมาพัฒนาบ้านเมืองให้รุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร เหล่านี้ต้องใช้เงินทั้งสิ้น
.
กรมท่านั้นกำเนิดขึ้นเมื่อในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นสมัยหนึ่งถือว่าการเมืองฝ่ายสองราชวงศ์ระหว่างอู่ทองและสุพรรณภูมิได้หยุดนิ่งแล้ว ทรงรวบรวมจัดระเบียบราชการเสียใหม่โดยกรมท่าจัดให้มีอยู่ 3 กรม อยู่สังกัดพระคลัง คือ
1. กรมท่าซ้าย ดูแลกำกับโดย “พระยาโชฎึกราชเศรษฐี” ควบคุมการค้าทะเลฝ่ายซ้ายทั้งหมด
2. กรมท่าขวา ดูแลกำกับโดย “จุฬาราชมนตรี” ควบคุมการค้าทะเลฝ่ายขวาทั้งหมด
3. สองกรมนี้ขึ้นกับกรมท่ากลาง และควบคุมดูแลชาวต่างประเทศทั่วไป
โดยทั่วไปผู้กำกับกรมท่าซ้ายและขวามักจะเป็นชาวต่างประเทศเป็นหลักเนื่องจากมีความรู้ความสามารถในการพูดภาษาสำเนียงในฝั่งที่ดูแลได้ คือ ฝั่งจีน และฝั่งแขก และรับราชการทำหน้าที่จัดเก็บเงินส่งพระคลังต่อไป
ลุดตี่ เป็นอาหารว่างของไทยอย่างโบราณชนิดหนึ่ง ปัจจุบันยังปรากฏอยู่ในสำรับอาหารงานบุญของชาวไทยมุสลิมแถบคลองบางหลวง ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
และพบในกลุ่มชาวมุสลิมย่านหัวแหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองแผ่นกลมคล้ายโรตี รับประทานเคียงด้วยการห่อเข้ากับแกงไก่ หรือแกงเขียวหวานเนื้อ
ลุดตี่เป็นหนึ่งในอาหารไทยที่ปรากฏใน กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ความว่า
๏ ลุดตี่นี้น่าชม แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
โอชาน่าไก่แกง แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
— กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
ตัวแป้งลุดตี่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ที่มาจากข้าวสารแช่น้ำหนึ่งคืน ก่อนนำไปโม่เจือน้ำ แล้วนำแป้งที่ได้ไปผสมกับไข่ไก่ ใส่สีเหลืองที่ได้จากหญ้าฝรั่นหรือผงขมิ้น จากนั้นนำแป้งที่ผสมแล้วไปหยอดลงบนกระทะ กลอกแป้งให้เป็นแผ่นกลม รอจนแป้งสุกจึงนำขึ้นจากกระทะให้เรียบร้อย
ซีิ๋วดำเเปรรรูปนับ 100 ปี
เคล็ดลับความอร่อยของซีอิ๊วดำเค็ม ไอศกรีมเบื้องหน้าความอร่อยของ เบื้องหลัง 100 ปี แม้จะบอกว่าเป็นโรงงาน แต่ภายในกลับไม่มีเครื่องจักรใหญ่โต มีเพียงเครื่องไม้เครื่องมือง่ายๆ ที่นี่จึงเป็นเหมือนโรงซีอิ๊วโฮมเมดในพื้นที่ใหญ่กว่าห้องครัวทั่วไป “โรงซีอิ๊วเริ่มตั้งแต่สมัยรุ่น 1 เป็นคนจีนมาตั้งรกรากที่นี่ ประมาณ 108 ปี แล้ว เขาก็เอาความรู้จากเมืองจีนมาทำแล้วก็สืบทอดต่อกันมารุ่นต่อรุ่น”
#กรุงเทพเมืองผสมผสาน #ปะปน #ปรับตัว #เเยบยล #หลากหลาย
#หลอมรวม #พหุวัฒนธรรม #ครูสังคมศึกษา
#ก่อการครู
#ก่อการครูBangkok
#ก่อการครูBangkokXก่อการครูกาฬสินธุ์
#ล่องเมืองLearnชุมชน
#ชุมชนคลองบางหลวง
วัฒนธรรมพื้นเมือง
ประวัติศาสตร์ไทย
ท่องเที่ยวชุมชน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย